วันอังคารที่ 15 กรกฎาคม พ.ศ. 2557

แนวสอบ วิชาพยาน 220ข้อ


ข้อสอบวิชากฎหมายพยานหลักฐานคดีอาญา
1.พยานหลักฐานแบ่งออกเป็น 4 ประเภท ข้อใดถูกต้อง
ก.พยานบุคคล พยานเอกสาร พยานวัตถุ พยานผู้ชำนาญการพิเศษ
ข.พยานบุคคล พยานเอกสาร พยานวัตถุ พยานผู้เชี่ยวชาญพิเศษ
ค.พยานบุคคล พยานเอกสาร พยานวัตถุ พยานผู้ชำนาญการ
ง.พยานบุคคล พยานเอกสาร พยานวัตถุ พยานผู้เชี่ยวชาญ
คำตอบ ข้อ ง. (ป.วิ.อำญำ ภำค 5 พยำนหลักฐำน)

2.ข้อใดเป็นพยานหลักฐาน
ก.ความรู้ ความเห็น และความเข้าใจของผู้พิพากษาที่ตัดสินคดีนั้น
ข.คำแปลเอกสารภาษาต่างประเทศ
ค.เทปหรือแผ่นซีดีบันทึกเสียง
ง.รายงานการสืบเสาะของพนักงานคุมประพฤติ
คำตอบ ข้อ ค. (ฎ.7155/39 , ฎ.3911/34 เทปบันทึกเสียงเป็นพยำนวัตถุ)

3.ข้อใดถูกต้องเกี่ยวกับพยานหลักฐานในคดีอาญา
ก.ห้ามนำสืบพยานบุคคลแทนเอกสาร
ข.คู่ความนำคำท้าในคดีแพ่งมาใช้กับคดีอาญาได้
ค.ต้องมีการชี้สองสถานก่อนดำเนินกระบวนพิจารณา
ง.ต้องยื่นบัญชีระบุพยานพร้อมสำเนาเพื่อให้คู่ความรับไป
คำตอบ ข้อ ง. ( ป.วิ.อำญำ มำตรำ 713/1,229/1)

4.การวินิจฉัยปัญหาข้อเท็จจริงใดที่จะต้องกระทำโดยอาศัยพยานหลักฐานในสำนวนคดีนั้น
ก.ข้อเท็จจริงซึ่งรู้กันอยู่ทั่วไป
ข.ข้อสันนิษฐานที่ควรจะเป็นซึ่งปรากฏจากสภาพปกติธรรมดาของเหตุการณ์
ค.ข้อเท็จจริงซึ่งไม่อาจโต้แย้งได้
ง.ข้อเท็จจริงที่คู่ความรับหรือถือว่ารับกันแล้วในศาล
คำตอบ ข้อ ข. (ป.วิ.แพ่ง มำตรำ 84,84/1 ประกอบ ป.วิ.อำญำ มำตรำ 15)

5.ข้อใดเป็นปัญหาข้อเท็จจริง
ก.ข้อพิพาทที่โต้แย้งกันว่ามีกฎหมายบทใดบทหนึ่งใช้บังคับอยู่ในขณะเกิดเหตุคดีนั้นหรือไม่
ข.ข้อพิพาทที่โต้แย้งกันว่าความหมายของบทกฎหมายบทนั้นมีอย่างไร
ค.ปัญหาเกี่ยวกับผลของการนำบทกฎหมายไปปรับใช้กับข้อเท็จจริงในคดี
ง.ข้อพิพาทที่โต้แย้งกันว่ามีกฎหมายลำดับรองที่มีฐานะต่ำกว่ากฎกระทรวงอยู่หรือไม่
คำตอบ ข้อ ง. (ฎ.460/50 ประกำศธนำคำรแห่งประเทศไทย เป็นข้อเท็จจริงอย่ำงหนึ่งที่คู่ควำมต้องนำสืบ)

6.ข้อใดเป็นปัญหาข้อกฎหมาย
ก.ข้อพิพาทที่โต้แย้งกันว่ามีกฎหมายท้องถิ่นใช้บังคับอยู่หรือไม่ในขณะเกิดคดีนั้น
ข.ข้อพิพาทที่โต้แย้งกันว่าการใช้ดุลพินิจของเจ้าหน้าที่หรือศาล
ค.ข้อพิพาทที่โต้แย้งกันเกี่ยวกับสภาพจิตใจของบุคคล
ง.ข้อพิพาทที่โต้แย้งกันเกี่ยวกับการกระทำของบุคคลว่าบุคคลใดกระทำการใดหรือไม่ อย่างไร
คำตอบ ข้อ ก. (ฎ.1074/25 ข้อบัญญัติจังหวัดเป็นปัญหำข้อกฎหมำยที่ศำลรู้เอง)

7.ข้อใดไม่ถูกต้องเกี่ยวกับภาระการพิสูจน์ในคดีอาญา
ก.ในประเด็นที่กระทบต่อความผิดหรือบริสุทธิ์ของจำเลย ภาระการพิสูจน์ตกแก่โจทก์
ข.ในประเด็นที่จำเลยรับสารภาพว่าได้กระทำผิดตามฟ้อง แต่อ้างว่าเป็นการกระทำเพื่อป้องกันสิทธิ
โดยชอบ ภาระการพิสูจน์ตกแก่จำเลย
ค.ในประเด็นที่มีกฎหมายสันนิษฐานเป็นคุณแก่โจทก์ ภาระการพิสูจน์ตกแก่จำเลย
ง.ประเด็นเรื่องเหตุยกเว้นโทษหรือเหตุลดหย่อนโทษ ภาระการพิสูจน์ตกแก่จำเลย
คำตอบ ข้อ ข. (ฎ.2019/14 ถือว่ำจำเลยปฏิเสธว่ำไม่ได้กระทำผิด เป็นหน้ำที่ของโจทก์ที่จะต้องนำสืบว่ำจำเลยกระทำผิดโดยเจตนำ ไม่เป็นกำรป้องกัน)

8.ข้อใดถูกต้องเกี่ยวกับคำรับของจำเลยในคดีอาญา
ก.คำแถลงของผู้เสียหายไม่ใช่คำรับของคู่ความหรือคำพยานที่ได้มาจากการนำสืบ หากโจทก์ไม่ยอมรับ และขอสืบพยาน ศาลจะฟังเป็นข้อเท็จจริงเป็นยุติตามคำแถลงของผู้เสียหายไม่ได้
ข.โจทก์แถลงรับข้อเท็จจริงในศาล ไม่อาจฟังเป็นข้อเท็จจริงเป็นยุติตามคำรับของโจทก์
ค.โจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยและมีคำขอให้เพิ่มโทษ จำเลยให้การว่ารับสารภาพตามฟ้อง เป็นคำรับที่ไม่ชัดแจ้ง ถือไม่ได้ว่ารับในข้อเท็จจริงที่ขอให้เพิ่มโทษด้วย
ง.จำเลยให้การรับสารภาพว่ากระทำผิดตามฟ้อง ต้องฟังเป็นยุติตามคำรับของจำเลยโดยไม่ต้องสืบพยานและไม่ต้องพิจารณาถึงอัตราโทษขั้นต่ำในความผิดโจทก์ฟ้อง
คำตอบ ข้อ ก. (ฎ.2084/20 โจทก์ฟ้องจำเลยข้อหำฉุดคร่ำ ตำม ปอ.138 จำเลยปฏิเสธ ผู้เสียหำยแถลงต่อศำลว่ำเต็มใจไปกับจำเลย โจทก์ต้องสืบพยำนเพรำะไม่ใช่คำรับของจำเลย)

9.ข้อใดเป็นมาตรฐานการพิสูจน์ในคดีอาญา
ก.โจทก์ต้องสืบให้เห็นโดยปราศจากเหตุอันควรสงสัยว่าจำเลยได้กระทำผิดหรือไม่
ข.โจทก์ต้องสืบให้เห็นความโน้มเอียงของข้อเท็จจริงที่จะเป็นไปทางใดทางหนึ่ง
ค.โจทก์ต้องสืบให้เห็นพยานหลักฐานชัดเจนและมีความน่าเชื่อถือ
ง.โจทก์ต้องสืบให้เห็นว่ามีเหตุน่าเชื่อได้ว่ามีเค้ามูลเป็นอย่างนั้น
คำตอบ ข้อ ก. (ป.วิ.อำญำ มำตรำ 227 วรรคสอง เมื่อมีควำมสงสัยตำมสมควรให้ยกประโยชน์แห่งควำมสงสัยให้
แก่จำเลย)

10.ข้อใดถูกต้องเกี่ยวกับการสืบพยานหลักฐานในคดีอาญา
ก.โจทก์มีหน้าที่นำสืบพยานก่อนจำเลยเสมอ
ข.ก่อนสืบพยานศาลมีอำนาจเรียกสำนวนการสอบสวนจากพนักงานอัยการมาเพื่อประกอบการวินิจฉัยได้
ค.ศาลต้องสืบพยานต่อหน้าจำเลยเสมอ
ง.ในคดีที่จำเลยอ้างตนเองเป็นพยาน ต้องสืบพยานจำเลยก่อนพยานโจทก์
คำตอบ ข้อ ก. (ป.วิ.อำญำ มำตรำ 174 วรรคหนึ่ง,สอง โจทก์เปิดคดีแล้วให้นำพยำนเข้ำสืบ เมื่อสืบพยำนโจทก์เสร็จแล้ว จำเลยเปิดคดีแล้วให้นำพยำนเข้ำสืบ)

11.กรณีใดเป็นดุลพินิจของศาลที่จะกำหนดให้มีวันตรวจพยานหลักฐานก่อนกำหนดวันนัดสืบพยาน
ก.ในคดีที่จำเลยให้การรับสารภาพ
ข.ในกรณีร้องขอคืนของกลาง
ค.ในชั้นไต่สวนมูลฟ้อง
ง.ในคดีที่จำเลยไม่ให้การหรือให้การปฏิเสธ
คำตอบ ข้อ ง. (ป.วิ.อำญำ มำตรำ 173/1 วรรคหนึ่ง ในคดีที่จำเลยไม่ให้กำรหรือให้กำรปฏิเสธ คู่ควำมร้องขอหรือศำลเห็นสมควร อำจกำหนดให้มีวันตรวจพยำนหลักฐำนก่อนกำหนดวันนัดสืบพยำนก็ได้)

12.ข้อใดถูกต้องในกรณีที่ศาลกำหนดให้มีการตรวจพยานหลักฐาน
ก.คู่ความไม่ต้องยื่นบัญชีระบุพยานและส่งสำเนาต่อศาล
ข.ในวันตรวจพยานคู่ความต้องส่งพยานวัตถุที่ยังอยู่ในความครอบครองของตนต่อศาลเพื่อให้คู่ความอีกฝ่ายหนึ่งตรวจสอบ
ค.พยานหลักฐานที่เป็นบันทึกคำให้การของพยานในชั้นสอบสวนให้ส่งสำเนาเอกสารต่อศาลได้
ง.กรณีที่โจทก์ไม่มาในวันนัดตรวจพยานหลักฐานศาลจะยกฟ้องโจทก์ไม่ได้
คำตอบ ข้อ ข. (ป.วิ.อำญำ มำตรำ 173/2 )

13.ข้อใดไม่ถูกต้องเกี่ยวกับการสืบพยาน
ก.การสืบพยานในศาลให้กระทำโดยเปิดเผยต่อหน้าจำเลย เว้นแต่กฎหมายจะบัญญัติเป็นอย่างอื่น
ข.ในกรณีที่พยานมีความเกรงกลัวต่อจำเลย จะดำเนินการไม่ให้พยานเผชิญหน้าโดยตรงกับจำเลยก็ได้
ค.การสืบพยานอาจกระทำโดยการใช้โทรทัศน์วงจรปิดหรือสื่ออิเล็กทรอนิกส์ได้
ง.การสืบพยานให้มีการบันทึกคำเบิกความลงในวัสดุซึ่งสามารถถ่ายทอดออกเป็นภาพและเสียงได้ เฉพาะในกรณีการสืบพยานที่เป็นเด็กอายุไม่เกิน 18 ปีเท่านั้น
คำตอบ ข้อ ง. ( ป.วิ.อำญำ มำตรำ 172 วรรคสี่ กำรสืบพยำนให้มีกำรบันทึกคำเบิกควำมโดยใช้วิธีกำรบันทึกลงในวัสดุซึ่งสำมำรถถ่ำยทอดออกเป็นภำพและเสียงซึ่งสำมำรถตรวจสอบถึงควำมถูกต้องของกำรบันทึกได้ ใช้กับกำรสืบพยำนทุกคดี)

14.ลักษณะของพยานหลักฐานในข้อใดที่รับฟังเป็นพยานหลักฐานในการพิสูจน์ความผิดของผู้ถูกจับได้
ก.คำรับสารภาพว่าตนได้กระทำความผิดในชั้นรับมอบตัวผู้ถูกจับที่ให้การโดยสมัครใจ
ข.คำรับสารภาพว่าตนได้การะทำความผิดในชั้นจับกุม ที่เจ้าพนักงานได้แจ้งสิทธิให้ผู้ถูกจับทราบแล้ว
ค.คำรับสารภาพว่าตนได้การะทำความผิดในชั้นจับกุมด้วยความสมัครใจ แม้เจ้าพนักงานจะไม่ได้แจ้งสิทธิให้ผู้ถูกจับทราบก็ตาม
ง.คำให้การของผู้ถูกจับว่าอยู่ในที่เกิดเหตุจริงแต่ไม่ได้ทำร้าย ที่เจ้าพนักงานได้แจ้งสิทธิให้ผู้ถูกจับทราบแล้ว
คำตอบ ข้อ ง. ( ป.วิ.อำญำ มำตรำ 84 วรรคสี่ ถ้อยคำอื่นของผู้ถูกจับจะรับฟังเป็นพยำนหลักฐำนในกำรพิสูจน์ควำมผิดของผู้ถูกจับได้ต่อเมื่อได้มีกำรแจ้งสิทธิตำมวรรคหนึ่งหรือตำมมำตรำ 83 วรรคสอง แก่ผู้ถูกจับแล้ว)

15.ข้อใดถูกต้องเกี่ยวกับถ้อยคำใดๆที่ผู้ถูกจับให้ไว้ต่อเจ้าพนักงานผู้จับในชั้นจับกุมหรือรับมอบตัวผู้ถูกจับ
ก.ถ้อยคำซัดทอดว่าได้ร่วมกับบุคคลอื่นกระทำผิดโดยที่ไม่มีการแจ้งสิทธิแก่ผู้ถูกจับ รับฟังยันบุคคลอื่นได้
ข.ถ้อยคำให้การภาคเสธแม้จะไม่มีมีการแจ้งสิทธิแก่ผู้ถูกจับก็ตาม รับฟังเป็นพยานยันผู้ถูกจับได้
ค.ถ้อยคำให้การบอกที่ซ่อนของกลางในคดี แม้เจ้าพนักงานไม่ได้แจ้งสิทธิให้ผู้ถูกจับทราบก็ตาม รับฟังเป็นพยานยันผู้ถูกจับได้
ง.ถ้อยคำรับสารภาพว่าตนได้การะทำความผิดในชั้นจับกุม แม้เจ้าพนักงานไม่ได้แจ้งสิทธิแก่ผู้ถูกจับก็ตาม รับฟังเป็นพยานยันผู้ถูกจับได้
คำตอบ ข้อ ก. (คำซัดทอดเป็นถ้อยคำอื่น มิได้ใช้ยันผู้ถูกจับแต่ใช้ยันกำรกระทำผิดของบุคคลอื่น ไม่ต้องห้ำมตำม ป.วิ.อำญำ มำตรำ 84 วรรคท้ำย)

16.พยานชนิดที่เกิดขึ้นโดยมิชอบตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา 226 หมายความถึงพยานในข้อใด
ก.คำให้การผู้ต้องหาที่เกิดจากการที่พนักงานสอบสวน หลอกลวง ให้คำมั่นสัญญา ตามมาตรา 135
ข.ถ้อยคำรับสารภาพของผู้ถูกจับว่าตนได้กระทำผิดในชั้นจับกุม ตามมาตรา 84 วรรคท้าย
ค.ถ้อยคำใดๆที่ผู้ต้องหาให้ไว้ต่อพนักงานสอบสวน ก่อนมีการแจ้งสิทธิหรือดำเนินการต่างๆ ตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา 134/4 วรรคท้าย
ง.ถูกทุกข้อ
คำตอบ ข้อ ง. (มำตรำ135 - ฎ.1839/44,ป.วิ.อำญำมำตรำ 226 ประกอบ มำตรำ 84 วรรคท้ำย, มำตรำ 134/4 วรรคท้ำย)

17.พยานหลักฐานในข้อใดที่ไม่ได้เกิดจาการจูงใจและให้คำมั่นสัญญาโดยมิชอบของเจ้าพนักงานตำรวจ
ก.คำเบิกความของนายเอกในศาลที่ถูกเจ้าพนักงานตำรวจจับกุมในข้อหามียาบ้าไว้ในความครอบครองโดย
ผิดกฎหมาย แล้วเสนอว่าหากไปล่อซื้อยาบ้าจากผู้จำหน่ายให้ก็จะไม่ดำเนินคดี นายเอกตกลงยินยอมและ
ล่อซื้อได้
ข.เจ้าพนักงานตำรวจเข้าไปตรวจค้นบ้านจำเลยพบธนบัตรที่ใช้ล่อซื้อและยาบ้า 10 เม็ด จึงได้บอกว่าหากมี
ยาบ้าอยู่อีกให้นำมามอบให้เจ้าพนักงานตำรวจจะได้รับโทษเบาลงและได้เกลี้ยกล่อมว่าหากมีสิ่งของผิด
กฎหมายก็ให้เอาออกมาเสีย จำเลยจึงพาไปเอายาบ้าที่ข้างบ้านมาให้ตำรวจ
ค.จำเลยถูกควบคุมตัวอยู่ที่สถานีตำรวจ ญาติพี่น้องไปเยี่ยม จำเลยจึงพูดถึงเหตุการณ์ที่เกิดให้ญาติฟัง ญาติจึง
บอกให้จำเลยรับสารภาพ จำเลยจึงให้การรับสารภาพในชั้นสอบสวน
ง.ถูกทั้งข้อ ข.และข้อ ค.
คำตอบ ข้อ ง. (ตำมข้อ ข. ไม่ถึงขั้นให้สัญญำ ฎ.1542/40 , ตำมข้อ ค.เป็นกำรรับสำรภำพโดยสมัครใจ ฎ.2215/48)

18.พยานหลักฐานที่ได้จากการล่อซื้อ ล่อจับ ในข้อใดรับฟังลงโทษจำเลยได้
ก.เจ้าพนักงานตำรวจมอบธนบัตรซึ่งลงประจำวันไว้ให้สายลับไปล่อซื้อยาบ้าจากจำเลยและแอบซุ่มดูอยู่เห็น
เหตุการณ์ สายลับนำยาบ้ามามอบให้ จึงเข้าตรวจค้นจับกุมจำเลยได้พร้อมธนบัตรที่ใช้ล่อซื้อ
ข.เจ้าพนักงานตำรวจไปขอร่วมประเวณีกับจำเลยเพื่อพิสูจน์คำร้องเรียนว่ามีการค้าประเวณีในสถานที่เกิด
เหตุจริงหรือไม่ จำเลยยอมให้ร่วมประเวณีและรับเงินจากตำรวจ
ค.โจทก์ส่งสายลับไปล่อซื้อโดยขอซื้อโปรแกรมคอมพิวเตอร์ที่ละเมิดลิขสิทธิ์ของโจทก์จากจำเลย จำเลย
แจ้งว่าไม่มีโปรแกรมละเมิดลิขสิทธิ์ แต่สายลับของโจทก์ยืนยันขอให้ช่วยจัดทำให้ พนักงานจำเลยจึง
ให้บริการลูกค้าแล้วรับปากว่าจะทำให้ แต่วันนี้ไม่มีต้องมารับสัปดาห์หน้า
ง.ถูกทั้งข้อ ก.และข้อ ข.
คำตอบ ข้อ ง. (ตำมข้อ ก.เป็นวิธีกำรแสวงหำพยำนหลักฐำนในกำรกระทำผิดของจำเลยที่ได้กระทำผิดอยู่ก่อนแล้ว ฎ.4417/48 , ตำมข้อ ข. ฎ.1163/18 ,ตามข้อ ค.จำเลยไม่มีเจตนากระทำผิดอยู่ก่อนการล่อซื้อ ฎ.4301/43 )

19.การแอบบันทึกเสียงคำสนทนาทางโทรศัพท์ของตนเองกับผู้อื่น จะรับฟังเป็นพยานหลักฐานได้หรือไม่
ก.รับฟังไม่ได้ เพราะมีกฎหมายห้ามตาม พ.ร.บ.ประกอบกิจการโทรคมนาคม พ.ศ.2544
ข.รับฟังไม่ได้เพราะเป็นพยานที่เกิดขึ้นโดยมิชอบ
ค.รับฟังได้เพราะขณะสนทนากันถือว่าเป็นสิทธิของคู่สนทนา โดยไม่จำต้องขออนุญาต
ง.รับฟังได้แต่ต้องได้รับอนุญาตตาม พ.ร.บ.ประกอบกิจการโทรคมนาคม พ.ศ.2544
คำตอบ ข้อ ค. (เป็นสิทธิของคู่สนทนำทั้งสองฝ่ำย โดยไม่จำต้องขออนุญำต ฎ.4674/43)

20.ข้อใดเป็นพยานหลักฐานที่เกิดจากการหลอกลวง ต้องห้ามมิให้รับฟังเป็นพยานหลักฐาน
ก.พนักงานสอบสวนบอกผู้ต้องหาว่าผู้ที่ร่วมกระทำผิดถูกจับแล้วและรับสารภาพซัดทอดว่าผู้ต้องหาร่วม
กระทำผิดด้วย ซึ่งความจริงยังไม่มีการจับกุมผู้ใด ผู้ต้องหาจึงยอมให้การรับสารภาพ
ข.คดีรถชนกันเป็นเหตุให้คนที่โดยสารมากับรถทั้งสองคันตาย พนักงานสอบสวนสอบปากคำจำเลยซึ่ง
บาดเจ็บที่โรงพยาบาล โดยแจ้งแก่จำเลยว่าคนที่นั่งไปกับจำเลยยังไม่ตาย โดยไม่รู้ว่าเขาตายไปแล้ว จำเลยจึง
รับต่อพนักงานสอบสวนว่าเป็นคนขับรถคันเกิดเหตุ
ค.พนักงานสอบสวนพูดกับจำเลยว่า ถ้าจริงก็รับเสียโทษจะเบา
ง.จำเลยลงชื่อในแผนที่เกิดเหตุ เพราะพนักงานสอบสวนบอกว่าลงชื่อแล้วกลับบ้านได้
คำตอบ ข้อ ก. (ตำมข้อ ก.คำรับสำรภำพเกิดจำกำรหลอกลวง ฎ.589/84 , ตำมข้อ ข. ไม่ถือว่ำล่อลวง ฎ.924/44 ตำมข้อ ค.ไม่ถือว่ำเป็นคำหลอกลวง, ตำมข้อ ง.ไม่ได้หมำยควำมว่ำจำเลยถูกบังคับ ฎ.1644/31)

21.เจ้าพนักงานตำรวจรู้แล้วว่าจำเลยเป็นคนร้ายใช้อาวุธปืนยิงผู้ตาย จึงได้เชิญบิดาและญาติพี่น้องของจำเลยไปที่สถานีตำรวจเพื่อสืบสวนหาข้อเท็จจริงที่จะจับกุมจำเลย โดยมิได้ดำเนินคดีแก่บิดาหรือญาติของจำเลยแต่อย่างใด จำเลยยอมเข้ามอบตัวและให้การรับสารภาพเพื่อให้เจ้าพนักงานตำรวจปล่อยตัวบิดาและญาติพี่น้อง เช่นนี้คำให้การรับสารภาพจะใช้ยันจำเลยในชั้นพิจารณาได้หรือไม่ เพราะเหตุใด
ก.ใช้เป็นพยานหลักฐานยันจำเลยได้ เพราะเป็นการตัดสินใจของจำเลยเองมิได้เกิดจากการจูงใจหรือมีคำมั่นสัญญาแต่ประการใด
ข.ใช้เป็นพยานหลักฐานยันจำเลยได้ เพราะได้ทำการสืบสวนสอบสวนบิดาจำเลยแล้ว
ค.ใช้เป็นพยานหลักฐานยันจำเลยไม่ได้ เพราะเกิดจากการจูงใจหรือมีคำมั่นสัญญา
ง.ใช้เป็นพยานหลักฐานยันจำเลยไม่ได้ เพราะเกิดจากการบังคับขู่เข็ญ ล่อลวงด้วยประการใดๆ
คำตอบ ข้อ ก. (เมื่อจำเลยเข้ำมอบตัวควำมจำเป็นที่จะต้องสืบสวนจับกุมจำเลยย่อมหมดไป จึงไม่มีเหตุผลที่พนักงำนสอบสวนจะหยิบยกเงื่อนไขกำรปล่อยตัวบิดำและญำติพี่น้องของจำเลยขึ้นมำเสนอเพื่อจูงใจหรือเป็นคำมั่นสัญญำให้จำเลยรับสำรภำพ ฎ.1581/48)

22.พยานหลักฐานชนิดที่มิได้เกิดขึ้นโดยมิชอบประการอื่นหมายความถึงพยานชนิดใด
ก.พยานหลักฐานที่ได้มาจากการที่ล่อให้ผู้กระทำผิดแสดงความผิดของตนออกมา
ข.เมื่อมีกฎหมายบัญญัติไว้โดยเฉพาะ
ค.พยานที่มิได้สาบานตนหรือปฏิญาณตนก่อนเบิกความ
ง.ถูกทุกข้อ
คำตอบ ข้อ ง. (ตำม ก.จำเลยมีโปรแกรมคอมพิวเตอร์ละเมิดลิขสิทธิ์อยู่ในเครื่องและพร้อมที่จะส่งมอบในวันที่สำยลับล่อซื้อ เป็นกำรแสวงหำพยำนโดยชอบ ฎ.6523/45 ,ตำม ข.ได้แก่ ป.วิ.อำญำมำตรำ 84 วรรคท้ำย133 ทวิ,134/4 วรรคท้ำย ,ตำม ค.ได้แก่ ป.วิ.แพ่ง มำตรำ 112 ประกอบ ป.วิอำญำมำรำ 15 )

23.ในกรณีที่ประจักษ์พยานได้นั่งอยู่ในห้องพิจารณาด้วยในขณะที่ผู้เสียหายเบิกความต่อศาล คำเบิกความของประจักษ์พยานนั้นจะรับฟังได้หรือไม่ เพียงใด
ก.รับฟังไม่ได้เลยเพราะห้ามมิให้พยานเบิกความต่อหน้าพยานอื่นที่เบิกความภายหลัง
ข.รับฟังไม่ได้เลยเพราะเป็นพยานหลักฐานเกิดขึ้นโดยมิชอบ
ค.รับฟังได้หากศาลเห็นว่าเป็นที่เชื่อฟังได้หรือมิได้เปลี่ยนแปลงไปโดยได้ฟังคำเบิกความของผู้เสียหาย
ง.รับฟังได้เสมอเพราะประจักษ์พยานเป็นพยานที่ดีที่สุด
ตำตอบ ข้อ ค.(ศำลจะไม่ฟังว่ำเป็นกำรผิดระเบียบก็ได้หำกมีเหตุผลอันน่ำเชื่อถือได้ ตำม ป.วิ.แพ่งมำตรำ 114 ประกอบ ป.วิ.อำญำมำตรำ 15)

24.ข้อใดถูกต้องเกี่ยวกับการสาบานตนในการเบิกความต่อศาลของพยาน
ก.พยานไม่ได้สาบานตนก่อนเข้าเบิกความ แล้วพยานดังกล่าวมาให้การในภายหลังว่าคำให้การในครั้งก่อน
ถูกต้องตรงกับความจริง คำให้การครั้งหลังรับฟังได้
ข.ขณะเบิกความผู้เสียหายอายุสิบห้าปี จึงไม่ต้องสาบานตน
ค.ก่อนเบิกความพยานไม่ได้สาบานตนแต่เพิ่งมาสาบานตนเมื่อได้เบิกความไปบ้างแล้วย่อมรับฟังได้
ง.พยานที่เบิกความทุกคนต้องสาบานตนตามลัทธิพุทธศาสนาเท่านั้น
คำตอบ ข้อ ค. (เพิ่งมำสำบำนตนเมื่อได้เบิกควำมไปบ้ำงแล้วถือว่ำยังอยู่ในวำระเดียวกันกับที่เบิกควำมนั้น ย่อมรับฟังได้ ฎ.639/87,ฎ.217/88)

25.ข้อใดเป็นพยานหลักฐานที่เกิดขึ้นโดยชอบแต่ได้มาเนื่องจากการกระทำโดยมิชอบ
ก.พยานที่ได้จากการที่เจ้าพนักงานตำรวจเข้าตรวจค้นโดยไม่มีหมายค้น
ข.พยานที่ได้จากการจับกุมโดยไม่มีหมายจับหรือไม่มีเหตุจะจับได้โดยไม่มีหมายจับ
ค.พยานหลักฐานที่ได้จากการบังคับให้ตรวจเลือด ตรวจปัสสาวะโดยผู้ต้องหาไม่ได้ยินยอม
ง.ถูกทุกข้อ
คำตอบ ข้อ ง. (ถือเป็นพยำนหลักฐำนที่มีอยู่ก่อนแล้วเพียงแต่วิธีกำรได้มำไม่ถูกต้อง ตำม ป.วิ.อำญำ มำตรำ 226/1 วรรคหนึ่ง*** หมำยเหตุ ตำมคำอธิบำย อ.จรัล ภักดีธนำกุล,อ.ธำนี สิงหนำถ กรรมกำรยกร่ำงในกำรแกแก้ไขเพิ่มเติมมำตรำ 226)

26.ข้อใดเป็นพยานหลักฐานที่ได้มาโดยอาศัยข้อมูลที่เกิดขึ้นหรือได้มาโดยมิชอบ
ก.เจ้าพนักงานตำรวจทำร้ายผู้ต้องหาจนให้การรับสารภาพพร้อมกับแจ้งว่าได้นำอาวุธปืนไปซ่อนที่ใด แล้ว
ตามไปตรวจค้นและยึดอาวุธปืนมาเป็นพยานหลักฐาน
ข.เจ้าพนักงานตำรวจลักลอบดักฟังโทรศัพท์โดยอัดเทปบันทึกเสียงไว้ แล้วนำข้อมูลนั้นไปขอหมายค้นบ้าน
ของผู้ต้องหาและยึดเอาอาวุธปืนมาเป็นพยานหลักฐาน
ค.พนักงานสอบสวนไม่แจ้งสิทธิแก่ผู้ต้องหาตามมาตรา 134/4 วรรคท้าย ผู้ต้องหาให้การว่านำอาวุธปืนไป
ซ่อนไว้ที่ใด แล้วตามไปตรวจค้นและยึดอาวุธปืนมาเป็นพยานหลักฐาน
ง.ถูกทุกข้อ
คำตอบ ข้อ ง.(ตำม ป.วิ.อำญำ มำตรำ 226/1 วรรคหนึ่ง *** หมำยเหตุ ตำมคำอธิบำย อ.จรัล ภักดีธนำกุล อ.ธำนี สิงหนำถ กรรมกำรยกร่ำงในกำรแก้ไขเพิ่มเติมมำตรำ 226/1)

27.ข้อยกเว้นในการรับฟังพยานหลักฐานที่เกิดขึ้นโดยชอบแต่ได้มาเนื่องจากการกระทำโดยมิชอบหรือพยานหลักฐานที่ได้มาโดยอาศัยข้อมูลที่เกิดขึ้นหรือได้มาโดยมิชอบ ที่ศาลจะใช้ดุลพินิจในการรับฟัง ข้อใดกล่าวถูกต้องที่สุด
ก.คุณค่าในเชิงพิสูจน์ และความน่าเชื่อถือของพยานหลักฐานนั้นมีความสำคัญมาก
ข.พฤติการณ์และความร้ายแรงของความผิดในคดีไม่ร้ายแรงมาก
ค.ลักษณะและความเสียหายที่เกิดจากการกระทำโดยมิชอบเสียหายมาก
ง.ผู้กระทำการโดยมิชอบอย่างร้ายแรงอันเป็นเหตุให้ได้พยานหลักฐานมานั้นไม่ได้รับการลงโทษ
คำตอบ ข้อ ก. (ป.วิ.อำญำ มำตรำ 226/1 วรรคสอง ***หมำยเหตุ ตำมคำอธิบำย อ.จรัล ภักดีธนำกุล , อ.ธำนี สิงหนำถ กรรมกำรยกร่ำงในกำรแก้ไขเพิ่มเติมมำตรำ 226/1)

28.พยานบอกเล่าหมายความถึงข้อใดที่ไม่ถูกต้อง
ก.ข้อความที่เป็นการบอกเล่าที่พยานบุคคลใดนำมาเบิกความต่อศาลเพื่อพิสูจน์ความจริงแห่งข้อความนั้น
ข.ข้อความที่บันทึกไว้ในเอกสารซึ่งอ้างเป็นพยานหลักฐานต่อศาลเพื่อพิสูจน์ความจริงแห่งข้อความนั้น
ค.ข้อความที่บันทึกไว้ในวัตถุอื่นใดซึ่งอ้างเป็นพยานหลักฐานต่อศาลเพื่อพิสูจน์ความจริงแห่งข้อความนั้น
ง.ข้อความที่เล่าลือต่อกันมาเป็นทอดซึ่งอ้างเป็นพยานหลักฐานต่อศาลเพื่อพิสูจน์ความจริงแห่งข้อความนั้น
คำตอบ ข้อ ง. (ป.วิ.อำญำ มำตรำ 226/3)

29.ข้อใดกล่าวถูกต้องเกี่ยวกับพยานบอกเล่า
ก.พยานบอกเล่าจะต้องเป็นการบอกเล่าด้วยข้อความจากบุคคลเท่านั้น
ข.พยานที่เบิกความในศาลโดยเล่าเรื่องที่ตนประสบมาด้วยตนเองต่อศาลเป็นพยานบอกเล่า
ค.พยานบอกเล่าอาจเป็นพยานบุคคล พยานเอกสาร หรือพยานวัตถุก็ได้
ง.ไม่มีข้อใดถูกต้อง
คำตอบ ข้อ ค. (ป.วิ.อำญำ มำตรำ 226/3 วรรคหนึ่ง)

30.ข้อใดกล่าวไม่ถูกต้องเกี่ยวกับองค์ประกอบของพยานบอกเล่า
ก.ต้องเป็นการนำเสนอข้อความจริงแห่งข้อความนั้น
ข.ผู้ที่เป็นประจักษ์พยานจะต้องไม่ได้มาเบิกความโดยตรงต่อศาล
ค.พยานบอกเล่าอาจเป็นพยานบุคคล พยานเอกสาร หรือพยานวัตถุก็ได้
ง.ไม่มีกฎหมายห้ามมิให้ศาลรับฟังพยานบอกเล่า
คำตอบ ข้อ ง. (ห้ำมมิให้ศำลรับฟังพยำนบอกเล่ำ เว้นแต่จะเข้ำข้อยกเว้น ตำม ป.วิ.อำญำ มำตรำ 226/2 วรรคสอง)

31.ข้อใดไม่ถูกต้องเกี่ยวกับการรับฟังพยานหลักฐานในคดีอาญา
ก.ไม่มีกฎหมายบังคับว่าเอกสารที่จะอ้างหรือนำสืบในคดีอาญา จะต้องเป็นเอกสารที่ได้มีการสอบสวนมา
ก่อนแล้วเท่านั้น
ข.พยานบุคคลไม่จำต้องเป็นพยานที่เคยให้การในชั้นสอบสวนมาก่อน
ค.ธนบัตรของกลางซึ่งเป็นพยานวัตถุที่เจ้าพนักงานตำรวจใช้ล่อซื้อยาบ้าจากจำเลย แม้จะมิได้ลงบันทึก
ประจำวันไว้ โจทก์ย่อมอ้างเป็นพยานเพื่อพิสูจน์ความผิดของจำเลยได้
ง.โจทก์อ้างจำเลยในคดีอื่นของศาลชั้นต้นมาเป็นพยานในคดีที่ฟ้องอยู่ไม่ได้ หากพนักงานสอบสวนไม่ได้
สอบสวนไว้ในฐานะพยาน
คำตอบ ข้อ ง. (ฎ.4012/34 แม้พนักงำนสอบสวนจะไม่ได้สอบสวนไว้ในฐำนะพยำน และไม่จำต้องเป็นพยำนที่เคยให้กำรในชั้นสอบสวนมำก่อน ศำลรับฟังได้)

32.พนักงานสอบสวนแจ้งสิทธิให้ผู้ต้องหาทราบแล้ว จึงทำการสอบสวนโดยหลอกให้ผู้ต้องหารับสารภาพพร้อมกับได้บอกรายละเอียดที่ซ่อนอาวุธปืนไว้ พนักงานสอบสวนจึงขอหมายค้นไปตรวจค้นและยึดอาวุธปืนมาเป็นพยานในคดี ศาลจะรับฟังเป็นพยานหลักฐานได้หรือไม่ เพียงใด
ก.คำรับสารภาพผู้ต้องหาห้ามรับฟังเด็ดขาด แต่อาวุธปืนใช้ดุลพินิจรับฟังได้
ข.คำรับสารภาพผู้ต้องหาและอาวุธปืนใช้ดุลพินิจรับฟังได้
ค.คำรับสารภาพผู้ต้องหาและอาวุธปืนห้ามรับฟังเด็ดขาด
ง.คำรับสารภาพผู้ต้องหาใช้ดุลพินิจรับฟังได้ แต่อาวุธปืนห้ามรับฟังเด็ดขาด
คำตอบ ข้อ ก. (คำรับสำรภำพเกิดขึ้นโดยมิชอบตำม ป.วิ.อำญำ มำตรำ 226 ห้ำมรับฟังเด็ดขำด ,อำวุธปืนได้มำโดยอำศัยข้อมูลที่เกิดขึ้นหรือได้มำโดยมิชอบ ตำมมำตรำ 226/1 ไม่ห้ำมรับฟังเด็ดขำด)

33.การห้ามมิให้รับฟังพยานหลักฐานเกี่ยวกับการกระทำความผิดในครั้งอื่นๆหรือความประพฤติในทางเสื่อมเสียของจำเลยเพื่อพิสูจน์ว่าจำเลยเป็นผู้กระทำความผิดในคดีที่ถูกฟ้อง ข้อใดถูกต้อง
ก.ห้ามรับฟังพยานหลักฐานที่แสดงถึงลักษณะ วิธี หรือรูปแบบเฉพาะในการกระทำผิดของจำเลย
ข.ไม่ห้ามรับฟังพยานหลักฐานที่หักล้างข้อกล่าวอ้างของจำเลยถึงการกระทำ หรือความประพฤติในส่วนดี
ของจำเลย
ค.ห้ามรับฟังพยานหลักฐานที่เกี่ยวเนื่องโดยตรงกับองค์ประกอบความผิดของคดีที่ฟ้อง
ง.ห้ามนำสืบเพื่อให้ศาลใช้ประกอบดุลพินิจในการกำหนดโทษหรือเพิ่มโทษจำเลย
คำตอบ ข้อ ข. (ป.วิ.อำญำ มำตรำ 226/3)

34.คำให้การรับสารภาพของจำเลยในชั้นสอบสวนรับฟังลงโทษจำเลยได้หรือไม่ เพียงใด
ก.รับฟังลงโทษจำเลยได้โดยลำพัง
ข.รับฟังได้หากมีพยานหลักฐานประกอบอื่นมาสนับสนุน
ค.รับฟังไม่ได้เด็ดขาด
ง.รับฟังไม่ได้แม้มีพยานหลักฐานประกอบอื่นมาสนับสนุนเพราะเป็นเพียงพยานบอกเล่าเท่านั้น
คำตอบ ข้อ ข. (ป.วิ.อำญำ มำตรำ 227/1 ฎ.9859/52 คำให้กำรรับสำรภำพของจำเลยในชั้นสอบสวนเป็นเพียงพยำนบอกเล่ำ รับฟังลงโทษจำเลยไม่ได้ หำกไม่มีพยำนหลักฐำนประกอบอื่นมำสนับสนุน)

35.คำให้การพยานในชั้นสอบสวนในกรณีที่ไม่ได้ตัวพยานมาเบิกความต่อศาลจะรับฟังว่าจำเลยกระทำผิดได้หรือไม่ เพียงใด
ก.รับฟังได้เพราะไม่มีกฎหมายห้ามมิให้รับฟังแต่ประการใด
ข.รับฟังได้หากพนักงานสอบสวนมาเบิกความประกอบด้วย
ค.รับฟังไม่ได้แม้พนักงานสอบสวนจะมาเบิกความประกอบก็ตาม
ง.รับฟังไม่ได้เพราะมีกฎหมายห้ามรับฟังเด็ดขาด
คำตอบ ข้อ ค.(ป.วิ.อำญำ มำตรำ 227/1 คำให้กำรพนักงำนสอบสวนมิได้มีแหล่งที่มำเป็นอิสระต่ำงหำกจำกคำให้กำรพยำนชั้นสอบสวน , ฎ.3451/35 แม้พนักงำนสอบสวนมำเบิกควำมประกอบก็ไม่เพียงพอที่จะรับฟังว่ำจำเลยเป็นคนร้ำย)

36.ในกรณีที่พยานโจทก์ให้การปรักปรำผู้ต้องหาไว้ในชั้นสอบสวนแล้ว แต่กลับเบิกความในชั้นศาลว่าจำเลยมิใช่คนร้ายทำนองช่วยเหลือให้จำเลยพ้นผิด เช่นนี้ข้อความในข้อใดกล่าวถูกต้อง
ก.โจทก์จะถามค้านพยานปากโจทก์นี้เสมือนเป็นพยานของจำเลยไม่ได้
ข.โจทก์จะนำสืบบันทึกคำให้การของพยานนี้ที่ให้การไว้ในชั้นสอบสวนเพื่อหักล้างคำเบิกความในชั้นศาล
ไม่ได้
ค.ศาลสามารถรับฟังคำเบิกความพยานนี้ได้ในฐานะพยานบอกเล่า
ง.ศาลรับฟังบันทึกคำให้การพยานนี้ในชั้นสอบสวนในฐานะคำกล่าวนอกศาลที่ขัดแย้งกับคำเบิกความของตนเพื่อหักล้างคำเบิกความในชั้นศาลได้
คำตอบ ข้อ ง.(ป.วิ.แพ่งมำตรำ 117 วรรคหก ประกอบ ป.วิ.อำญำมำตรำ 15 เป็นพยำนปรปักษ์ ,ฎ.1177/42พยำนกลับคำให้กำรในชั้นศำลทำนองช่วยเหลือให้จำเลยพ้นผิด ศำลรับฟังคำให้กำรชั้นสอบสวนประกอบพยำนอื่นเพื่อลงโทษจำเลยได้ )

37.ข้อยกเว้นในการรับฟังพยานบอกเล่าประกอบด้วยเหตุผลในข้อใด
ก.ตามสภาพ ลักษณะ แหล่งที่มาและข้อเท็จจริงแวดล้อมของพยานบอกเล่านั้นน่าเชื่อว่าจะพิสูจน์
ความจริงได้
ข.ประจักษ์พยานตาย สูญหาย หรืออยู่นอกเขตอำนาจศาล
11
ค.มีเหตุผลสมควรเพื่อประโยชน์แห่งความยุติธรรม
ง.ถูกต้องทุกข้อ
คำตอบ ข้อ ง.(ป.วิ.อำญำมำตรำ 226/3 วรรคสอง)

38.ข้อใดไม่ถูกต้องเกี่ยวกับดุลพินิจวินิจฉัยชั่งน้ำหนักพยานหลักฐาน
ก.ให้ศาลใช้ดุลพินิจวินิจฉัยชั่งน้ำหนักพยานหลักฐานทั้งปวง อย่าพิพากษาลงโทษจนกว่าจะแน่ใจว่ามีการ
กระทำความผิดจริง
ข.ให้ศาลใช้ดุลพินิจวินิจฉัยชั่งน้ำหนักพยานหลักฐานทั้งปวง อย่าพิพากษาลงโทษจนกว่าจะแน่ใจว่าจำเลย
เป็นผู้กระทำความผิด
ค.การใช้ดุลพินิจวินิจฉัยชั่งน้ำหนักพยานหลักฐาน อย่าพิพากษาลงโทษจนกว่าจะแน่ใจว่าจำเลยเป็นผู้กระทำ
ความผิด เป็นบทกำหนดมาตรฐานที่ใช้กับโจทก์เท่านั้น ไม่ใช้กับกรณีจำเลยมีภาระการพิสูจน์
ง.ให้ศาลใช้ดุลพินิจวินิจฉัยชั่งน้ำหนักพยานหลักฐานทั้งปวง อย่าพิพากษาลงโทษจนกว่าจะแน่ใจว่าจำเลย
เป็นผู้กระทำความผิด จนปราศจากข้อสงสัยโดยสิ้นเชิง
คำตอบ ข้อ ง.(ป.วิ.อำญำมำตรำ 227 วรรคสอง เมื่อมีควำมสงสัยตำมสมควร...ให้ยกประโยชน์แห่งควำมสงสัยนั้นให้แก่จำเลย แสดงให้เห็นว่ำมำตรฐำนกำรพิสูจน์ในคดีอำญำ โจทก์เพียงพิสูจน์ให้เห็นโดยปรำศจำกข้อสงสัยตำมสมควร ไม่ถึงกับต้องปรำศจำกข้อสงสัยโดยสิ้นเชิง)

39.พยานหลักฐานประกอบอื่นที่มาสนับสนุน เพื่อให้พยานบอกเล่ามีน้ำหนักรับฟังได้นั้นหมายความถึงข้อใด
ก.ภาพถ่ายและบันทึกการนำตัวผู้ต้องหาชี้ที่เกิดเหตุประกอบคำรับสารภาพ
ข.คำเบิกความของพนักงานผู้จับกุมหรือพนักงานสอบสวน
ค.ของกลางบางส่วนที่ใช้ในการกระทำความผิดที่ยึดได้จากจำเลย
ง.คำรับสารภาพของจำเลยในชั้นสอบสวน
คำตอบ ข้อ ค. (ฎ.753/45 ลักทรัพย์โดยเบื่อสุนัข พบเศษปลำที่ปนสำรพิษชนิดเดียวกันกับที่ติดอยู่ในปำกสุนัขของผู้เสียหำย ประกอบคำรับสำรภำพได้ ***ตำม ก.มี ฎ.2458/43 ,ตำม ข.มี ฎ.4657/39,ตำม ง.มี ฎ.465/38 )

40.ข้อใดไม่ถูกต้องเกี่ยวกับคำบอกกล่าวของผู้ถูกทำร้ายก่อนตาย
ก.ใช้ได้แต่เฉพาะในคดีอาญาที่จำเลยถูกฟ้องว่าฆ่าผู้ตายเท่านั้น
ข.ได้กล่าวในขณะที่รู้ตัวว่าใกล้จะตาย โดยหมดหวังว่าจะมีชีวิตรอด รับฟังเป็นพยานหลักฐานได้
ค.คำบอกกล่าวของผู้ตายที่ระบุชื่อคนร้าย ไม่ได้ความชัดเจนว่าผู้ตายกล่าวในขณะใกล้จะตาย แต่ได้บอกเล่า
ให้พยานฟังในเวลาใกล้ชิดกับเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น รับฟังประกอบพยานอื่นได้
ง.คำบอกกล่าวของผู้ตายที่กล่าวในขณะรู้ตัวว่าจะตายเพียงอย่างเดียวก็มีน้ำหนักมาก รับฟังลงโทษจำเลยได้
เพราะผู้ที่กำลังใกล้จะตายย่อมที่จะไม่กล่าวเท็จปรักปรำผู้อื่นอันเป็นการก่อเวรกรรมให้ติดตัวต่อไปอีก
คำตอบ ข้อ ง.(เป็นพยำนบอกเล่ำรับฟังได้ตำม ป.วิ.อำญำมำตรำ 226/3 วรรคสอง(2) ,ฎ.2081/31 ลำพังเพียงคำบอกเล่ำผู้ตำยปำกเดียวไม่มีพยำนอื่นประกอบ ไม่อำจรับฟังลงโทษจำเลยได้)

41.จำเลยลักใบยาสูบโดยใช้ให้หนึ่งและสองไปขนมา โดยที่หนึ่งและสองไม่รู้ว่าเป็นของที่จำเลยลักมา คำเบิกความของหนึ่งและสองรับฟังได้หรือไม่ เพราะเหตุใด
ก.รับฟังได้เพราะเป็นพยานซัดทอดที่เกิดขึ้นและได้มาโดยชอบ
ข.รับฟังได้ในฐานะประจักษ์พยาน
ค.รับฟังได้เพราะในฐานะพยานบอกเล่าและไม่มีกฎหมายห้ามรับฟัง
ง.รับฟังไม่ได้เพราะเป็นผู้ร่วมกระทำผิดด้วยกัน
คำตอบ ข้อ ข.(ฎ.2961/22 ลักใบยำสูบโดยใช้ให้ ร.และ ก.ไปขนมำ โดยไม่รู้ว่ำเป็นของที่จำเลยลักมำ ร.ก.ไม่ใช่ผู้ร่วมกระทำผิดและจำเลยไม่ใช่ผู้ใช้ด้วย เพรำะผู้ถูกใช้ไม่รู้ข้อเท็จจริงนั้นเป็นกำรกระทำผิด จำเลยกระทำผิดเองโดยอ้อม จึงรับฟังได้ในฐำนะประจักษ์พยำน มิใช่พยำนซัดทอด)

42.ในคดีความผิดเกี่ยวกับเพศ การนำสืบหรือการถามค้านพยาน การกระทำในข้อใดถูกต้อง
ก.ต้องให้ผู้พิพากษาหรือพนักงานอัยการที่เป็นหญิงเท่านั้นดำเนินกระบวนพิจารณา
ข.จำเลยนำสืบว่าผู้เสียหายเคยมีสามีมาแล้วจำนวนกี่คนได้
ค.จำเลยนำสืบว่าผู้เสียหายเคยมีความสัมพันธ์ทางเพศกับตนเองโดยผู้เสียหายยินยอมได้
ง.จำเลยนำสืบและถามค้านพยานว่าผู้เสียหายเคยมีความสัมพันธ์ทางเพศกับพยานหรือบุคคลอื่น เพื่อแสดงถึงความสำส่อนทางเพศของผู้เสียหายได้
คำตอบ ข้อ ค.(ปวิ.อำญำมำตรำ 226/4)

43.หากศาลชั้นต้นดำเนินกระบวนพิจารณาไปโดยผิดระเบียบหรือฝ่าฝืนบทบัญญัติว่าด้วยการนำสืบพยานหลักฐาน ศาลสูงจะดำเนินการอย่างไร
ก.เพิกถอนกระบวนพิจารณาที่ผิดระเบียบแล้วให้ศาลชั้นต้นดำเนินการให้ถูกต้อง
ข.ยกคำพิพากษาคำพิพากษาศาลชั้นต้นย้อนสำนวนไปให้ศาลชั้นต้นพิจารณาใหม่ตามรูปคดี
ค.พิพากษายกฟ้องโจทก์ได้เลย
ง.ถูกทั้งข้อ ก.และข้อ ข.
คำตอบ ข้อ ง.(ป.วิ.แพ่งมำตรำ 27 ประกอบ ป.วิ.อำญำมำตรำ 15 เพิกถอนกระบวนพิจำรณำที่ผิดระเบียบ ป.วิ.อำญำมำตรำ 208(2) ศำลชั้นต้นมิได้ปฏิบัติให้ถูกต้องตำมกระบวนพิจำรณำ ให้พิพำกษำสั่งให้ศำลชั้นต้นพิจำรณำใหม่ตำมรูปคดี)

44.ศาลจะรับฟังคำเบิกความในชั้นไต่สวนมูลฟ้องหรือคำเบิกความของพยานที่เบิกความไว้ในคดีอื่นประกอบพยานหลักฐานอื่นในคดีได้หรือไม่ เพียงใด
ก.รับฟังได้เฉพาะคำเบิกความในชั้นไต่สวนมูลฟ้อง แต่คำเบิกความของพยานที่เบิกความไว้ในคดีอื่น รับฟังไม่ได้
ข.คำเบิกความในชั้นไต่สวนมูลฟ้องรับฟังไม่ได้ แต่คำเบิกความของพยานที่เบิกความไว้ในคดีอื่น รับฟังได้
ค.ทั้งคำเบิกความในชั้นไต่สวนมูลฟ้องและคำเบิกความของพยานที่เบิกความไว้ในคดีอื่น รับฟังไม่ได้โดยเด็ดขาด
ง.ทั้งคำเบิกความในชั้นไต่สวนมูลฟ้องและคำเบิกความของพยานที่เบิกความไว้ในคดีอื่น รับฟังได้หากมีความจำเป็นหรือเหตุอันสมควร
คำตอบ ข้อ ง.(ป.วิ.อำญำมำตรำ 226/5)

45.ศาลมีอำนาจสืบพยานเพิ่มเติมได้ในกรณีใด
ก.คดีที่ศาลสั่งงดสืบพยานโจทก์ที่ไม่มาศาลไปแล้ว แต่ระหว่างสืบพยานจำเลย พยานโจทก์ดังกล่าวมาศาล ศาลมีอำนาจที่สั่งให้สืบพยานโจทก์นั้นได้
ข.เมื่อสืบพยานโจทก์จำเลยเสร็จจนแถลงหมดพยานแล้ว จำเลยขอให้ศาลไปตรวจที่เกิดเหตุ ศาลมีอำนาจรับฟังการตรวจสถานที่เกิดเหตุมาวินิจฉัยคดีได้
ค.คดีที่ไม่ต้องสืบพยานประกอบคำรับสารภาพ เมื่อข้อเท็จจริงตามฟ้องที่จำเลยให้การรับสารภาพตามฟ้องแตกต่างกับรายงานการสืบเสาะและพินิจซึ่งปรากฏว่าจำเลยมิได้กระทำผิด ศาลย่อมไม่แน่ใจว่าจำเลยได้กระทำผิดจริงหรือไม่ ย่อมมีอำนาจสั่งให้สั่งสืบพยานเพิ่มเติมได้
ง.ถูกทุกข้อ
คำตอบ ข้อ ง.(ป.วิ.อำญำมำตรำ 228 ตำมข้อ ก. ฎ.4545/31,ตำมข้อ ข. ฎ.1362/94,ตำมข้อ ค. ฎ.2944/44)

46.ข้อใดถูกต้องเกี่ยวกับข้อยกเว้นของการสืบพยานในศาล
ก.ศาลอาจสืบพยานในสถานที่แห่งอื่นนอกศาลโดยจัดให้มีการถ่ายทอดภาพและเสียงในลักษณะการประชุมทางจอภาพได้
ข.ศาลไม่อาจใช้ดุลพินิจอนุญาตให้เสนอถ้อยคำบันทึกถ้อยคำยืนยันข้อเท็จจริงของผู้ให้ถ้อยคำที่มีถิ่นที่อยู่ในต่างประเทศต่อศาลแทนการนำพยานบุคคลมาเบิกความต่อหน้าศาลได้
ค.ศาลมีอำนาจส่งประเด็นไปให้ศาลอื่นสืบแทนได้เฉพาะกรณีที่ไม่สามารถกระทำได้โดยวิธีอื่นและศาลเห็นเป็นการสมควรเท่านั้น
ง.ถูกทุกข้อ
คำตอบ ข้อ ก.(ศำลมีอำนำจสืบพยำนนอกศำลโดยส่งประเด็นได้ เมื่อคู่ควำมร้องขอหรือศำลเห็นเป็นกำรสมควร ตำม ป.วิ.อำญำมำตรำ 230 ,อำจสืบพยำนโดยประชุมทำงจอภำพได้ตำมมำตรำ230/1 ,อำจอนุญำตให้เสนอถ้อยคำ
บันทึกถ้อยคำยืนยันข้อเท็จจริงของผู้ให้ถ้อยคำที่มีถิ่นที่อยู่ในต่ำงประเทศต่อศำลแทนกำรนำพยำนบุคคลมำเบิกควำม
ต่อหน้ำศำลได้ตำมมำตรำ 230/2 )

47.ข้อใดถูกต้องเกี่ยวกับการเดินเผชิญสืบพยานหลักฐาน
ก.ศาลจะเดินเผชิญสืบเฉพาะกรณีที่คู่ความร้องขอเท่านั้น
ข.ให้จ่าศาลเป็นผู้เดินเผชิญสืบแทนศาลได้
ค.ศาลเดินเผชิญสืบได้เฉพาะกรณีที่เป็นพยานวัตถุเท่านั้น
ง.ศาลเดินเผชิญสืบได้ทั้งที่เป็นพยานบุคคล พยานเอกสารและพยานวัตถุ
คำตอบ ข้อ ง.(ป.วิ.อำญำมำตรำ 230 ศำลเดินเผชิญสืบพยำนหลักฐำนได้ทุกประเภท หำกไม่สำมำรถนำพยำนมำสืบที่ศำลได้)

48.การสืบพยานโดยจัดให้มีการถ่ายทอดภาพและเสียงในลักษณะการประชุมทางจอภาพจะกระทำได้ในสถานที่ใด
ก.ที่ศาลอื่นตามที่เห็นสมควร ข.สถานที่ทำการของทางราชการ
ค.สถานที่แห่งอื่นนอกศาลนั้น ง.ถูกทุกข้อ
คำตอบ ข้อ ง.(ป.วิ.อำญำมำตรำ 230/1)

49.ในคดีอาญาโจทก์และจำเลยจะต้องยื่นบัญชีระบุพยานหรือไม่
ก.กรณีที่มีการตรวจพยานให้คู่ความยื่นบัญชีระบุพยานต่อศาลพร้อมสำเนา ก่อนวันตรวจพยานหลักฐาน ไม่น้อยกว่า 15 วัน
ข.กรณีที่ที่ไม่มีการตรวจพยานให้โจทก์ยื่นบัญชีระบุพยานต่อศาลพร้อมสำเนา ก่อนวันไต่สวนมูลฟ้องหรือ วันสืบพยานไม่น้อยกว่า 15 วัน
ค.จำเลยจะยื่นบัญชีระบุพยานหรือไม่ก็ได้ ถ้าจะยื่นต้องยื่นก่อนวันสืบพยานโจทก์
ง.ทั้งโจทก์และจำเลยไม่จำเป็นต้องยื่นบัญชีระบุพยานแต่อย่างใด
คำตอบ ข้อ ข.(ป.วิ.อำญำมำตรำ 229/1 กรณีไม่มีกำรตรวจพยำน โจทก์ต้องยื่นก่อนวันสืบไม่น้อยกว่ำ 15 วัน จำเลยต้องยื่นก่อนวันสืบพยำนจำเลย ,มำตรำ173/1 กรณีมีกำรตรวจพยำนคู่ควำมต้องยื่นก่อนวันตรวจพยำนไม่น้อยกว่ำ 7 วัน

50.เอกสารหรือข้อความใดที่คู่ความหรือผู้ใด มีอำนาจไม่ยอมให้การหรือส่งพยานหลักฐานได้
ก.เอกสารราชการทุกประเภท
ข.เอกสารหรือข้อความที่ยังเป็นความลับในราชการอยู่
ค.เอกสารหรือข้อความลับ ซึ่งได้มาหรือทราบเนื่องในอาชีพหรือหน้าที่ของเขา
ง.วิธีการ แบบแผน ซึ่งกฎหมายคุ้มครองไม่ยอมให้เปิดเผย
คำตอบ ข้อ ก.(ป.วิอำญำมำตรำ 231 มีเอกสิทธิ์เฉพำะเอกสำรรำชกำรที่ยังเป็นควำมลับอยู่)

51. พยานเอกสารในคดีอาญาแบ่งออกเป็นประเภท ข้อใดต่อไปนี้ถูกที่สุด
ก. ประเภทต้นฉบับเกสารและสำเนาเอกสาร
ข. เอกสารมหาชน และเอกสารเอกชน
ค. เอกสารทั่วไป เอกสารราชการ เอกสารมหาชน
ง. ถูกทุกข้อ
ตอบ ข้อ ค. ถูก พยำนเอกสำรในคดีอำญำโดยหลักแล้วแบ่งออกได้เป็น 3 ประเภท คือ
1 เอกสำรทั่วไปตำม ป.วิอำญำ มำตรำ 238 วรรคหนึ่ง
2 เอกสำรรำชกำรตำม ป.วิอำญำ มำตรำ 238 วรรคสอง
3 เอกสำรมหำชนตำม ป.วิอำญำ มำตรำ 127 ประกอบ ป.วิอำญำ มำตรำ 15

52 เอกสารที่หาต้นฉบับไม่ได้นั้นหมายความว่าอย่างไร่
ก. หาไม่พบ ข. สูญหาย ถูกทำลาย
ค. ยากแก่การนำเสนอต่อศาล ง. ถูกทุกข้อ
ตอบ ข้อ ง. เอกสำรที่หำต้นฉบับไม่ได้นั้นหมำยควำมว่ำหำไม่พบสูญหำย ถูกทำลำยหรือยำกแก่กำรนำเสนอต่อศำล

53 จำเลยได้อ้างต้นฉบับรายงานเบ็ดเสร็จประจำวันของสถานีตำรวจเป็นพยานต่อศาล แต่ผู้บังคับกองตำรวจคัดสำเนาส่งมาให้ รับรองว่าเป็นสำเนาอันแท้จริง ถ้าโจทก์ไม่ได้คัดค้านว่าเจ้าหน้าที่คัดสำเนาผิดจากต้นฉบับ ดังนี้จะรับฟังเป็นพยานในชั้นศาลได้หรือไม่
ก. รับฟังได้แต่ต้องมีพยานบุคคลมาสืบประกอบ
ข. รับฟังได้แต่ต้องมีพยานอื่นมาสืบประกอบ
ค. รับฟังได้แม้ไม่มีพยานบุคคลหรือพยานอื่นมาสืบประกอบ
ง. จะรับฟังได้หรือไม่เป็นดุลพินิจของศาล
ตอบ ข้อ ค. ถูก ตำมนัย ฎ. 422/2522

54.จ้าพนักงานตำรวจจับกุมนายแดง ข้อหาเป็นเจ้ามือการพนันสลากกินรวบพร้อมยึดโพยสลากกินรวบซึ่งเป็นภาพถ่ายจากเครื่องถ่ายเอกสาร ภาพถ่ายโพยลากกินรวบเป็นพยานหลักฐานชนิดใด
ก. เป็นต้นฉบับเอกสาร ข. เป็นสำเนาเอกสาร
ค. เป็นเอกสารคู่ฉบับ ง. เป็นวัตถุพยาน
ตอบ ข้อ ง. ถูก ตำมนัย ฎ. 2572/2540 โพยสลำกกินรวบซึ่งเป็นภำพถ่ำยจำกเครื่องถ่ำยอกสำรเป็นวัตถุพยำน

55. โจทก์อ้างพยานเอกสารที่ไม่ได้ทำการสอบสวนและไม่มีอยู่ในสำนวนการสอบสวนต่อศาลว่าเป็นบันทึกคำรับสารภาพ แผนที่บ้านของจำเลย และภาพถ่ายประกอบพยานหลักฐานอื่นดังนี้โจทก์จะสามารถอ้างเป็นพยานหลักฐานได้หรือไม่
ก. โจทก์ไม่สามารถอ้างเป็นพยานหลักฐานได้เพราะไม่ได้ผ่านการสอบสวน
ข. โจทก์ไม่สามารถอ้างเป็นพยานหลักฐานได้เพราะเอกสารไม่ได้อยู่ในสำนวน
ค. โจทก์ไม่สามารถอ้างเป็นพยานหลักฐานได้เพราะเป็นการไม่ชอบด้วยกฎหมาย
ง. โจทก์สามารถอ้างเป็นพยานหลักฐานได้โดยชอบด้วยกฎหมาย
ตอบ ข้อ ง. ตำมนัย ฎ.ที่ 1548/2535 เมื่อไม่มีกฎหมำยบังคับว่ำเอกสำรที่จะอ้ำงหรือนำสืบในคดีอำญำจะต้องเป็นเอกสำรที่ได้มีกำรสอบสวนและอยู่ในสำนวนกำรสอบสวนเท่ำนั้นศำลย่อมรับฟังบันทึกคำรับสำรภำพ ระกอบหลักฐำนอื่นลงโทษจำเลยได้

56. ในคดีอาญาโจทก์อ้างคำให้การจำเลยชั้นสอบสวนไว้ในบัญชีระบุพยานแล้วในขณะที่พนักงานสอบสวนซึ่งเป็นพยานโจทก์เข้าเบิกความโจทก์จึงส่งคำให้การจำเลยชั้นสอบสวนประกอบพยาน ศาลได้ให้จำเลยตรวจดูแล้ว ดังนี้จะรับคำให้การชั้นสอบสวนของจำเลยไว้เป็นหลักฐานได้หรือไม่
ก.ไม่ได้เพราะไม่ได้คัดสำเนาเอกสารให้จำเลยก่อนที่จะสืบพยานเอกสารนั้น
ข.ได้ไม่จำเป็นต้องคัดสำเนาเอกสารให้จำเลยเพื่อความรวดเร็วในการพิจารณาคดี
ค.ได้ไม่จำเป็นต้องคัดสำเนาเอกสารให้จำเลยเพราะจำเลยไม่ต้องการ
ง.ได้ไม่จำเป็นต้องคัดสำเนาเอกสารให้จำเลยเพราะจำเลยไม่ต้องการและศาลเห็นสมควรสั่งให้คัดสำเนาให้
ตอบ ข้อ ง. ถูก ตำมนัย ฎ. ที่ 1068/2496 กรณีที่คู่ควำมร้องขอให้คัดสำเนำเอกสำรนั้นศำลจะอนุญำตหรือไม่เป็นดุลพินิจของศำล

57.ในคดีอาญาก่อนวันสืบพยานศาลสั่งให้โจทก์คัดสำเนาเอกสารที่โจทก์อ้างเพื่อส่งให้แก่จำเลยตามคำร้องขอของจำเลยแล้ว แต่โจทก์เกรงว่าจะเสียรูปคดีจึงไม่ปฏิบัติตามคำสั่งศาล ดังนี้ศาลจะรับเอกสารที่โจทก์อ้างไว้พิจารณาหรือไม่
ก. ชอบที่ศาลจะรับเอกสารของโจทก์ไว้พิจารณาเสมอ
ข. ชอบที่ศาลจะรับเอกสารของโจทก์ไว้พิจารณาเพื่อไม่ให้เสียรูปคดี
ค. ชอบที่ศาลจะรับเอกสารของโจทก์ไว้พิจารณาหากจำเลยไม่ได้หลงต่อสู้
ง. ชอบที่ศาลจะไม่รับเอกสารของโจทก์ไว้พิจารณาเพราะโจทก์ไม่ปฏิบัติตามคำสั่งของศาล
ตอบ ข้อ ง. ตำมนัย ฎ. ที่ 393/2484 ตำม ป.วิ อ. มำตรำ 240 บัญญัติให้ศำลอ่ำนหรือส่งให้คู่ควำมตรวจเอกสำรดูถ้ำคู่ควำมฝ่ำยใดต้องกำรสำเนำ ศำลมีอำนำจสั่งให้ฝ่ำยที่อ้ำงส่งสำเนำได้ ถ้ำฝ่ำยที่อ้ำงไม่ปฏิบัติตำมศำลชอบที่จะไม่รับเอกสำรนั้นไว้พิจำรณำได้

58. โจทก์ฟ้องจำเลยในชั้นไต่สวนมูลฟ้อง โจทก์ได้ยื่นบัญชีระบุพยานว่า “บัญชีระบุพยานชั้นไต่สวนมูลฟ้อง” ศาลไต่สวนมูลฟ้องแล้วเห็นว่าคดีมีมูล จึงประทับรับฟ้องไว้พิจารณา ดังนี้โจทก์จะนำพยานหลักฐานในชั้นไต่สวนมูลฟ้องมาสืบในชั้นพิจารณาได้หรือไม่
ก. ไม่ได้เพราะเป็นการยื่นบัญชีระบุพยานเฉพาะแต่ในชั้นไต่สวนมูลฟ้องเท่านั้น
ข. ไม่ได้โจทก์จะต้องยื่นบัญชีระบุพยานตาม ป.วิ. อ. มาตรา 229/1 ใหม่
ค. จะได้หรือไม่เป็นดุจพินิจของศาล
ง. สามารถนำมาสืบในชั้นพิจารณาได้เพราะถือว่าเป็นการอ้างอิงพยานหลักฐานในคดีตลอดทั้ง
เรื่อง
ตอบ ข้อ ง. ตำมนัย ฎ. ที่ 280/2505 คดีอำญำที่รำษฎรเป็นโจทก์นั้นศำลจะต้องไต่สวนมูลฟ้องก่อน ฉะนั้นแม้บัญชีระบุพยำนเอกสำรของโจทก์จะมีว่ำ “บัญชีระบุพยำนชั้นไต่สวนมูลฟ้อง” ก็จะถือว่ำเป็นกำรระบุ
พยำนเฉพำะแต่ในตอนไต่สวนมูลฟ้องไม่ได้ ต้องถือว่ำโจทก์มีควำมประสงค์ที่จะอ้ำงอิงพยำนหลักฐำนในคดี
นั้นตำมบัญชีระบุพยำนของตนตลอดทั้งเรื่อง

59. คดีอาญาในชั้นไต่สวนมูลฟ้องทนายจำเลยถามค้านตัวโจทก์ที่อ้างตนเองเป็นพยานถึงจำนวนเงินที่โจทก์รับไปจากจำเลยโดยเอาบันทึกที่โจทก์เซ็นรับเงินและเอกสารให้โจทก์ดูแล้ว และโจทก์ก็รับว่าถูกต้อง ทนายจำเลยจึงส่งบันทึกและเอการดังกล่าวต่อศาล ดังนี้ถือว่าจำเลยได้อ้างเป็นพยานหลักฐานเพื่อนำสืบในชั้นพิจารณาแล้วหรือไม่
ก. ถือว่าเป็นพยานหลักฐานที่จำเลยอ้างแล้วเพราะโจทก์ไม่คัดค้าน
ข. ถือว่าเป็นพยานหลักฐานที่จำเลยอ้างแล้วเพราะโจทก์ดูและรับว่าถูกต้องแล้ว
ค. ไม่ถือว่าเป็นพยานหลักฐานที่จำเลยอ้างเพื่อนำสืบในชั้นพิจารณา
ง. ไม่มีข้อใดถูกต้อง
ตอบ ข้อ ค. ตำมนัย ฎ. ที่ 759/2508 ชั้นไต่สวนมูลฟ้องทนำยจำเลยถำมค้ำนพยำนโจทก์ที่อ้ำงตนเป็นพยำนถึงเงินที่โจทก์รับไปจำกจำเลย โดยเอำบันทึกที่โจทก์เซ็นรับเงินแลเอกสำรที่โจทก์ดู และโจทก์กรับรองว่ำ
ถูกต้องแล้วทนำยจำเลยจึงส่งบันทึกและเอกสำรต่อศำลเช่นนี้บันทึกกับเอกสำรดังกล่ำวไม่ใช่เป็นพยำนเอกสำร
ที่จำเลยอ้ำง

60. ในคดีอาญาเอกสารใดที่คู่ความอ้างแต่เอกสารนั้นอยู่ในความครอบครองของบุคคลอื่น ถ้าคู่ความนั้นแจ้งถึงลักษณะและ ที่อยู่ของเอกสารต่อศาลแล้วกฎหมายกำหนดให้ศาลต้องปฏิบัติอย่างไร
ก. ออกหมายเรียกบุคคลผู้ยึดถือให้มาศาลเพื่อสอบถามถึงความมีอยู่ของเอกสารนั้น
ข. ออกหมายเรียกบุคคลผู้ยึดถือให้ส่งเอกสารนั้นแก่ผู้อ้าง
ค. ออกหมายเรียกบุคคลผู้ยึดถือให้นำเอกสารมาส่งศาล
ง. ออกหมายค้นเพื่อยึดเอกสารนั้น
ตอบ ข้อ ค. ตำมนัย มำตรำ 239

61. ป.วิ. อาญามาตรา 240 กำหนดหลักเกณฑ์ในการนำสืบพยานเอกที่อยู่ในความปกครองของตนในกรณีที่ศาลไม่ได้กำหนดให้มีวันตรวจพยานหลักฐานคู่ความจะต้องยื่นพยานเอกสารนั้นต่อศาลกันวันไต่สวนมูลฟ้องหรือก่อนวันสืบพยานไม่น้อยกว่ากี่วัน
ก. ไม่น้อยกว่า 3 วัน ข. ไม่น้อยกว่า 7 วัน
ค. ไม่น้อยกว่า 15 วัน ง. ไม่น้อยกว่า 30 วัน
ตอบ ค. ตำม ป.วิ. อำญำมำตรำ 240 วรรคหนึ่ง กฎหมำยบังคับทั้งโจทก์และจำเลย ต้องยื่นพยำนเอกสำรต่อศำลก่อนวันไต่สวนมูลฟ้องหรือวันสืบพยำนไม่น้อยกว่ำ 15 วัน

62. ในคดีอาญาหากโจทก์ซึ่งยื่นบัญชีระบุพยานหลักฐานไว้แล้วมีความประสงค์ที่จะยื่นบัญชีระบุพยานเพิ่มเติมโจทก์จะต้อง ยื่นภายในระยะเวลาใด
ก. ก่อนคดีเสร็จสิ้นการพิจารณา ข. ก่อนคดีเสร็จสิ้นการสืบพยานโจทก์
ค. ก่อนคดีเสร็จสิ้นการสืบพยานจำเลย ง. ก่อนวันสืบพยานไม่น้อยกว่า 15 วัน
ตอบ ข้อ ข. มำตรำ 291/1 วรรคสำม กรณีขอยื่นบัญชีระบุพยำนเพิ่มเติม คู่ควำมอำจร้องขออ้ำงพยำนหลักฐำนดังกล่ำวต่อศำลพร้อมบัญชีระบุพยำนและสำเนำบัญชีระบุพยำนหลักฐำนนั้น ไม่ว่ำเวลำใดๆ ก่อนเสร็จสิ้นของกำรสืบพยำนของฝ่ำยนั้น

63. เอกสารที่ทนายโจทก์พิมพ์ข้อความลงในแบบพิมพ์ที่สัญญากู้ซึ่งเป็นแบบพิมพ์อย่างเดียวกันกับต้นฉบับสัญญากู้ และมีข้อความเช่นเดียวกับสัญญาต้นฉบับ โดยทนายโจทก์ลงชื่อรับรองว่าสำเนาถูกต้อง ดังนี้จะใช้เป็นสำเนาเอกสารได้หรือไม่
ก. ใช้เป็นสำเนาเอกสารไม่ได้เพราะพิมพ์ขึ้นใหม่
ข. ใช้เป็นสำเนาเอกสารไม่ได้เพราะไม่ได้ถ่ายจากต้นฉบับ
ค. ใช้เป็นสำเนาเอกสารได้โดยชอบด้วยกฎหมาย
ง. ข้อ ก. และข้อ ข. ถูก
ตอบ ข้อ ค. ตำมนัย ฎ. ที่ 2158/34

64. ข้อใดเอกสารต่อไปนี้เป็นพยานเอกสารทั้งหมด
ก. ภาพถ่ายคนร้าย , ธนบัตรของกลางที่ใช้ล่อซื้อยาเสพติด , สัญญาจำนอง
ข. สำเนาโพยสลากกินรวบ, แผนที่สังเขปแสดงสถานที่เกิดเหตุ , บันทึกการตรวจสถานที่เกิดเหตุ
ค. ภาพถ่ายจดหมายติดต่อการเช่า , ภาพถ่ายสถานที่เกิดเหตุ , แผนที่เกิดเหตุ
ง. บันทึกคำให้การชั้นสอบสวน , บันทึกการตรวจสถานที่เกิดเหตุ , เลขหมายที่พานท้ายปืน
ตอบ ข้อ ง. บันทึกคำให้กำรชั้นสอบสวนเป็นพยำนเอกสำร ( ฎ. ที่ 1068/2496 ) บันทึกกำรตรวจสถำนที่เกิดเหตุเป็นพยำนเอกสำร ( ฎ. ที่ 1664/2531 ) เลขหมำยที่พำนท้ำยปืนเป็นพยำนเอกสาร ( ฎ. ที่ 1269/2503 )

65. ในคดีอาญาโจทก์ทำหนังสือมอบอำนาจให้ผู้รับมอบอำนาจฟ้องจำเลยข้อหาฉ้อโกงตาม ป.อ.มาตรา 341 แต่ปรากฏว่าหนังสือมอบอำนาจดังกล่าวไม่ได้ปิดอากรแสตมป์ ดังจะรับฟังเป็นพยานหลักฐานได้หรือไม่เพียงใด
ก. รับฟังไม่ได้เพราะหนังสือมอบอำนาจจะต้องปิดอากรแสตมป์ทุกกรณี
ข. รับฟังได้เฉพาะแต่ในคดีแพ่ง
ค. รับฟังได้เฉพาะแต่ในคดีอาญา
ง. จะรับฟังได้หรือไม่เป็นดุลพินิจของศาล
ตอบ ข้อ ค. ตำมนัย ฎ. ที่ 27/2546 ป.รัษฎำกร มำตรำ 118 ห้ำมมิให้รับฟังหนังสือมอบอำนำจที่ไม่ปิดอำกรแสตมป์เป็นพยำนหลักฐำนเฉพำะแต่คดีแพ่งเท่ำนั้น มิได้ห้ำมรับฟังในคดีอำญำด้วย

66. ในคดีอาญาสามารถนำสืบพยานบุคคลหักล้างพยานเอกสารได้หรือไม่
ก. สามารถนำพยานบุคคลมาสืบหักล้างพยานเอกสารได้
ข. ไม่สามรถนำพยานบุคคลมาสืบหักล้างพยานเอกสารได้
ค. ขึ้นอยู่กับคู่ความที่ตกลงกันว่าจะยอมรับหรือไม่
ง. ขึ้นอยู่กับศาลว่าจะอนุญาตหรือไม่
ตอบ ข้อ ก. ตำมนัย ฎ. ที่ 3224/2531 ป.วิ.อ. มำตรำ 226 มิได้ห้ำมนำสืบพยำนบุคคลหักล้ำงพยำนเอกสำรกำรที่ศำลให้นำสืบพยำนบุคคลและรับฟังพยำนบุคคลนั้น จึงไม่ต้องห้ำมตำมกฎหมำย

67. ข้อใดต่อไปนี้เป็นพยานวัตถุทั้งหมด
ก. เทปบันทึกเสียง , ภาพถ่ายสถานที่เกิดเหตุ , ภาพถ่ายจดหมายติดต่อการเช่า
ข. คำจารึกที่หลุมฝังศพ , ลักษณะบาดแผล , คราบเลือด
ค. ภาพถ่ายห้องพิพาท , สำเนาโพยสลากกินรวบ , ธนบัตรของกลางที่ใช้ล่อซื้อยาเสพติด
ง. หมายเลขตัวถังรถยนต์ , ภาพถ่ายบุคคล , ร่องรอยของรถยนต์ที่ชนกัน
ตอบ ข้อ ค. ภำพถ่ำยห้องพิพำทเป็นพยำนวัตถุ ( ฎ. 840/2499 ) สำเนำโพยสลำกกินรวบเป็นพยำนวัตถุ ( ฎ. 2572/2540 ) ธนบัตรของกลำงที่ใช้ล่อซื้อยำเสพติดเป็นพยำนวัตถุ ( ฎ. 270/2542 )
68. โจทก์ฟ้องจำเลยเป็นคดีอาญาว่าจำเลยทำให้สัญญากู้ของโจทก์เสียหายโดยทำให้ฉีกขาดจนอ่านไม่ได้ความโจทก์อ้างสัญญากู้เป็นพยานหลักฐานเพื่อให้ศาลตรวจดูเป็นการอ้างพยานหลักฐานชนิดใด
ก. พยานเอกสาร ข. พยานวัตถุ
ค. เป็นทั้งพยานเอกสารและพยานวัตถุ ง. ข้อ ค. ถูก
ตอบ ข้อ ง. พยำนวัตถุหมำยควำมถึงสิ่งใดๆ ที่คู่ควำมอ้ำงอิงให้ศำลตรวจดูเพื่อประโยชน์แก่คดีของตน
(โจทก์ไม่ได้อ้ำงถึงข้อควำมในสัญญำกู้จึงไม่เป็นพยำนเอกสำร)

69. คดีอาญาเรื่องข่มขืนกระทำชำเราพยานบุคคลมีแต่หญิงเจ้าทุกข์เพียงปากเดียว เบิกความว่าขณะจำเลยกอดปล้ำพยานได้กัดแขนจำเลยเมื่อศาลตรวจดูที่แขนจำเลยเห็นมีรอยกัดจริง ศาลจะอาศัยเหตุนี้ลงโทษจำเลยได้หรือไม่เพราะเหตุใด
ก. อาศัยเหตุดังกล่าวลงโทษได้เพราะเป็นพยานวัตถุ
ข. อาศัยเหตุดังกล่าวลงโทษได้เพราะเป็นพยานแวดล้อม
ค. อาศัยเหตุดังกล่าวลงโทษไม่ได้เพราะยังไม่ได้ตรวจฟันจำเลยก่อน
ง. ไม่มีข้อใดถูก
ตอบ ข้อ ก. ตำมนัย ฎ. ที่ 156/ ร.ศ.131 เรื่องข่มขืนกระทำชำเรำมีแต่หญิงเจ้ำทุกข์ฝ่ำยเดียวเบิกควำมว่ำขณะจำเลยกอดปล้ำพยำนได้กัดแขนจำเลยศำลตรวจดูที่แขนจำเลยเห็นมีรอยฟันกัดจริงก็อำศัยเหตุนี้ลงโทษจำเลยได้

70. โจทก์ฟ้องจำเลยว่าจำเลยใช้ดวงตราของรัฐบาลปลอมประทับไว้ที่หนังสุกรแต่โจทก์ไม่ได้ยื่นหนังสุกรของกลางต่อศาลคงนำสืบแต่พยานบุคคลที่รู้เห็นการกระทำของจำเลย เช่นนี้ศาลจะลงโทษจำเลยได้หรือไม่
ก. ไม่ได้เพราะโจทก์ไม่ยื่นหนังสุกรอันเป็นพยานวัตถุต่อศาล
ข. ไม่ได้เพราะโจทก์ไม่ยื่นหนังสุกรอันเป็นพยานเอกสารต่อศาล
ค. ได้เพราะการสืบพยานวัตถุไม่จำเป็นต้องนำมายื่นต่อศาลเสมอไป
ง. ได้เพราะการสืบพยานเอกสารไม่จำเป็นต้องนำมายื่นต่อศาลเสมอไป
ตอบ ข้อ ค. ฎ. 619/2479 , 1176/2491 ตำม ป.วิ.อ. มำตรำ 241 ได้บัญญัติถึงวิธีกำรสืบพยำนวัตถุเท่ำนั้นไม่ได้บังคับว่ำจะต้องยื่นเป็นพยำนต่อศำลเสมอ ศำลจะลงโทษจำเลยโดยอำศัยพยำนบุคคลแต่อย่ำงเดียวก็ได้

71. ข้อใดต่อไปนี้ไม่ถูกต้องในการนำสืบพยานวัตถุ
ก. สิ่งใดเป็นพยานวัตถุต้องนำมาที่ศาล
ข. ถ้านำพยานวัตถุมาศาลไม่ได้ให้ศาลไปตรวจจดรายงานยังที่พยานวัตถุนั้นอยู่
ค. ศาลมีอำนาจกำหนดวิธีการตรวจพยานวัตถุตามลักษณะของพยานวัตถุ
ง. พยานวัตถุใดที่นำมาศาลไม่ได้ศาลไม่สามารถสั่งงดตรวจพยานวัตถุนั้นได้เลย
ตอบ ข้อ ง. ตำมนัย ฎ. 1907/2517 กำรที่ศำลจะไปตรวจจดรำยงำนยังที่พยำนวัตถุอยู่หรือไม่เป็นดุลพินิจของศำล

72. เจ้าพนักงานตำรวจชุดสืบสวนปราบปรามยาเสพติดให้ธนบัตรฉบับละ 1,000 บาท แก่สายลับไปทำการล่อซื้อเมทแอมเฟตามีน 2 เม็ด จากจำเลยโดยไม่นำลงประจำวันไว้เป็นหลักฐาน เมื่อจับกุมจำเลยพนักงานสอบสวนจะอ้างธนบัตรดังกล่าวเป็นพยานหลักฐานได้หรือไม่
ก. อ้างเป็นพยานหลักฐานไม่ได้ เพราะไม่ได้ลงประจำวันไวก่อน
ข. อ้างเป็นพยานหลักฐานไม่ได้ เพราะเป็นการแสวงพยานโดยไม่ชอบด้วยกฎหมาย
ค. อ้างเป็นพยานหลักฐานได้
ง. จะอ้างได้หรือไม่เป็นดุลพินิจของศาล
ตอบ ข้อ ค. ตำมนัย ฎ. 270/2542 ธนบัตรที่ใช้ล่อซื้อยำเสพติดของกลำงแม้ไม่ได้ลงประจำวันก็อ้ำงเป็นพยำนหลักฐำนได้

73. ในกรณีอ้างหนังสือราชการเป็นพยานหากต้นฉบับยังมีอยู่ ผู้อ้างจะขอส่งสำเนาเอกสารที่เจ้าหน้าที่รับรองว่าถูกต้องได้เพียงใด
ก. ได้เสมอ ข. ได้เว้นแต่ในหมายเรียกจะบ่งไว้เป็นอย่างอื่น
ค. ไม่ได้เพราะต้นฉบับเอกสารยังมีอยู่ ง. ไม่ได้เว้นแต่ในหมายเรียกจะบ่งไว้เป็นอย่างอื่น
ตอบ ข้อ ข. ตำมมำตรำ 238 วรรคสอง ถ้ำอ้ำงเอกสำรรำชกำรเป็นพยำนแม้ต้นฉบับยังมีอยู่จะส่งสำเนำที่เจ้ำหน้ำที่รับรองว่ำถูกต้องก็ได้เว้นแต่หมำยเรียกจะบ่งไว้เป็นอย่ำงอื่น

74. ในความผิดอาญาหากมีความจำเป็นต้องใช้พยานหลักฐานทางวิทยาศาสตร์เพื่อพิสูจน์ ข้อเท็จจริงใดที่เป็นประเด็นสำคัญแห่งคดี ให้ศาลมีอำนาจ สั่งให้ทำการตรวจพิสูจน์ บุคคล วัตถุ หรือเอกสารใด โดยวิธีการทางวิทยาศาสตร์ในความผิดที่อัตราโทษ..........ข้อใดต่อไปนี้ถูกต้อง
ก. ในความผิดคดีอาญาที่มีอัตราโทษจำคุก
ข. ในความผิดคดีอาญาที่มีอัตราโทษจำคุกเกินหนึ่งปีขึ้นไป
ค. ในความผิดคดีอาญาที่มีอัตราโทษจำคุกเกินสามปีขึ้นไป
ง. ในความผิดคดีอาญาที่มีอัตราโทษจำคุกถึงตลอดชีวิต
ตอบ ข้อ ก. ตำมนัยมำตรำ 244/1 วรรคหนึ่ง ในควำมผิดอำญำที่มีโทษจำคุกหำกมีควำมจำเป็นต้องใช้พยำนหลักฐำนทำงวิทยำศำสตร์เพื่อพิสูจน์ข้อเท็จจริงใดที่เป็นประเด็นสำคัญแห่งคดี ให้ศำลมีอำนำจทำกำรตรวจ
พิสูจน์บุคคล วัตถุหรือเอกสำรใด โดยวิธีกำรทำงวิทยำศำสตร์

75. ในกรณีที่นำพยานวัตถุมาศาลไม่ได้ ข้อใดต่อไปนี้ถูกต้อง
ก. ให้ศาลไปตรวจจดรายงานยังที่ ที่พยานวัตถุนั้นอยู่
ข. ให้พนักงานอัยการไปตรวจจดรายงานยังที่ ที่พยานวัตถุนั้นอยู่
ค. ให้พนักงานสอบสวนไปตรวจจดรายงานยังที่ ที่พยานวัตถุนั้นอยู่
ง. ให้ผู้อ้างไปตรวจจดรายงานยังที่ ที่พยานวัตถุนั้นอยู่
ตอบ ข้อ ก. ตำมนัยมำตรำ 241 วรรคสอง ในกรณีที่นำมำไม่ได้ให้ศำลไปตรวจจดรำยงำนยังที่ ที่พยำนวัตถุนั้นอยู่ตำมเวลำและสถำนที่ซึ่งศำลเห็นสมควรตำมลักษณะแห่งพยำนวัตถุ

76. เอกสารใดซึ่งคู่ความอ้างแต่ไม่ได้อยู่ในความยึดถือของผู้อ้าง ถ้าคู่ความฝ่ายนั้นแจ้งถึงลักษณะและที่อยู่ของเอกสารต่อศาลแล้วศาลต้องดำเนินการอย่างไร
ก. มีคำสั่งถึงบุคคลผู้ยึดถือนำเอกสารนั้นมาส่งศาล
ข. มีหมายเรียกถึงบุคคลผู้ยึดถือนำเอกสารนั้นมาส่งศาล
ค. มีคำสั่งหรือหมายเรียกถึงบุคคลผู้ยึดถือนำเอกสารนั้นมาส่งศาล
ง. ข้อ ค. ถูก
ตอบ ข้อ ข. ตำมนัยมำตรำ 239 เอกสำรใดซึ่งคู่ควำมอ้ำงแต่มิได้อยู่ในควำมยึดถือของเขำ ถ้ำคู่ควำมนั้นแจ้งถึงลักษณะที่อยู่ของเอกสำรต่อศำลให้ศำลออกหมำยเรียกบุคคลผู้ยึดถือนำเอกสำรนั้นมาส่งศาล

77. คดีอาญาในชั้นสอบสวนพนักงานสอบสวนได้ทำการเปิดกล่องบรรจุของกลางต่อหน้าพยานที่เกี่ยวข้องในคดีเพื่อตรวจดูจำนวนของกลางแต่มิได้กระทำต่อหน้าจำเลย เป็นการชอบด้วยกฎหมายหรือไม่
ก. ไม่ชอบด้วยกฎหมายเพราะกระทำลับหลังจำเลย
ข. ไม่ชอบด้วยกฎหมายเพราะไม่กระทำต่อหน้าคู่ความ
ค. ชอบด้วยกฎหมายแล้วแม้กระทำลับหลังจำเลย
ง. ผิดทุกข้อ
ตอบ ข้อ ค. ตำมนัย ฎ. 340 /2496 กำรเปิดทำลำยตรำ (กล่องของกลำง) เพื่อตรวจพิสูจน์พยำนวัตถุของกลำงตลอดจนเวลำถ่ำยใส่ภำชนะนั้น ได้กระทำต่อหน้ำพยำนที่เกี่ยวข้องในคดีด้วย แม้มิได้กระทำต่อหน้ำจำเลย ก็ไม่เป็นกำรขัดกับมำตรำ 242 แห่ง ป.วิ.อ. แต่อย่ำงใด

78. ในคดีอาญาหากพยานวัตถุเกิดขัดแย้งกับพยานบุคคลปกติแล้วศาลจะเชื่อหรือให้น้ำหนักแก่พยานอะไรมากกว่า
ก. ให้น้ำหนักแก่พยานบุคคลมากกว่า ข. ให้น้ำหนักแก่พยานวัตถุมากกว่า
ค. เป็นดุลพินิจของศาลในแต่ละคดี ง. ยังหาข้อสรุปไม่ได้เพราะยังไม่เคยมีปัญหาขึ้นสู่ศาล
ตอบ ข้อ ข. ตำมนัย ฎ. 118/2479 หำกพยำนวัตถุเกิดขัดแย้งกับพยำนบุคคล ปกติศำลต้องถือว่ำพยำนวัตถุมีน้ำหนักมำกกว่ำ

79. ข้อใดต่อไปนี้ไม่ถูกต้อง
ก. พยานผู้เชี่ยวชาญในคดีอาญาต้องมาเบิกความด้วยวาจา
ข. พยานผู้เชี่ยวชาญในคดีแพ่งจะไม่มาเบิกความด้วยวาจาแต่ทำความเห็นเป็นหนังสือส่งมาแทนก็ได้
ค. ในคดีอาญาเมื่อผู้เชี่ยวชาญทำความเห็นเป็นหนังสือแล้วไม่จำเป็นต้องมาเบิกความประกอบ
ง. ความเห็นเป็นหนังสือที่ผู้เชี่ยวชาญทำขึ้นต้องส่งสำเนาให้ศาลและคู่ความฝ่ายหนึ่งทราบ
ตอบ ข้อ ค. มำตรำ 243 กำรสืบพยำนผู้เชี่ยวชำญอำจทำโดยเบิกควำมด้วยวำจำหรืออำจต้องทำควำมเห็นเป็นหนังสือก็ได้แต่ต้องมำเบิกควำมประกอบต่อหนังสือนั้น โดยต้องส่งสำเนำดังกล่ำวแก่คู่ควำมล่วงหน้ำไม่
น้อยกว่ำ 7 วัน ก่อนเบิกควำม

80. การที่ศาลจะตั้งใครเป็นผู้เชี่ยวชาญศาลมีหลักเกณฑ์ในการพิจารณาคือข้อใดต่อไปนี้
ก. ผู้ที่ได้เล่าเรียนมาโดยได้รับปริญญา
ข. ผู้ที่ได้รับรองวิทยฐานะจากองค์การที่เชื่อถือได้
ค. ผู้มีอาชีพตามปกติหรือสนใจปฏิบัติงานนั้นมานาน
ง. ถูกทุกข้อ
ตอบ ข้อ ง. เป็นหลักเกณฑ์ทั่วไป ส่วนข้อ ค. ตอบตำม ฎ. ที่ 685/2478 คือคำเบิกควำมของพยำน
ที่เคยเห็นลำยมือชื่อจำเลยมำ 10 ปี ศำลรับฟังเป็นพยำนผู้เชี่ยวชำญได้

81. ในคดีอาญาจำเลยได้แถลงรับความเห็นเป็นหนังสือของผู้เชี่ยวชาญว่า ได้ตรวจร่างกายของผู้เสียหายแล้ว ดังนี้จำเป็นต้องนำผู้เชี่ยวชาญมาเบิกความประกอบอีกหรือไม่
ก. ผู้เชี่ยวชาญต้องมาเบิกความประกอบด้วย
ข. ผู้เชี่ยวชาญไม่ต้องมาเบิกความประกอบก็รับฟังเป็นพยานได้
ค. ผู้เชี่ยวชาญไม่ต้องมาเบิกความประกอบก็ได้แต่ต้องมอบหมายให้ผู้อื่นมาเบิกความแทน
ง. ข้อ ข. ถูก
ตอบ ข้อ ง. ถูก ตามนัย ฎ. 76/2529 หากจำเลยแถลงรับความเห็นเป็นหนังสือของผู้เชี่ยวชาญแล้วก็รับฟังเป็นพยานได้โดยไม่ต้องนำผู้เชี่ยวชาญมาเบิกความประกอบ

82. ในกรณีที่ศาลมีคำสั่งอนุญาตตามคำร้องของคู่ความที่ขอให้ศาลส่งเอกสารหรืออวัตถุไปให้ผู้เชี่ยวชาญตรวจพิสูจน์ถือได้ว่าศาลมีคำสั่งตั้งผู้เชี่ยวชาญแล้วหรือไม่
ก. ถือได้ว่าศาลมีคำสั่งตั้งเป็นผู้เชี่ยวชาญแล้ว
ข. ยังถือไม่ได้ว่าศาลมีคำสั่งตั้งเป็นผู้เชี่ยวชาญ
ค. ยังไม่สามารถสรุปได้เพราะยังไม่เคยมีปัญหาขึ้นสู่ศาล
ง. ข้อ ก. ถูก
ตอบ ข้อ ง. ตามนัย ฎ. 3849/2534 การที่ศาลอนุญาตตามคำร้องของคู่ความที่ให้ส่งเอกสารหรือวัตถุไปให้ผู้เชี่ยวชาญตรวจพิสูจน์ถือได้ว่าศาลมีคำสั่งตั้งเป็นผู้เชี่ยวชาญแล้ว

83. โจทก์ฟ้องจำเลยว่าข่มขืนกระทำชำเรานางสาว จอย จนเป็นเหตุให้นางสาว จอย ตั้งครรถ์ระหว่างพิจารณาของศาลชั้นต้น เมื่อโจทก์สืบพยานเสร็จแล้ว ปรากฏว่านางสาว จอย คลอดบุตรออกมา จำเลยจึงร้องขอให้ศาลตั้งแพทย์หญิงพรมาทำการตรวจหา DNA ของจำเลยเปรียบเทียบกับทารกที่คลอดออกมา โจทก์แถลงคัดค้านต่อศาลอ้างว่าจำเลยไม่ได้ยื่นบัญชีระบุพยานอ้างแพทย์หญิงพรไว้ แต่ศาลเห็นว่ามีเหตุสมควรจึงสั่งอนุญาต ต่อมาเมื่อ แพทย์หญิงพรทำการตรวจ DNA เสร็จแล้วจึงทำรายงานความเห็นเป็นหนังสือส่งมายังศาลดังนี้ข้อใดถูกต้อง
ก. คำสั่งศาลที่อนุญาตให้ตั้งแพทย์หญิงพรเพื่อทำการตรวจ DNA นั้นไม่ชอบด้วยกฎหมาย
เนื่องจากจำเลย มิได้ระบุอ้างแพทย์หญิงพรไว้ในบัญชีระบุพยาน
ข. ศาลรับฟังรายงานความเห็นเป็นหนังสือของแพทย์หญิงพรไม่ได้
ค. ศาลรับฟังรายงานความเห็นเป็นหนังสือของแพทย์หญิงพรได้
ง. คำสั่งศาลที่อนุญาตให้ตั้งแพทย์หญิงพรเพื่อทำการตรวจ DNA นั้นไม่ชอบด้วยกฎหมายเนื่องจากจำเลยมิได้ร้องขอก่อนวันตรวจพยาน
ตอบ ข้อ ข. ตำมนัยมำตรำ 243 วรรคสอง พยำนผู้เชี่ยวชำญต้องมำเบิกควำมประกอบควำมเห็นเป็นหนังสือด้วยตนเอง จะทำควำมเห็นเป็นหนังสือส่งมำแทนไม่ได้

84. คำว่า “วิลักษณะพยาน” หมายถึงพยานประเภทใด
ก. ประจักษ์พยาน ข. พยานผู้เชี่ยวชาญ
ค. พยานบอกเล่า ง. พยานพฤติเหตุแวดล้อมกรณี
ตอบ ข้อ ข. คำว่ำ “วิลักษณะพยำน” หมำยถึงผู้เชี่ยวชำญหรือผู้ชำนำญกำรพิเศษ

85. ผู้ที่สามารถเบิกความเป็นพยานในฐานะผู้เชี่ยวชาญได้แก่ผู้ใด
ก. ได้แก่ผู้ที่สำเร็จการศึกษาชั้นปริญญาที่ได้ขึ้นทะเบียนเป็นผู้เชี่ยวชาญได้
ข. ได้แก่ผู้ที่มีความชำนาญหรือเชี่ยวชาญในอาชีพตนไม่ได้ขึ้นทะเบียนไว้
ค. ได้แก่บุคคลใดก็ตามที่คู่ความเห็นว่าจะให้การเป็นประโยชน์แก่คดีของตน
ง. ข้อ ก. และ ข. ถูก
ตอบ ข้อ ง. ถูก ผู้ที่เบิกควำมเป็นพยำนในฐำนะผู้เชี่ยวชำญได้คือผู้ที่สำเร็จกำรศึกษำชั้นปริญญำที่ได้ขึ้นทะเบียนไว้แล้วและผู้ที่มีควำมชำนำญหรือเชี่ยวชำญในอำชีพตนไม่ได้ขึ้นทะเบียน

86.ผู้ที่มีความเชี่ยวชาญในปัจจุบันใช้เรียกพยานบุคคลในคดีอะไร
ก. คดีแพ่ง ข. คดีอาญา
ค. คดีแพ่งและคดีอาญา ง. คดีล้มละลาย
ตอบ ข้อ ค. ผู้มีความรู้เชี่ยวชาญใช้เรียกทั้งคดีแพ่งและคดีอาญา

87. ผู้เชี่ยวชาญจะรายงานความเห็นเป็นหนังสืออย่างเดียวก็ได้แต่ต้องเป็นคดีอะไร
ก. คดีแพ่ง ข. คดีอาญา
ค. คดีแพ่งและคดีอาญา ง. คดีล้มละลาย
ตอบ ข้อ ก. ตำมนัย ป.วิ พ. มำตรำ 130 ผู้เชี่ยวชำญที่ศำลตั้งอำจแสดงควำมเห็นเป็นหนังสือหรือเป็นวำจำก็ได้
88. การนำสืบถึงแผ่นป้ายในฐานะที่เป็นพยานหลักฐานว่าจำเลยเป็นผู้ทำแผ่นป้ายนั้นเป็นการสืบในฐานะพยาน
อะไร
ก. พยานเอกสาร ข. พยานวัตถุ
ค. เป็นทั้งพยานเอกสาร และพยานวัตถุ ง.ถูกทุกข้อ
ตอบ ข้อ ข. กำรอ้ำงอิงถึงสิ่งใดๆ ให้ศำลตรวจดูเพื่อประโยชน์แก่คดีของตนไม่ว่ำจะเป็นสังหำริมทรัพย์หรืออสังหำริมทรัพย์เป็นกำรอ้ำงในฐำนะพยำนวัตถุ

89. ข้อใดต่อไปนี้กล่าวถูกต้องที่สุด
ก. ประจักษ์พยานมีน้ำหนักดีกว่าพยานผู้เชี่ยวชาญ
ข. พยานผู้เชี่ยวชาญมีน้ำหนักดีกว่าประจักษ์พยาน
ค. ทั้งประจักษ์พยานและพยานผู้เชี่ยวชาญมีน้ำหนักเท่ากัน
ง. ไม่อาจยืนยันได้
ตอบ ข้อ ก. ตำมนัย ฎ. 402/2532 พยำนผู้เชี่ยวชำญของศำลเบิกควำมว่ำลำยมือชื่อในเอกสำรไม่ตรงกับลำยมือชื่ออันแท้จริงของจำเลย แต่พยำนโจทก์เบิกควำมว่ำได้เห็นจำเลยเซ็นชื่อลงในเอกสำรนั้นจริง เช่นนี้
ประจักษ์พยำนย่อมมีน้ำหนักควรเชื่อถือมำกกว่ำ

90. ความเห็นของผู้เชี่ยวชาญในเรื่องใดต่อไปนี้ศาลจะต้องรับฟัง
ก. ความเห็นทางกฎหมายต่างประเทศ ข. ความเห็นทางกฎหมายไทย
ค. ความเห็นทางศีลธรรม ง. ความเห็นทางหลักภาษาไทย
ตอบ ข้อ ก. ควำมเห็นทำงกฎหมำยไทย ทำงศีลธรรม หลักภำษำไทย ศำลย่อมรับรู้ได้เองไม่ต้องอำศัยผู้เชี่ยวชำญ

91. คดีอาญาเรื่องหนึ่งโจทก์อ้าง ร.ต.อ.เก่ง มาเบิกความที่ศาลในฐานะเป็นพยานผู้เชี่ยวชาญตรวจลายมือ จำเลยคัดค้านว่าจะรับฟังคำพยานผู้เชี่ยวชาญนี้ไม่ได้ เพราะโจทก์มิได้ส่งสำเนาความเห็นของพยานให้แก่ศาลล่วงหน้าไม่น้อยกว่า 7 วัน ก่อนเบิกความข้อคัดค้านของจำเลยฟังขึ้นหรือไม่เพราะเหตุใด
ก. ฟังขึ้นเพราะโจทก์มิได้ปฏิบัติตาม ป.วิ.อ. มาตรา 243 วรรคสาม
ข. ฟังขึ้นเพราะเป็นกรณีที่ศาลสั่งให้ผู้เชี่ยวชาญทำความเห็นเป็นหนังสือ
ค. ฟังไม่ขึ้นเพราะไม่ใช่กรณีศาลที่ศาลสั่งให้ผู้เชี่ยวชาญทำความเห็นเป็นหนังสือ แต่เป็นกรณีที่
โจทก์อ้างมาจึงไม่อยู่ในบังคับต้องส่งสำเนาแก่ศาล
ง. ข้อ ก. และข้อ ข. ผิด ส่วนข้อ ค. ถูก
ตอบ ข้อ ง. ตำมนัย ฎ. 588/2499 , 444/2510

92. ในชั้นไต่สวนมูลฟ้อง พิจารณา หรืออชั้นสอบสวน หากมีความจำเป็นจะต้องตรวจพิสูจน์ศพแม้ว่าศพนั้นจะได้บรรจุหรือฝังไปแล้วก็ให้มีอำนาจสั่งให้เอาศพนั้นให้ผู้เชี่ยวชาญตรวจได้ ข้อใดต่อไปนี้เป็นผู้ไม่มีอำนาจสั่ง
ก. พนักงานฝ่ายปกครองชั้นผู้ใหญ่ ข. ตำรวจชั้นผู้ใหญ่
ค. พนักงานสอบสวน ง. ศาล
ตอบ ข้อ ค. ตำม ป.วิ.อ. มำตรำ 244 ผู้มีอำนำจให้เอำศพให้ผู้เชี่ยวชำญตรวจได้คือศำลหรือพนักงำนฝ่ำยปกครองหรือตำรวจชั้นผู้ใหญ่

93. ในกรณีที่ศพถูกบรรจุหรือฝังแล้วหากมีความจำเป็นจะให้ผู้เชี่ยวชาญตรวจพิสูจน์การเปิดสิ่งที่บรรจุหรือการขุดเพื่อเอาศพนั้นขึ้นมาจะต้องคำนึงถึงเรื่องใดเป็นสำคัญ
ก. คำนึงถึงความสมบูรณ์ของศพ
ข. คำนึงถึงความปลอดภัยของผู้เปิดหรือขุด
ค. คำนึงถึงประเพณีของแต่ละท้องถิ่น
ง. คำนึงถึงหลักทางศาสนาและจะไม่ก่อให้เกิดอันตรายร้ายแรงอย่างอื่น
ตอบ ข้อ ง. ตำม ป.วิ.อ. มำตรำ 244 ตอนท้ำย กำรเปิดสิ่งบรรจุศพหรือกำรขุดเอำศพมำตรวจพิสูจน์ให้คำนึงถึงหลักทำงศำสนำและไม่ก่อให้เกิดอันตรำยร้ำยแรง

94. ถ้าจำเป็นต้องเก็บตัวอย่างเลือด เนื้อเยื่อ ผิวหนัง เส้นผมหรือขน น้ำลาย ปัสสาวะ อุจจาระ สารคัดหลั่ง สารพันธุกรรม หรือส่วนประกอบของร่างกายจากกคู่ความหรือบุคคลใด จะต้องได้รับความยินยอมจากบุคคลนั้นหรือไม่
ก. ไม่จำเป็นต้องได้รับความยินยอมเพราะกฎหมายให้อำนาจ
ข. ไม่จำเป็นต้องได้รับความยินยอมเพราะเป็นอำนาจของศาล
ค. ไม่จำเป็นต้องได้รับความยินยอมเพราะเป็นอำนาจของแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ
ง. จำเป็นต้องได้รับความยินยอมจากบุคคลนั้น
ตอบ ข้อ ง. ตำมมำตรำ 244 วรรคสอง กำรเก็บตัวอย่ำงเลือด ฯลฯ หรือส่วนประกอบของร่ำงกำยจำกคู่ควำมหรือบุคคลใดจะต้องได้รับควำมยินยอมจำกบุคคลเหล่ำนั้น

95. ในคดีอาญาโจทก์จำเลยตกลงกันให้ถือเอาผลการตรวจลายมือชื่อของจำเลยที่ 2 ในคดีอื่นมาเป็นผลการตรวจลายมือชื่อของจำเลยที่ 2 ในคดีนี้ และได้แถลงรับกันว่าผลการตรวจลายมือชื่อในคดีดังกล่าวไม่ใช่ลายมือชื่อของจำเลยที่ 2 ดังนี้ศาลจะมีอำนาจรับฟังข้อเท็จจริงดังกล่าวประกอบหลักฐานอื่นมายกฟ้องโจทก์ได้หรือไม่
ก. ไม่มีอำนาจรับฟังเพราะถือเป็นคำท้า
ข. ไม่มีอำนาจรับฟังเพราะเป็นข้อเท็จจริงนอกสำนวน
ค. มีอำนาจรับฟังประกอบหลักฐานอื่นยกฟ้องโจทก์ก็ได้
ง. ผิดทุกข้อ
ตอบ ข้อ ค. ตำมนัย ฎ. 1043/2533 ข้อเท็จจริงตำมโจทก์นั้นศำลมีอำนำจรับฟังประกอบหลักฐำนอื่นในสำนวนพิพำกษำยกฟ้องโจทก์ได้

96. พนักงานสอบสวนไม่ได้ทำแผนที่เกิดเหตุประกอบสำนวนการสอบสวน จะทำให้การสอบสวนนั้นชอบด้วยกฎหมายหรือไม่ และแผนที่เกิดเหตุเป็นพยานชนิดใด
ก. การสอบสวนไม่ชอบ แผนที่เกิดเหตุเป็นพยานเอกสาร
ข. การสอบสวนชอบ แผนที่เกิดเหตุเป็นพยานวัตถุ
ค. การสอบสวนไม่ชอบ แผนที่เกิดเหตุเป็นพยานวัตถุ
ง. การสอบสวนชอบ แผนที่เกิดเหตุเป็นพยานเอกสาร
ตอบ ข้อ ง. ตอบตำมนัย ฎ. 270 /2542 แม้พนักงำนสอบสวนไม่ได้ทำแผนที่เกิดเหตุรวมไว้ในสำนวนกำรสอบสวน ก็ไม่ทำให้กำรสอบสวนนั้นเสียไป (มีพยำนอื่น)

97. ข้อใดต่อไปนี้ไม่ใช่เอกสารมหาชน
ก. สำนวนการสอบสวนของพนักงานสอบสวน
ข. บัญชีบันทึกคำร้องทุกข์ของประชาชนเก็บที่อำเภอ
ค. สำเนาทะเบียนบ้าน
ง. ทะเบียนสมรส
ตอบ ข้อ ก. สำนวนกำรสอบสวนของพนักงำนสอบสวนถือเป็นเอกสำรเอกชน ส่วนบันทึกคำร้องทุกข์ของประชำชน สำเนำทะเบียนบ้ำน และทะเบียนสมรส เป็นเอกสำรมหำชน ตำมนัย ฎ. 1647/2509 ,
225/2518 , 608/2521

98. คำพิพากษาหรือคำพยานในคดีเรื่องก่อนจะนำมาอ้างเป็นพยานในกรณีใดบ้าง
ก. นำมาอ้างว่าคำพิพากษานั้นมีอยู่
ข. นำมาอ้างแสดงผลของคำพิพากษานั้น
ค. นำมาอ้างแสดงข้อเท็จจริงที่ปรากฏในคำพิพากษานั้น
ง. ถูกทุกข้อ
ตอบ ข้อ ง. เป็นกำรนำมำอ้ำงเพื่อเป็นข้อตัดฟ้องว่ำเป็นกำรฟ้องซ้ำและถ้ำเป็นคดีแพ่งเกี่ยวเนื่องคดีอำญำก็สำมำรถนำข้อเท็จจริงที่ได้ควำมทำงอำญำมำใช้ในทำงแพ่ง ตำม ป.วิ.อ.มาตรา 46

99. การแบ่งพยานหลักฐานออกเป็นประเภทตามเหตุที่เกี่ยวข้องกับข้อเท็จจริงในคดีต่อไปนี้ข้อใดถูก
ก. พยานโดยตรง
ข. พยานเหตุผลหรือพยานพฤติเหตุแวดล้อมกรณี
ค. ประจักษ์พยานและพยานบอกเล่า
ง. ข้อ ก. และ ข้อ ข. ถูก
ตอบ ข้อ ง. กำรแบ่งพยำนหลักฐำนออกเป็นประเภทตำมเหตุที่เกี่ยวข้องกับข้อเท็จจริงในคดีได้แก่พยำนโดยตรงและพยำนเหตุผลหรือพยำนพฤติเหตุแวดล้อมกรณี

100. หากแบ่งพยานหลักฐานออกเป็นชนิดโดยอาศัยความรู้เห็นของพยาน ข้อใดกล่าวถูกต้องที่สุด
ก. พยานรู้เห็นเองหรือประจักษ์พยาน
ข. พยานบอกเล่า
ค. พยานโดยตรง
ง. ข้อ ก. และข้อ ข. ถูก
ตอบ ง. กำรแบ่งพยำนหลักฐำนออกเป็นชนิดโดยอำศัยควำมรู้เห็นของพยำน คือ พยำนรู้เห็นเองหรือที่เรียกกันว่ำประจักษ์พยำน และพยำนบอกเล่ำ

101. ข้อใดไม่ใช่เหตุที่จะสืบพยานไว้ก่อนตาม ป.วิอาญามาตรา 237 ทวิ
ก. พยานบุคคลอาจเดินทางไปต่างประเทศ
ข. พยานบุคคลมีถิ่นที่อยู่ห่างไกลจากศาลที่พิจารณาคดี
ค. พยานบุคคลไม่มีที่อยู่เป็นหลักแหล่ง
ง. มีเหตุอันควรเชื่อว่าจะมีการไปยุ่งเหยิงกับพยานบุคคลนั้น
ตอบ. ข้อ ก ป.วิ.อำญำมำตรำ 237 วรรคแรก ระบุว่ำ “พยำน จะเดินทำงไปต่ำงประเทศไม่ใช่ อาจ เดินทำงไปต่ำงประเทศ

102. พ.ต.ท.ก.พนักงานสอบสวนได้ทำการสอบสวนพยานในความผิดฐานร่วมกันฉ้อโกงโดยไม่ได้ทำการสอบสวนพยานต่อหน้านายข. ผู้ต้องหา เมื่อรวบรวมพยานหลักฐานเสร็จแล้ว มีความเห็นสั่งฟ้อง นาย ข. ได้ต่อสู้ว่าการสอบสวนไม่ชอบด้วยกฎหมายเนื่องจากไม่ได้ทำการสอบสวนพยานต่อหน้าผู้ต้องหา และผู้ต้องหาไม่มีโอกาส
คัดค้านพยาน การสอบสวนของ พ.ต.ท. ก. ชอบด้วยกฎหมายหรือไม่
ก. ไม่ชอบด้วยกฎหมาย เนื่องจากผู้ต้องหาไม่มีโอกาสคัดค้านพยาน
ข. ไม่ชอบด้วยกฎหมายเนื่องจากผู้ต้องหาไม่ได้ตั้งทนายเข้าฟังการสอบสวนซึ่งอาจคัดค้านพยานได้
ค. ชอบด้วยกฎหมาย
ง. เป็นดุลยพินิจในการชั่งพยานของศาล
ตอบข้อ ค. ม.130 กำรสอบสวนนั้นจะทำกำรที่ใด เวลำใด แล้วแต่จะเห็นสมควรโดยผู้ต้องหำไม่จำต้องอยู่ด้วย

103. พนักงานสอบสวนได้ทำการสอบสวนผู้ต้องหา ซึ่งผู้ต้องหาได้อ้างพยานเพื่อประกอบการปฏิเสธของผู้ต้องหา
ซึ่งคดีนี้ พนักงานสอบสวนเห็นว่าพยานหลักฐานฝ่ายผู้กล่าวหามีน้ำหนักมากน่าเชื่อถือกว่าจะไม่ทำการ
สอบสวนพยานของผู้ต้องหาได้หรือไม่
ก.ได้เนื่องจากพยานหลักฐานของฝ่ายผู้กล่าวหามีน้ำหนักมากน่าเชื่อถือ
ข. ได้เพราะไม่มีกฎหมายบัญญัติไว้
ค.ได้เป็นดุลยพินิจของพนักงานสอบสวน
ง. ไม่ได้ต้องทำการสอบสวนพยานของผู้ต้องหา
ตอบ ข้อ ง.พนักงำนสอบสวนต้องรวบรวมพยำนหลักฐำนทุกชนิดเพื่อที่จะรู้ตัวผู้กระทำควำมผิดและพิสูจน์ให้เห็นควำมผิดหรือควำมบริสุทธิ์ของผู้ต้องหำ ม.131

104 .นาย ก. อายุ 17 ปี ได้กระทำความผิดฐานฆ่าผู้อื่นตายโดยเจตนา ซึ่งมีอัตราโทษประหารชีวิต แล้วได้หลบหนี
ไป ต่อมาอีก 2 ปี นาย ก. ถูกจับกุมตัวได้ ซึ่งนาย ก.ให้การรับสารภาพเนื่องจากจำนนต่อหลักฐานและไม่
ต้องการทนายความในการสอบสวนปากคำ พนักงานสอบสวนต้องจัดให้มีทนายความหรือไม่อย่างไร
ก. ไม่ต้องจัดให้มีทนายความเนื่องจากผู้ต้องหาไม่ได้ต้องการ
ข. ไม่ต้องจัดให้มีทนายความเนื่องจากผู้ต้องหารับสารภาพและจำนนต่อหลักฐาน
ค. จะจัดให้มีหรือไม่ก็ได้เพราะผู้ต้องหาอายุเกิน 18 ปี แล้ว
ง. ต้องจัดให้มีทนายความร่วมฟังการสอบสวนปากคำ
ตอบ ข้อ ง. ตำม ม.134/1

105. นาย ก. อายุ 17 ปี กระทำความผิดฐานลักทรัพย์ ต่อมาอีก 2 ปี นาย ก.ถูกจับกุมตัวได้ และพนักงานสอบสวน
ได้ทำการสอบสวนปากคำ ซึ่งนายก.ไม่ต้องการทนายความ พนักงานสอบสวนต้องจัดหาทนายความให้หรือไม่
เพราะเหตุใด
ก.ไม่ต้องจัดให้มีทนายความเพราะผู้ต้องหาไม่ต้องการทนายความและมีอายุเกิน 18 ปี แล้ว
ข.จะจัดหรือไม่จัดให้มีทนายความก็ได้
ค.ต้องจัดให้มีเพราะผู้ต้องหากระทำความผิดขณะอายุไม่เกิน 18 ปี
ง.ต้องจัดให้มีเพราะเป็นคดีที่มีโทษจำคุก
ตอบ ข้อ ก. ตาม ม.134/1

106. พ.ต.ท.ก.พนักงานสอบสวนได้ทำการสอบสวนผู้ต้องหาในความผิดลหุโทษ และผู้ต้องหาไม่มีทนายความและได้ร้องขอให้ พ.ต.ท. ก.พนักงานสอบสวนจัดหาทนายความให้ พ.ต.ท. ก. เห็นว่าเป็นความผิดเล็กน้อยจึงไม่ได้จัดทนายความให้ การสอบสวนชอบหรือไม่
ก.การสอบสวนไม่ชอบ เพราะต้องจัดหาทนายความให้
ข.การสอบสวนชอบแต่จะรับฟังคำให้การผู้ต้องหาเป็นพยานหลักฐานในการพิสูจน์ความผิดผู้ต้องหาไม่ได้
ค. การสอบสวนชอบรับฟังคำให้การผู้ต้องหาได้เนื่องจากเป็นความผิดเล็กน้อย
ง.การสอบสวนไม่ชอบด้วยกฎหมายจนอัยการไม่สามารถฟ้องผู้ต้องหาได้
ตอบ ข้อ ข. ม.134/4 วรรค 3

107. พ.ต.ท.ดำ พนักงานสอบสวนได้ทำการสอบสวนปากคำนายแดง ผู้ต้องหาคดีทำร้ายร่างกาย และไม่ได้ถามเรื่อง
ทนายความหรือผู้ไว้วางใจก่อนถามคำให้การ คำให้การของนายแดง สามารถฟังเป็นพยานหลักฐานพิสูจน์
ความผิดของนายแดง ได้หรือไม่
ก.รับฟังเป็นพยานหลักฐานไม่ได้
ข.รับฟังเป็นพยานหลักฐานได้
ค.การรับฟังพยานหลักฐานได้หรือไม่เป็นดุลยพินิจของศาล
ง. รับฟังได้เนื่องจากนายแดง ไม่ได้ร้องขอก่อนทำการสอบสวน
ตอบข้อ ก. ม.134/4 วรรค 3

108. พ.ต.ท.ขาว พนักงานสอบสวนได้ทำการสอบสวนนายเขียวผู้ต้องหา คดีลักทรัพย์ ซึ่งเจ้าหน้าที่ตำรวจที่จับกุม
ได้แจ้งสิทธิให้ผู้ต้องหาตาม ม.7/1 แล้ว โดยไม่ได้แจ้งสิทธิให้ผู้ต้องหาทราบว่าผู้ต้องหามีสิทธิที่จะให้การหรือ
ไม่ได้ ถ้าผู้ต้องหาให้การถ้อยคำที่ผู้ต้องหาให้การนั้นสามารถใช้เป็นพยานหลักฐานในการพิจารณาคดีได้ จะมี
ผลต่อการสอบสวนอย่างไร
ก.การสอบสวนไม่ชอบด้วยกฎหมาย
ข.การสอบสวนชอบเพราะผู้จับกุมได้แจ้งสิทธิให้ผู้ต้องหาทราบแล้ว
ค.การสอบสวนชอบแต่จะใช้คำให้การของผู้ต้องหาเป็นพยานหลักฐานพิสูจน์ความผิดของผู้ต้องหาไม่ได้
ง. การสอบสวนไม่ชอบและพนักงานอัยการไม่สามารถฟ้องคดีได้
ตอบ ข้อ ค. ม.134/4 วรรค

109. ร.ต.อ.แดง พนักงานสอบสวนได้ทำการสอบสวนปากคำนายดำ เป็นผู้ต้องหา ในความผิดฐานทำร้ายร่างกาย
และได้แจ้งให้ ทราบว่าถ้อยคำที่ผู้ต้องหาให้การนั้นอาจใช้เป็นพยานหลักฐานในการพิจารณาคดีได้ และต่อ
มาได้แจ้งข้อหาเพิ่มเติมอีก 2 ครั้งแต่ไม่ได้แจ้งให้ผู้ต้องหาทราบว่าคำให้การเพิ่มเติมอาจใช้เป็น
พยานหลักฐาน ในการพิจารณาคดีได้มีผลต่อสำนวนการสอสวนอย่างไร
ก.ทำให้สำนวนการสอบสวนเสียไปทั้งสำนวน
ข.คำให้การของผู้ต้องหาทั้งหมดฟังเป็นพยานหลักฐานไม่ได้
ค.คำให้การของผู้ต้องหาฟังเป็นพยานหลักฐานยันผู้ต้องหาได้เฉพาะครั้งแรก
ง.คำให้การของผู้ต้องหาฟังได้ทั้งหมด
ตอบ ข้อ ค.ฎีกำ 7568/2546

110. พ.ต.ต.เขียว พนักงานสอบสวน ได้ทำการสอบสวนนาย แดง เป็นพยานในคดีความฐานลักทรัพย์ ซึ่งนายแดง
ให้การว่าเป็นคนไปลักเอาทรัพย์ของนายขาวมาจริง ต่อ พ.ต.ต.เขียว ได้สอบสวนนายแดง เป็นผู้ต้องหาในคดี
ดังกล่าวนายแดง ให้การปฏิเสธ คำให้การของนายแดง ที่ให้การไว้เป็นพยานจะใช้ยันนายแดงได้หรือไม่
ก.ไม่ได้เพราะไม่ได้แจ้งให้ทราบว่าคำให้การนั้นอาจใช้เป็นพยานหลักฐานในการพิจารณาคดีได้
ข.ได้เพราะเป็นการปรักปรำตัวเอง
ค.ได้แต่ต้องฟังประกอบพยานหลักฐานอื่น
ง. ได้หากนายแดงให้การน่าเชื่อถือ
ตอบ ข้อ ก.ฎีกำ 1581/2531

111 ร.ต.ท.เอ พนักงานสอบสวนได้ทำการสอบสวน นายบี อายุ 17 ปี ซึ่งเป็นผู้เสียหายในความผิดฐานทำร้ายร่าง
กายโดยไม่ถึงกับเป็นเหตุให้เกิดอันตรายแก่กายหรือจิตใจ อันเป็นความผิดลหุโทษ โดยไม่มีนักจิตวิทยาหรือ
นักสังคมสงเคราะห์ บุคคลที่เด็กร้องขอ และพนักงานอัยการ ร่วมในการถามปากคำ นายบี และนายบี ไม่ได้
ร้องขอบุคคลดังกล่าว มีผลต่อสำนวนการสอบสวนอย่างไร
ก.สำนวนการสอบสวนเสียไปทั้งสำนวน ถือว่าไม่ได้มีการสอบสวนในความผิดนั้น
ข.สำนวนการสอบสวนไม่เสียไป แต่ไม่อาจรับฟังคำให้การของนายบี เป็นพยานหลักฐานได้
ค.สำนวนการสอบสวนไม่เสียไปเนื่องจากเป็นความผิดลหุโทษและผู้เสียหายไม่ได้ร้องขอ
ง.สำนวนการสอบสวนไม่เสียไปเนื่องจากไม่มีกฎหมายกำหนดไว้ในความผิดเล็กน้อย
ตอบ ข้อ ข.ฎีกำ5294/2549

112. ฐานความผิดใดต่อไปนี้ หากผู้เสียหายหรือพยานซึ่งมีอายุไม่เกิน 18 ปี ไม่ได้ร้องขอให้ทำการสอบสวนต่อหน้า
นักจิตวิทยาหรือนักสังคมสงเคราะห์ บุคคลที่เด็กร้องขอ และพนักงานอัยการ พนักงานสอบสวนสามารถ
สอบสวนปากคำได้
ก. ความผิดเกี่ยวกับชีวิต,ความผิดเกี่ยวกับเพศ
ข.ความผิดฐานกรรโชก,ความผิดเกี่ยวกับเสรีภาพ
ค.ความผิดฐานลักทรัพย์,วิ่งราวทรัพย์
ง.ความผิดฐานชิงทรัพย์,ปล้นทรัพย์
ตอบ ข้อ ค. ม.133 ทวิ
คำถามข้อ 112-114 ร.ต.อ.แดง พนักงานสอบสวน ได้ทำการสอบสวนปากคำนางสาวดำผู้เสียหาย และนายขาวพยานซึ่งเป็นมีอายุ 16 และ17 ปี ตามลำดับ ในความผิดฐานข่มขืนกระทำชำเรา ซึ่งคดีดังกล่าว ร.ต.อ.แดง ไม่ได้จัดให้มีการชี้ตัวนายทอง อายุ 17 ปี ผู้ต้องหา เนื่องจากจะครบกำหนดฝากขังครั้งที่ 7 และ ร.ต.อ.แดง เพียงแต่นำตัวนายทอง ไปชี้ที่เกิดเหตุ โดยไม่ได้มีสหวิชาชีพร่วมด้วย และไม่ได้มีการบันทึกภาพและเสียงไว้เป็นหลักฐานเมื่อคดีขึ้นสู่การพิจารณาของศาล นายทอง ผู้ต้องหา ต่อสู้ว่าการสอบสวนไม่ชอบเนื่องจากไม่ได้จัดให้มีการชี้ตัวผู้ต้องหาตามกฎหมาย การนำชี้ที่เกิเหตุไม่มีสหวิชาชีพร่วม และไม่ได้มีการบันทึกภาพและเสียงไว้เป็นหลักฐาน

113. ข้อต่อสู้ของนายทอง ที่อ้างว่าไม่ได้จัดให้การชี้ตัวตามกฎหมายฟังขึ้นหรือไม่
ก. ฟังขึ้น เพราะผู้เสียหาย,พยานซึ่งอายุไม่ครบ 18 ปี ต้องจัดให้มีการชี้ตัวผู้ต้องหาตาม ป.วิ.อ ม.133 ตรี
ข. ฟังขึ้นคดีดังกล่าวเป็นคดีสำคัญ ต้องจัดให้มีการชี้ตัวผู้ต้องหาตามระเบียบเกี่ยวกับคดี
ค. ฟังไม่ขึ้น เนื่องจากไม่ใช่บทบัญญัติที่บังคับให้พนักงานสอบสวนต้องจัดให้มีการชี้ตัว
ง. เป็นดุลยพินิจของศาลที่จะตัดสินคดี
ตอบ ข้อ ค ฎีกำ 2834/2550

114. ข้อต่อสู้ของนายทองที่อ้างว่าการสอบสวนไม่ชอบเนื่องจากการนำชี้ที่เกิดเหตุไม่ชอบเนื่องจากไม่มีสหวิชาชีพ
ฟังขึ้นหรือไม่
ก. ฟังขึ้น เพราะการนำชี้ที่เกิดเหตุเป็นการรวบรวมพยานหลักฐานและคดีดังกล่าวผู้เสียหาย,พยาน
อายุไม่ครบ 18 ปี ดำเนินการตาม ม.133 ทวิ
ข. ฟังขึ้นคดีดังกล่าวเป็นคดีสำคัญ การนำชี้ที่เกิดเหตุมีสหวิชาชีพครบเช่นเดียวกับการสอบสวน
ค. ฟังไม่ขึ้น เนื่องจากนำชี้ที่เกิดเหตุเป็นการรวบรวมพยานหลักฐานอย่างอื่นไม่ใช่การสอบสวนปากคำ
ผู้ต้องหา
ง. เป็นดุลยพินิจของศาลที่จะตัดสินคดี
ตอบ ข้อ ค ฎีกำ 647/2549

115. ข้อต่อสู้ของนายทองที่อ้างว่าการสอบสวนไม่ชอบเนื่องจากการนำชี้ที่เกิดเหตุไม่มีการบันทึกภาพและเสียงนั้นฟังขึ้นหรือไม่
ก. ฟังขึ้น เพราะการนำชี้ที่เกิดเหตุเป็นการรวบรวมพยานหลักฐานและคดีดังกล่าวผู้เสียหาย,พยาน
อายุไม่ครบ 18 ปี ดำเนินการตาม ม.133 ทวิ และบันทึกภาพและเสียงไว้ด้วย
ข. ฟังขึ้นคดีดังกล่าวเป็นคดีสำคัญ การนำชี้ที่เกิดเหตุต้องมีการบันทึกภาพและเสียงเช่นเดียวกับการสอบสวน
ค. ฟังไม่ขึ้น เนื่องจากนำชี้ที่เกิดเหตุเป็นการรวบรวมพยานหลักฐานอย่างอื่นไม่ใช่การสอบสวนปากคำ
ผู้ต้องหา ไม่ต้องบันทึกภาพและเสียง
ง. เป็นดุลยพินิจของศาลที่จะตัดสินคดี
ตอบ ข้อ ค ฎีกำ 647/2549

116. ในการชี้ตัวผู้ต้องหาที่ผู้เสียหายหรือพยานเป็นเด็กอายุไม่เกิน 18 ปี ข้อใดไม่ถูกต้อง
ก. มีสหวิชาชีพร่วมทำการชี้ตัว
ข. จัดในสถานที่ที่ป้องกันไม่ให้บุคคลซึ่งจะถูกชี้ตัวนั้น ไม่เห็นเด็ก
ค. หากผู้เสียหายหรือพยานต้องการเผชิญหน้าตัวบุคคลที่จะถูกชี้ตัวก็สามารถทำได้
ง. หากมีความจำเป็นไม่อาจรอบุคคลหนึ่งคนใด(สหวิชาชีพ)และเด็กไม่ประสงค์จะมีหรือรอก็ดำเนินการ
ชี้ตัวได้ แต่พนักงานสอบสวนต้องบันทึกเหตุไว้
ตอบ ค. ม.133 ตรี
คำถามข้อ116-118 นายดำ ผู้ต้องหา ถูกจับกุมในข้อหามียาบ้า ร.ต.อ.แดง เจ้าหน้าที่ตำรวจผู้จับกุมได้เกลี้ยกล่อมนายดำ ว่าหากมียาบ้าเหลืออยู่ให้เอาออกมาเสียโทษจะได้เบาลง นายดำ จึงพาไปเอายาบ้าที่ซุกซ่อนไว้ ขณะที่ถูก ควบคุมอยู่ที่สถานีตำรวจญาติพี่น้องมาเยี่ยมและนายดำ ได้เล่าเหตุการณ์ให้ญาติพี่น้องฟัง ญาติพี่น้องบอก ให้นายดำ รับสารภาพ ต่อมาเมื่อพนักงานอัยการยื่นฟ้องต่อศาลแล้ว นายดำ ให้การปฏิเสธและต่อสู้ 2 ประเด็นคือถูกเจ้าหน้าที่ตำรวจพูดจูงใจ และเกิดจาการพูดจูงใจของญาติ เป็นคำให้การที่ต้องห้ามไม่ให้ รับฟัง

117. ข้อต่อสู้ที่ว่าถูกเจ้าหน้าที่ตำรวจพูดจูงใจฟังขึ้นหรือไม่
ก.ฟังขึ้น เนื่องจากเป็นการพูดจูงใจผู้ต้องหาให้พาไปเอายาบ้าที่เหลือ
ข.ฟังไม่ขึ้น เพราะการพูดดังกล่าวนั้นไม่ใช่พนักงานสอบสวน และการพูดดังกล่าวไม่ถึงขั้นให้
สัญญา ตาม ม.135
ค. ฟังขึ้น เพราะเป็นการแสวงหาพยานหลักฐานที่ไม่ชอบ จึงถือว่าสิ่งของที่ได้มาไม่ชอบ
ง. เป็นดุลยพินิจของศาลในการรับฟัง
ตอบ ข้อ ข. ฎีกำ 1542/2540

118. ประเด็นที่ว่าเกิดจาการพูดจูงใจของญาติ เป็นคำให้การที่ต้องห้ามรับฟังไม่ได้ ฟังขึ้นหรือไม่
ก.ฟังไม่ขึ้น ถือว่าผู้ต้องหาให้การรับสารภาพด้วยความสมัครใจเองมิได้เกิดจากการจูงใจ
ข.ฟังขึ้น ถือว่าเกิดจากการจูงใจแม้จะเกิดจากญาติพี่น้องก็ตาม
ค.ฟังขึ้น ถือว่ามิได้เป็นคำให้การที่เกิดจากความสมัครใจโดยแท้จริง
ง. เป็นดุลยพินิจของศาลในการรับฟัง
ตอบ ข้อ ก. ฎีกำ 2215/2548

119. การที่พนักงานสอบสวนพูดจูงใจหรือให้คำมั่นสัญญา อันเป็นการฝ่าฝืน ม.135 นั้นมีผลต่อสำนวนการ
สอบสวนอย่างไร
ก.สำนวนการสอบสวนเสียไปทั้งสำนวน ถือว่าการสอบสวนไม่ชอบ
ข.สำนวนการสอบสวนไม่เสียไป หากถ้อยคำที่ผู้ต้องหาให้การไว้ไม่อาจใช้ยันผู้ต้องหาได้
ค.สำนวนการสอบสวนไม่เสีย แต่พยานหลักฐานเกี่ยวกับผู้ต้องหาใช้ไม่ได้
ง. สำนวนการสอบสวนเสียไปหากการจูงใจหรือให้คำมั่นสัญญาเป็นเรื่องสำคัญ
ตอบ ข้อ ข. 4020/2540

120. พ.ต.ท.แดง พนักงานสอบสวน ได้ทำการสอบสวน น.ส.ขาว อายุ 17 ปี ซึ่งเป็นผู้เสียหายในความผิดฐานข่มขืน
กระทำชำเรา ซึ่งมีนักจิตวิทยา พนักงานอัยการ ร่วมสอบถามปากคำโดยมีมารดา น.ส.ขาว ซึ่งเป็นผู้ไว้วางใจ
ร่วมอยู่ด้วย ซึ่ง น.ส.ขาว ยินยอมให้ พ.ต.ท.แดงฯ ทำการสอบสวนปากคำเนื่องจากไม่มีพนักงานสอบสวนหญิง
การสอบสวนของ พ.ต.ท.แดง ถูกต้องหรือไม่
ก. ถูกต้องแล้วเพราะมีสหวิชาชีพร่วมทำการสอบสวน
ข. ไม่ถูกต้อง แม้จะมีสหวิชาชีพร่วมสอบสวนแต่จะต้องบันทึกความยินยอมหรือเหตุจำเป็นนั้นไว้
ค. ไม่ถูกต้อง เนื่องจากการสอบสวนผู้เสียหายความผิดเกี่ยวกับเพศ ต้องให้พนักงานสอบสวนหญิง
เท่านั้นเป็นพนักงานสอบสวน
ง. ถูกต้องแล้ว เนื่องจากไม่มีพนักงานสอบสวนหญิง
ตอบ ข้อ ข. ม.133 วรรค 4

121. ร.ต.อ.ดำ พนักงานสอบสวนได้ออกหมายเรียกนายขาว ให้นำเอกสารที่นายขาวได้เก็บไว้ และเอกสารดังกล่าว
อาจใช้เป็นพยานหลักฐานในคดีเกี่ยวกับการปลอมแปลงเอกสารได้ แต่นายขาวไม่ได้มาตามหมายเรียก แต่ได้
ส่ง เอกสารดังกล่าวมาตามหมายแล้ว การกระทำของนายขาวชอบด้วยกฎหมายหรือไม่
ก. ชอบด้วยกฎหมายแล้ว เพราะได้ส่งเอกสารมาให้ตามหมายเรียกแล้ว
ข. ไม่ชอบด้วยกฎหมาย เพราะในหมายเรียกกำหนดให้นายขาวนำมาส่งถือว่าขัดหมายเรียก
ค. การส่งเอกสารชอบแล้ว แต่ถือว่านายขาวขัดหมายเรียกที่ไม่นำมาส่งเอง
ง. ไม่ชอบด้วยกฎหมาย นายขาวต้องนำเอกสารมาส่งเองและทำบันทึกมอบให้ด้วย
ตอบ ข้อ ก. ม.132(3)

122. ร.ต.อ.ทอง ได้ทำการสอบสวนปากคำ เด็กชายดำเป็นพยาน อายุ 14 ปี โดยไม่ได้ให้เด็กชายดำสาบานหรือ
ปฏิญาณตัวเสียก่อน การสอบสวนเด็กชายดำ ชอบหรือไม่
ก. การสอบสวนชอบแล้ว เพราะเด็กชายดำอายุต่ำกว่า 15 ปี ไม่ต้องสาบานตน
ข. การสอบสวนไม่ชอบเพราะจะต้องให้เด็กชายดำสาบานตัวก่อน
ค. การสอบสวนชอบแล้ว เพราะไม่มีกฎหมายกำหนดไว้
ง. การสอบสวนไม่ชอบ เพราะกฎหมายกำหนดให้ทุกคนต้องสาบานตัวก่อน
ตอบ ข้อ ก. ม.133 วรรค 2

123. ร.ต.อ.ดาว พนักงานสอบสวนต้องการเก็บตัวอย่างเลือดของนายขาว ผู้ต้องหาในคดีข่มขืนกระทำชำเราซึ่งมี
อัตราโทษจำคุกอย่างสูงเกินสามปี เพื่อไปทำการตรวจพิสูจน์ทางวิทยาศาสตร์ เปรียบเทียบกับเลือดที่พบใน
สถานที่เกิดเหตุ แต่นายขาวไม่ยินยอมให้เก็บตัวอย่างเลือดไปตรวจพิสูจน์ เนื่องจากรู้ดีว่าหากตรวจพิสูจน์
แล้วผลการตรวจจะต้องตรงกัน ร.ต.อ.ดาว จะเก็บตัวอย่างเลือดของนายขาวได้หรือไม่
ก. หากนายขาวไม่ยินยอมก็ไม่สามารถเก็บตัวอย่างเลือดได้
ข. เก็บได้เพราะการตรวจทางวิทยาศาสตร์นั้นน่าเชื่อถือมาก แม้นายขาวไม่ยินยอมก็ต้องหาทางเก็บตัวอย่างเลือดให้ได้
ค. เก็บได้แม้ไม่ยินยอมก็ต้องบังคับเก็บตัวอย่างเลือด
ง. เก็บได้แต่ต้องทำต่อหน้าพยานที่น่าเชื่อถือ
ตอบ ข้อ ก. ม.131/1

124. ตามข้อ ๒๒. ในกรณีดังกล่าวหากไม่สามารถเก็บตัวอย่างเลือดเพื่อตรวจพิสูจน์ได้ให้สันนิษฐานว่า
อย่างไร
ก. ให้สันนิษฐานเบื้องต้นว่าข้อเท็จจริงเป็นไปตามผลการตรวจพิสูจน์ที่หากได้ตรวจพิสูจน์แล้ว จะเป็น
เป็นผลเสียแก่นายขาวผู้ต้องหา
ข. ไม่สามารถสันนิษฐานได้ เพราะไม่ได้ตรวจ
ค. สันนิษฐานให้เป็นคุณแก่นายขาวผู้ต้องหา
ง. ไม่สามารถสันนิษฐานได้ แต่จะต้องใช้พยานหลักฐานอย่างอื่นเท่านั้น
ตอบ ข้อ ก. ม.131/1

125. พ.ต.อ. เก่ง ได้สั่งให้ ร.ต.ต.กาจ สอบสวนดำเนินคดี กับนายกล้า ในความผิดข้อหามียาบ้าในครอบครองฯ
และนายกล้าถูกจำคุกอยู่ในเรือนจำในคดีอื่น เนื่องจาก ร.ต.ต.กาจ เป็นพนักงานสอบสวนใหม่ และมีคดีค้าง
มากจึงไม่ได้ทำการสอบสวนทันที และได้ทำการสอบสวนจนเวลาล่วงเลยไป 1 ปี 3 เดือน เมื่อสอบสวน
เสร็จแล้วมีความเห็นสั่งฟ้อง และคดีเข้าสู่การพิจารณาของศาล นายกล้า ได้ต่อสู้ว่าการสอบสวนไม่ชอบ
เนื่องจากไม่ได้ทำการสอบสวนด้วยความเร็วรวด ต่อเนื่อง และเป็นธรรม ตาม ป.วิ.อ มาตรา 134 วรรค 3 ข้อ
ต่อสู้ของนายกล้าฟังขึ้นหรือไม่
ก. ฟังขึ้น เพราะไม่ได้สอบสวนด้วยความรวดเร็ว
ข. ฟังขึ้นเพราะสอบสวนล่าช้าเป็นเหตุให้นายกล้าไม่สามารถนำพยานมาแก้ข้อกล่าวหาได้
ค. ฟังไม่ขึ้น เพราะไม่มีกฎหมายบัญญัติไว้ว่าการสอบสวนนั้นเป็นการสอบสวนไม่ชอบ
ง. ฟังขึ้น เพราะขัดต่อคำสั่งตร.ที่ 960/537
ตอบ ข้อ ค. ฎีกำ 430/2546

126. ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญาว่าด้วยลักษณะพยานนั้น ได้บัญญัติห้ามมิให้โจทก์อ้างผู้ใดเป็นพยาน?
ก. ตนเอง ข. จำเลย
ค. ผู้เสียหาย ง. พนักงานสอบสวน
ตอบ ข. จำเลย

127.กรณีคดีแรกถูกฟ้องเป็นจำเลยด้วยกัน ต่อมาศาลให้แยกฟ้องเป็นคดีใหม่ โจทก์อ้างจำเลยในคดีเดิมเป็นพยานในคดีที่ฟ้องใหม่ได้หรือไม่?
ก. ได้ เพราะไม่ได้เป็นจำเลยในคดีที่ถูกฟ้องใหม่
ข. ได้ เพราะเป็นการอ้างจำเลยเก่าเป็นพยานในคดีใหม่
ค. ไม่ได้ เพราะเป็นจำเลยในคดีเดียวกัน
ง. ข้อ ก. และ ข้อ ข. ถูก
ตอบ ง. ม. ๒๓๒ หมำยถึงกรณีห้ำมโจทก์อ้ำงจำเลยเป็นพยำน หมำยถึง ห้ำมจำเลยในคดีเดียวกันเป็นพยำนโจทก์ แต่หำกศำลได้สั่งให้แยกฟ้องเป็นคดีใหม่ ต่ำงหำก โจทก์ย่อมอ้ำงจำเลยเก่ำเป็นพยำนในคดีใหม่ได้ เนื่องจำกไม่เป็นจำเลย ในคดีที่ถูกฟ้องนี้

128. การนำสืบพยานบุคคลตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา ได้ระบุ
ห้ามอ้างจำเลยเป็นพยานนั้น หมายถึง
ก. จำเลยในคดีที่ฟ้องนั้น ข. จำเลยในคดีอื่น
ค. จำเลยที่ได้แยกฟ้อง ง. ถูกทุกข้อ
ตอบ ก. จำเลยในคดีที่ฟ้องนั้น

129. คำเบิกความของพยานฝ่ายจำเลยนั้น โจทก์จะอ้างเป็นพยานเพื่อศาลจะรับฟังมา
ประกอบการพิจารณาชั่งน้ำหนักพยานของโจทก์ในคดีได้หรือไม่?
ก. ไม่ได้ เพราะต้องห้ามตามป .วิ. อาญา มาตร232
ข. ไม่ได้ เพราะเป็นการอ้างจำเลยเป็นพยาน
ค. ได้ เพราะเป็นการอ้างคำเบิกความของพยานจำเลย มิใช่เป็นการอ้าง คำเบิกความของจำเลยเป็นพยาน
ง. ได้ เพราะเป็นเพียงคำเบิกความของจำเลย
ตอบ ค. ได้ เพรำะเป็นกำรอ้ำงคำเบิกควำมของพยำนจำเลย มิใช่เป็นกำรอ้ำงพยำนจำเลยเป็นพยำน

130. คำให้การของจำเลยในชั้นสอบสวน หากจัดทำโดยชอบด้วยกฎหมายตามป. วิ. อาญา มาตรา 134 ศาลจะรับฟ้งเป็นพยานหลักฐานได้หรือไม่?
ก. ไม่ได้ เพราะเป็นการอ้างจำเลยเป็นพยานต้องห้ามตาม ป.วิ.อาญา มาตรา 232
ข.ไม่ได้ เพราะถือเป็นการอ้างพยานบุคคล ซึ่งเป็นการอ้างจำเลยเป็นพยาน
ค.ได้ เพราะถือเป็นพยานเอกสารในชั้นสอบสวน ไม่ได้ถือว่าเป็นการ อ้างจำเลยเป็นพยานตาม ป.วิ .อาญา
มาตรา 232
ง. ได้ เพราะถือเป็นพยานบุคคล แต่ไม่ให้ถือว่าเป็นการอ้างจำเลยเป็นพยานตาม ป.วิ อาญา มาตรา 232
ตอบ ค. ได้ เพรำะถือเป็นกำรอ้ำงพยำนเอกสำรในชั้นสอบสวน ไม่ถือว่ำเป็นกำรอ้ำง จำเลยเป็นพยำนตำม ป.วิ. อำญำ มำตรำ 232

131. คดีร่วมกันฆ่าผู้อื่น อัยการกันผู้ร่วมกระทำความผิดคนหนึ่งไว้เป็นพยานชอบด้วยกฎหมายหรือไม่?
ก. ไม่ชอบ เพราะต้องห้ามตาม ป.วิ. อาญา มาตรา 232
ข. ไม่ชอบ เพราะถือเป็นผู้ร่วมกระทำความผิดด้วยกัน
ค. ชอบเพราะ ป. วิ อาญา มาตรา 232 มิได้บัญญัติห้ามอ้างผู้ร่วมกระทำความผิดเป็นพยาน
ห้ามเฉพาะกรณีที่ถูกฟ้องเป็นจำเลย ด้วยกัน
ง. ไม่มีข้อใดถูก
ตอบ ค. ชอบ เพรำะ ป. วิ. อำญำ มำตรำ 232 มิได้บัญญัติห้ำมอ้ำงผู้ร่วมกระทำควำมผิดเป็นพยำน ห้ำมเฉพำะกรณีที่ถูกฟ้องเป็นจำเลยด้วยกัน

132. คดีอาญาเรื่องหนึ่งอัยการเป็นโจทก์ฟ้อง นายหนึ่งและนายสองเป็นจำเลยว่าร่วมกันลักทรัพย์ ต่อมาอัยการโจทก์ถอนฟ้องนายสองไป กรณีนี้โจทก์จะนำ นายสองมาเป็นพยานในคดีนี้ได้หรือไม่?
ก. ได้ เพราะกฎหมายห้ามเฉพาะจำเลยที่ถูกฟ้องในคดีนั้นเท่านั้น
ข. ได้ เพราะนายสองไม่ได้อยู่ในฐานะเป็นจำเลยในคดีนี้อีกต่อไป
ต. ไม่ได้ เพราะเป็นการอ้างจำเลยเป็นพยานในคดีโจทก์
ง. ข้อ ก. และ ข้อ ข. ถูก
ตอบ ง. ข้อ ก. และ ข้อ ข. ถูก

133. คดีอาญาเรื่องหนึ่งอัยการเป็นโจทก์ฟ้อง นายแดงและนายดำเป็นจำเลยฐาน ร่วมกันทำร้ายร่างกายผู้อื่น หากนายแดงรับสารภาพและศาลได้พิพากษาลงโทษนายแดงจนเสร็จเด็ดขาดแล้ว แต่นายดำปฏิเสธ ศาลจึงได้สั่งแยกฟ้อง
นายดำเป็นคดีใหม่ อัยการโจทก์จะอ้างนายแดงเป็นพยานในคดีใหม่ได้หรือไม่?
ก. ไม่ได้ เพราะมีการรวมการพิจารณาเป็นคดีเดียวกัน
ข. ไม่ได้ เพราะถือว่าเป็นจำเลยในคดีที่ถูกฟ้องนั้น
ค. ไม่ได้ เพราะมีการแยกฟ้องเป็นคนละคดี
ง. ได้ เพราะห้ามเฉพาะคดีที่จำเลยถูกฟ้องเป็นคดีนั้นเท่านั้น หากมีการแยกฟ้องไปแล้วย่อม
ไม่ใช่เป็นจำเลยในคดีที่ถูกฟ้อง
ตอบ ง. ได้เพรำะห้ำมเฉพำะคดีที่จำเลยถูกฟ้องเป็นคดีนั้นเท่ำนั้น หำกมี กำรแยกฟ้องไปแล้วย่อมไม่ใช่เป็นจำเลยในคดีที่ถูกฟ้อง

134 กรณีที่ตำรวจมอบเงินให้สายลับไปล่อเสื้อยาบ้า จำนวน 2 เม็ด แต่สายลับเก็บไว้เสพเอง 1 เม็ด ตำรวจจึงจับทั้งผู้ซื้อและผู้ขาย โดยแยกฟ้องคนละคดี คดีผู้ล่อซื้อพนักงานสอบสวนไม่ได้สอบสวนปากคำผู้ล่อซื้อไว้เป็นพยานในชั้นสอบสวน อัยการจะนำเข้าเบิกความในคดของผู้ขายได้หรือไม่?
ก. ได้ เพราะเป็นจำเลยในคดีอื่น แม้พนักงานสอบสวนจะไม่ได้สอบปากคำไว้
ข. ได้ เพราะเป็นผู้ที่เกี่ยวข้องในการกระทำความผิด
ค. ไม่ได้ เพราะเป็นผู้กระทำความผิดในความผิดฐานเดียวกัน
ง. ไม่ได้ เพราะเป็นการแสวงหาพยานหลักฐานโดยมิชอบ
ตอบ ก. ได้ เพรำะเป็นจำเลยในคดีอื่น แม้พนักงำนสอบสวนจะไม่ได้ สอบปำกคำไว้

135.คำซัดทอดของผู้ร่วมกระทำความผิดด้วยกันแต่ไม่ได้ถูกฟ้องเป็นจำเลย โจทก์จะอ้างบุคคลดังกล่าวมาเป็นพยานได้หรือไม่?
ก. ได้ เพราะมิใช่การซัดทอดของจำเลยในคดีเดียวกัน
ข. ไม่ได้ เพราะคำพยานดังกล่าวมีน้ำหนักน้อย
ต. ไม่ได้ เพราะเป็นคำซัดทอดของผู้ร่วมกระทำความผิดด้วยกัน
ง. ไม่มีข้อใดถูก
ตอบ ก. ได้ เพรำะมิใช่กำรซัดทอดของจำเลยในคดีเดียวกัน

136. ศาลจะรับฟังพยานแวดล้อมกรณีและคำรับของจำเลยกับผู้ร่วมผิดประกอบพยานอื่นของโจทก์ได้หรือไม่?
ก. ไม่ได้ เพราะเป็นการอ้างจำเลยเป็นพยาน
ข. ได้ เพราะคำให้การชั้นสอบสวนของจำเลยอาจใช้เป็นพยานหลักฐานยันจำเลยในชั้น
พิจารณาได้
ค. ได้ เพราะโจทก์ไม่ได้อ้างจำเลยเป็นพยานเพื่อเค้นเอาความจริงจากจำเลยมาลงโทษ
จำเลย ตาม ป .วิ . อาญา มาตรา ๒๓๒
ง. ไม่มีข้อใดถูก
ตอบ ข้อ ค. ได้ เพรำะโจทก์ไม่ได้อ้ำงจำเลยเป็นพยำนเพื่อเค้นเอำควำม จริงจำกจำเลยมำลงโทษจำเลย ตำม ป .วิ . อำญำ มำตรำ 232

137. คดีที่โจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยฐานมีอาวุธปืนไม่มีหมายเลขทะเบียน ไว้ในครอบครองโดยไม่ได้รับอนุญาต เมื่อจำเลยตอบคำถามค้านของโจทก์ ว่า จำเลยไม่เคยได้รับอนุญาตจากนายทะเบียนให้มีอาวุธปืนไว้ใน
ครอบครอง ถือได้ว่าโจทก์ได้นำสืบโดยการอ้างจำเลยเป็นพยาน อัน เป็นการต้องห้าม ตาม ป. วิ . อาญา มาตรา 232 หรือไม่ ?
ก. ไม่ต้องห้าม เพราะเป็นเพียงข้อเท็จจริงที่ได้จากการที่จำเลยตอบคำถามค้านพยานโจทก์เท่านั้น ไม่ถือว่าโจทก์นำสืบ ข้อเท็จจริงนั้น โดยการอ้างจำเลยเป็นพยาน
ข. ไม่ต้องห้าม เพราะถือว่าโจทก์ได้นำสืบข้อเท็จจริงนั้น
ค. ต้องห้าม เพราะเป็นการสืบพยานโดยจำเลยได้เบิกความต่อศาล เป็นการอ้างจำเลยเป็นพยาน
โจทก์
ง. ข้อ ก. และ ข้อ ข. ถูก
ตอบ ข้อ ก. ไม่ต้องห้ำม เพรำะเป็นเพียงข้อเท็จจริงที่ได้จำกกำรที่จำเลยตอบคำถำมค้ำนพยำนโจทก์เท่ำนั้น ไม่ถือว่ำโจทก์นำสืบข้อเท็จจริงนั้น โดยกำรอ้ำงจำเลยเป็นพยำน

138. มาตรา 232 แห่ง ป. วิ. อาญา แตกต่างกับการอ้างพยานตาม ป. วิ. แพ่ง มาตรา 87 หรือไม่ อย่างไร ?
ก. ไม่แตกต่าง เพราะโจทก์อ้างจำเลยเป็นพยานได้เหมือนกัน
ข. ไม่แตกต่าง เพราะห้ามโจทก์อ้างจำเลยเป็นพยานเหมือนกัน
ค. แตกต่าง เพราะมาตรา 232 บัญญัติห้ามมิให้โจทก์อ้างจำเลยเป็นพยาน แต่ในคดีแพ่ง
ตาม ป. วิ . แพ่ง มาตรา 87 บัญญัติให้สิทธิคู่ความฝ่ายหนึ่งอ้างอีกฝ่ายหนึ่งเป็นพยานได้
ง. แตกต่าง เพราะ มาตรา 232 ห้ามจำเลยอ้างโจทก์เป็นพยาน แต่ ป. วิ. แพ่ง มาตรา 87
ไม่ได้ห้าม
ตอบ ค. แตกต่ำง เพรำะมำตรำ 232 บัญญัติห้ำมมิให้โจทก์อ้ำง จำเลยเป็น พยำน แต่ในคดีแพ่ง ตำม ป. วิ . แพ่ง มำตรำ 87 บัญญัติให้สิทธิ คู่ควำมฝ่ำยหนึ่งอ้ำงอีกฝ่ำยหนึ่งเป็นพยำนได้
139. ป. วิ . อาญา มาตรา 232 ห้ามโจทก์อ้างจำเลยเป็นพยาน ยกเว้นกรณีใดบ้าง?
ก. จำเลยที่ร่วมกระทำความผิดแต่ถูกฟ้องเป็นคนละคดี
ข. คำซัดทอดของผู้กระทำความผิดด้วยกัน แต่มิได้ถูกฟ้องเป็นจำเลย
ค. จำเลยที่โจทก์ถอนฟ้องไปแล้ว
ง. ถูกทุกข้อ
ตอบ ข้อ ง. ถูกทุกข้อ

140. การที่ศาลนำคำให้การชั้นสอบสวนของจำเลยมาประกอบการวินิจฉัยพยานจำเลยเพื่อให้เห็นข้อแตกต่างระหว่างคำของจำเลยในชั้นสอบสวนและชั้นพิจารณา ต้องห้ามตาม ป. วิ. อาญา ซึ่งบัญญัติห้ามโจทก์อ้างจำเลยเป็นพยานหรือไม่?
ก. ไม่ เพราะไม่ถือว่าเป็นการอ้างจำเลยเป็นพยาน
ข. ต้องห้าม เพราะเป็นเพียงคำให้การในชั้นสอบสวนเท่านั้น
ค. ต้องห้าม เพราะเป็นการอ้างจำเลยเป็นพยาน
ง. ข้อ ข และ ข้อ ค
ตอบ ข้อ ก. ไม่ เพรำะไม่ถือว่ำเป็นกำรอ้ำงจำเลยเป็นพยำน

141. ในคดีอาญา จำเลยอ้างตนเองเป็นพยานได้หรือไม่ ?
ก. ได้ เพราะจำเลยสามารถอ้างตนเองเป็นพยานได้ตาม ป. วิ. อาญา มาตรา 233
ข. ไม่ได้เพราะต้องห้ามตาม ป. วิ. อาญา มาตรา 232
ค. ไม่ได้ เพราะจำเลยไม่มีหน้าที่นำสืบพิสูจน์ความผิดตนเอง
ง. ไม่มีข้อใดถูก
ตอบ ข้อ ก. ได้ เพรำะจำเลยสำมำรถอ้ำงตนเองเป็นพยำนได้ตำม ป. วิ. อำญ มำตรำ 233

142. กรณีที่จำเลยอ้างตนเองเป็นพยาน จำเป็นหรือไม่ว่าศาลจะต้องให้จำเลยสืบก่อนพยานอื่นของฝ่ายจำเลย ?
ก.จำเป็น เพราะกฎหมายบัญญัติเอาไว้
ข.ไม่จำเป็น เพราะกฎหมายมิได้บังคับว่าศาลจะต้องให้จำเลยสืบก่อนเสมอไป
ค.ไม่จำเป็น เพราะเป็นสิทธิของจำเลย
ง. ข้อ ข และ ข้อ ค. ถูก
ตอบ ข้อ ข. ไม่จำเป็น เพรำะกฎหมำยมิได้บังคับว่ำศำลจะต้องให้จำเลยสืบก่อน เสมอไปคดีอาญาที่จะซักค้าน

143. สิทธิของจำเลย ในการซักค้านคำเบิกความของจำเลยในคดีเดียวกัน มีได้ในกรณี ใดบ้าง ?
ก. จำเลยมีสิทธิซักค้านจำเลยอื่นได้ทุกกรณี
ข. เมื่อจำเลยเบิกความปรักปรำหรือเสียหายแก่จำเลยอื่น
ค. เมื่อจำเลยเบิกความเป็นประโยชน์แก่จำเลยอื่น
ง. ไม่มีข้อถูก
ตอบ ข้อ ข. เมื่อจำเลยเบิกความปรักปรำหรือเสียหายแก่จำเลยอื่น

144. กรณีที่จำเลยในคดีอาญาอ้างตนเองเป็นพยานและเบิกความเป็นพยานนั้นมีผลต่อการพิจารณาคดียกเว้นข้อใด ?
ก. คำเบิกความของจำเลยย่อมใช้ยันจำเลยได้
ข. ศาลอาจรับฟังพยานนั้นประกอบพยานหลักฐานอื่นของโจทก์ได้
ค. โจทก์สามารถอ้างตนเองเป็นพยานได้
ง. ข้อ ก. และ ข้อ ข. ถูก
ตอบ ข้อ ค. โจทก์สำมำรถอ้ำงตนเองเป็นพยำนได้

145. ในคดีความผิดต่อ พ.ร.บ. ว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็ค ข้อเท็จจริงที่ว่าวันที่จำเลยออกเช็ค จำเลยไม่มีเงินอยู่ในบัญชี อันจะพึงให้ใช้ เงินได้นั้น เมื่อจำเลยตอบคำถามค้านของโจทก์ ศาลจะพิพากษาลงโทษ จำเลยได้หรือไม่ ?
ก. ได้ เพราะถือว่าจำเลยได้นำสืบข้อเท็จจริงนั้นแล้ว
จ. ได้ เพราะไม่ถือว่าโจทก์ได้นำสืบข้อเท็จจริงนั้นแล้ว
ค. ได้ เพราะถือว่าเป็นข้อกฎหมายที่โจทก์ได้นำสืบแล้ว
ง. ไม่ได้ เพราะในการพิจารณาคดีอาญาโจทก์มีหน้าที่ต้องนำสืบ ให้ได้ว่าจำเลยกระทำความผิดตาม
ฟ้อง กรณีถือไม่ได้ว่าโจทก์นำสืบ ข้อเท็จจริงนั้นแล้ว
ตอบ ข้อ ง. ไม่ได้ เพรำะในกำรพิจำรณำคดีอำญำโจทก์มีหน้ำที่ต้องนำสืบให้ได้ว่ำจำเลยกระทำควำมผิดตำมฟ้อง กรณีถือไม่ได้ว่ำโจทก์นำสืบ ข้อเท็จจริงนั้นแล้ว

146. สิทธิของพยานที่จะไม่ตอบคำถามซึ่งโดยตรงหรือโดยอ้อม อาจทำให้เขาถูก ฟ้องคดีอาญา ตาม ป. วิ. อาญา มาตรา 234 เมื่อมีคำถามเช่นนั้นบัญญัติ ให้ศาลปฏิบัติอย่างไร ?
ก. ให้ศาลจดรายงานกระบวนพิจารณา
ข. ให้ศาลเตือนพยาน
ค. ให้ศาลตัดพยาน
ง. ให้ศาลงดสืบพยาน
ตอบ ข้อ ข. ให้ศำลเตือนพยำน

147. ป. วิ. อาญา มาตรา 234 สิทธิของพยานที่จะไม่ตอบคำถาม ถือเป็น ?
ก. สิทธิของพยาน
ข. หน้าที่ของพยาน
ค. เอกสิทธิ์ของพยาน
ง. ถูกทุกข้อ
ตอบ ข้อ ค เอกสิทธิ์ของพยำน

148. กรณีพยานบุคคลเบิกความแล้ว แต่ยังไม่ได้ตอบคำถามค้าน ศาลจะรับฟัง พยานนั้นได้หรือไม่ ?
ก. รับฟังเป็นหลักฐานลงโทษจำเลยได้
ข. รับฟังได้ ไม่เสียไป แต่มีน้ำหนักน้อย ต้องรับฟังประกอบหลักฐานอื่น
ค. รับฟังไม่ได้ เพราะกฎหมายบัญญัติห้ามไว้ว่าไม่ตอบคำถามค้านรับฟังไม่ได้
ง. รับฟังได้ ไม่เสียไปและเป็นพยานที่มีน้ำหนักน่าเชื่อถือ
ตอบ ข. รับฟังได้ ไม่เสียไป แต่มีน้ำหนักน้อย ต้องรับฟังประกอบหลักฐำนอื่น

149. นายดำถูกนายแดงยิงถึงแก่ความตาย แต่ก่อนตาย นายดำได้เล่าเหตุการณ์ ต่างๆให้แก่นายเหลืองฟังนั้น ศาลสามารถรับฟังคำเบิกความนายเหลือง เป็นพยานหลักฐานประกอบการพิจารณาในคดีได้หรือไม่ ?
ก. ได้ เพราะเป็นคำบอกเล่าถึงสาเหตุและพฤติการณ์แห่งการตายก่อนตาย
ข. ได้ เพราะบอกเล่าขณะที่รู้สึกตัวแล้วว่าใกล้จะตาย
ค. ได้ เพราะเป็นคดีความผิดต่อชีวิต ศาลย่อมรับฟังประกอบพยานหลักฐานอื่นได้
ง. ถูกทุกข้อ
ตอบ ข้อ ง. ถูกทุกข้อ

150. คดีอาญาเรื่องหนึ่ง นายฟ้าใช้อาวุธปืนยิงนายม่วงตายโดยเจตนา นายฟ้าปฏิเสธ นายฟ้านำสืบว่า นายฟ้ารับสารภาพในชั้นสิบสวนว่า ทำจริง และเคยต้องโทษจำคุกมาก่อน ตามทะเบียนประวัติอาชญากร ศาลจะรับ ฟังพยานหลักฐานดังกล่าวลงโทษนายฟ้าได้หรือไม่?
ก. คำรับสารภาพในชั้นสอบสวนรับฟังไม่ได้ หลักฐานที่เคยต้องโทษมาก่อนรับฟังไม่ได้เช่นกัน
ข. คำรับสารภาพในชั้นสอบสวนรับฟังได้ หลักฐานที่เคยต้องโทษมาก่อนมาก่อนรับฟังได้
ค. คำรับสารภาพในชั้นสอบสวนรับฟังได้ หลักฐานที่เคยต้องโทษมาก่อนรับฟังไม่ได้
ง. คำรับสารภาพในชั้นสอบสวนรับฟังไม่ได้ หลักฐานที่เคยต้องโทษมาก่อนรับฟังได้
ตอบ ข้อ ค. คำรับสำรภำพในชั้นสอบสวนรับฟังได้ หลักฐำนที่เคยต้องโทษมำก่อนรับฟังไม่ได้ หมำยเหตุ คำรับสำรภำพชั้นสอบสวน เป็นเพียงพยำนบอกเล่ำ แต่ก็ไม่ต้องห้ำมรับฟังใช้ประกอบพยำนหลักฐำนอื่น เพื่อประกอบกำรลงโทษจำเลยได้เพรำะมีลักษณะเป็นคำรับนอกศำล ส่วนหลักฐำนว่ำเคยต้องโทษมำก่อนเป็นพยำนหลักฐำนเกี่ยวกับกำรใช้ดุลยพินิจกำหนดโทษของจำเลย แต่ไม่ใช่พยำนหลักฐำนที่จะพิสูจน์ควำมผิดโดยตรง ไม่อำจรับฟังได้
151. คดีอาญาฐานฆ่าผู้อื่น แต่ไม่มีประจักษ์พยาน มีแต่พยานบุคคลแวดล้อมเบิกความถึงคำกล่าวของผู้ตายก่อนตาย และในชั้นสอบสวนจำเลยรับสารภาพกรณีนี้ พยานหลักฐานโจทก์รับฟังได้หรือไม่ ?
ก. ไม่ได้ เพราะเป็นเพียงพยานบอกเล่า
ข. ไม่ได้ เพราะไม่มีตัวประจักษ์พยานมาเบิกความ
ค. ไม่ได้ เพราะมีน้ำหนักน้อย ไม่น่าเชื่อถือ
ง. ได้ เพราะเป็นพยานหลักฐานที่น่าจะพิสูจน์ความผิดของจำเลยได้ เพื่อฟังประกอบ
พยานหลักฐานอื่น
ตอบ ข้อ ง. ได้ เพรำะเป็นพยำนหลักฐำนที่น่ำจะพิสูจน์ควำมผิดของ จำเลยได้ เพื่อฟังประกอบพยำนหลักฐำนอื่น

152. คดีอัยการเป็นโจทก์ฟ้องนายชูฐานพยายามฆ่านายเชิด ในชั้นศาลโจทก์ไม่ได้นำเอาพยานที่ให้การในชั้นสอบสวนมาเบิกความต่อศาล และในคดีเดียวกัน โจทก์นำนายเชิดมาเบิกความที่เกี่ยวข้อง แต่ยังไม่ได้ให้ฝ่าจำเลยถามค้าน คำเบิกความนี้เสียไปหรือไม่ ?
ก. ได้ และ เสียไป ข. ได้ และ ไม่เสียไป
ค. ไม่ได้ และ เสียไป ง. ไม่ได้ และ เสียไป
ตอบ ข้อ ข. ได้ และ ไม่เสียไป หมำยเหตุ คำให้กำรในชั้นสอบสวนเป็นเพียงพยำนบอกเล่ำ แม้มีน้ำหนักน้อย แต่ก็ไม่ใช่ว่ำใช้ไม่ได้เสียเลย โดยยังใช้เป็นพยำนหลักฐำนประกอบพยำนหลักฐำนอื่นในคดีเพื่อฟังพิสูจน์ควำม
บริสุทธิ์ของจำเลย กรณีคำเบิกควำมของพยำนที่มีแต่กำรถำมข้อซักถำมแต่ยังไม่ได้ถำมค้ำนโดยอีกฝ่ำย เป็นเพียงคำให้กำรของพยำนในชั้นศำลที่ไม่สมบูรณ์ไม่เสียไป

153. อัยการโจทก์ฟ้องนายไก่ฐานลักทรัพย์และนายไก่ได้ให้การปฏิเสธ โดยโจทก์ไม่ได้มีพยานอื่นๆ นอกจากคำรับสารภาพในชั้นสอบสวน ส่วนนายไก่นำสืบอ้างฐานที่อยู่ แต่อ้างตนเองเป็นพยานเข้าเบิกความตอบคำถามค้าน ของโจทก์ว่า ได้มีส่งร่วมในการเอาทรัพย์ไป พยานหลักฐานโจทก์รับฟังลงโทษนายไก่ได้หรือไม่ ?
ก. ได้ ถือว่าจำเลยรับสารภาพแล้ว
ข. ไม่ได้ เพราะไม่พอฟังลงโทษจำเลยและไม่ถือว่าเป็นข้อเท็จจริงที่โจทก์ได้นำสืบแล้ว
ค. ไม่ได้ เพราะเป็นการอ้างจำเลยเป็นพยาน
ง. ไม่ได้ เพราะเป็นการเบิกความเป็นปรปักษ์
ตอบ ข้อ ข. ไม่ได้ เพรำะไม่พอฟังลงโทษจำเลยและไม่ถือว่ำเป็นข้อเท็จจริงที่โจทก์ได้นำสืบแล้ว
ข้อ 154. คดีอาญาโจทก์ฟ้องฐานร่วมกันปล้นทรัพย์ จำเลยบางคนปฏิเสธ ศาล ชั้นต้นสืบพยานได้ ๒ ปาก แล้วจึงสั่งให้โจทก์แยกฟ้องจำเลยที่ปฏิเสธเข้ามาใหม่ เมื่อโจทก์ได้แยกฟ้องเข้ามาใหม่แล้ว ศาลชั้นต้น สืบพยานจนเสร็จ และได้สั่งให้นำสำนวนคดีก่อนมารวมกับคดีนี้(ที่ฟ้องใหม่) จำเลยไม่ได้โต้งแย้งคำสั่ง ดังนี้ศาลจะนำเอาคำเบิกความของพยานในคดก่อนมารับฟังในคดีนี้ได้หรือไม่ ?
ก. ได้ เป็นการสืบพยานต่อหน้าจำเลยแล้ว
ข. ไม่ได้ เป็นการสืบพยานลับหลังจำเลย
ค ไม่ได้ เป็นการรับฟังพยานอื่นลงโทษจำเลย
ง. ไม่มีข้อใดถูก
ตอบ ข้อ ก. ได้ เป็นกำรสืบพยำนต่อหน้ำจำเลยแล้ว

155. ในคดีอาวุธปืนฯ วันสืบพยานโจทก์ โจทก์ไม่มีพยานทั้งสำนวนมาสืบให้เห็นว่า ปืนของกลางเป็นปืนเถื่อน มีแต่เพียงจำเลยเบิกความตอบคำถามค้านของโจทก์ว่า ไม่ได้รับอนุญาตจากนายทะเบียนให้มีอาวุธปืน กรณีนี้ศาลจะนำคำเบิกความของจำเลยที่ตอบคำถามค้านของโจทก์รับฟังลงโทษจำเลยได้หรือไม่ ?
ก. ไม่ได้ เป็นการอ้างจำเลยเป็นพยานโจทก์
ข. ไม่ได้ ถือไม่ได้ว่าโจทก์ได้นำสืบข้อเท็จจริงเพื่อพิสูจน์ความผิดของจำเลย
ค. ถูกทุกข้อ
ง. ไม่มีข้อใดถูก
ตอบ ข้อ ข. ไม่ได้ ถือไม่ได้ว่ำโจทก์ได้นำสืบข้อเท็จจริงเพื่อพิสูจน์ควำมผิดของจำเลย

156. คดีขับรถโดยประมาท พนักงานสอบสวนขับรถโดยประมาท พนักงาน สอบสวนพูดกับผู้ต้องหาว่า หากไม่รับสารภาพจะจับกุมภรรยาและบุตร ผู้ต้องหาจึงรับสารภาพ (ก) คำรับสารภาพดังกล่าวรับฟังได้หรือไม่ ? ต่อมาในคดีเดียวกันในชั้นศาล จำเลยให้การปฏิเสธ (ข)โดยอ้างบุตรและ ภรรยาเป็นพยานได้หรือไม่ ? ถ้าต่อมาจำเลยถูกฟ้องเป็นคดีแพ่ง โดยอ้าง เหตุจากคดีอาญา คือขับรถโดยประมาท โดยจำเลยยอมรับว่า ได้มีการ เปรียบเทียบปรับโดยจำเลยเป็นฝ่ายประมาท ( ค) ในส่วนแพ่งนี้ จะถือเป็น อันยุติว่าจำเลยเป็นฝ่ายผิดได้หรือไม่ ?
ก. (ก) ได้ (ข) ได้ (ค) ไม่ได้
ข. (ก) ไม่ได้ (ข) ได้ (ค) ได้
ค. (ก) ไม่ได้ (ข) ได้ (ค) ไม่ได้
ง. (ก) ไม่ได้ (ข) ไม่ได้ (ค) ได้
ตอบ ข้อ ค. (ก) ไม่ได้ (ข) ได้ (ค) ไม่ได้ หมำยเหตุ คำรับสำรภำพกรณี ดังกล่ำวเป็นคำรับสำรำภพที่มีมูลเหตุจูงใจ และบังคับให้กลัว ต้องห้ำม( มำตรำ 226) ไม่อำจรับฟังเป็นพยำนเพื่อพิสูจน์ควำมผิดของจำเลยได้ ส่วนคำเบิกควำมของบุตรและภรรยำ เมื่อเป็นผู้เห็นเหตุกำรณ์ ทั้งมิได้มีกฎหมำยห้ำมมิให้รับฟัง คำเบิกควำมของพยำนที่เป็นญำติกัน คำเบิกควำมดังกล่ำวจึงรับฟังได้ ส่วนกำร เปรียบเทียบปรับในคดีอำญำ มีผลเพียงทำให้คดีอำญำเลิกกัน ตำม ป. วิ. อำญำ มำตรำ 37 เท่ำนั้น มิใช่คำพิพำกษำในส่วนคดีอำญำ จึงไม่ต้องห้ำม ตำม ป.วิ.
อำญำ มำตรำ 46

157. โจทก์ฟ้องฐานร่วมกันลักทรัพย์และพยายามฆ่าผู้เสียหาย จำเลยให้การรับสารภาพและแถลงไม่ต่อสู้คดี
ต่อมาชั้นสืบพยานประกอบคำรับสารภาพ โจทก์นำพนักงานสอบสวนมาเบิกความว่า จำเลยให้การรับสารภาพในชั้นสอบสวนและนำตัวผู้ร่วมกระทำผิดกับจำเลยคนหนึ่ง ซึ่งเคยถูกศาลพิพากษาลงโทษในข้อหาเดียวกันมาแล้ว เบิกความต่อศาลจะรับฟังเป็นพยานได้หรือไม่ ?
ก. ได้ เพราะเป็นคดีที่มีอัตราโทษอย่างต่ำจำคุกตั้งแต่ 5 ปีขึ้นไป แม้จำเลยรับสารภาพ ก็ต้องฟัง
พยานโจทก์จนกว่าจะพอใจว่าจำเลยกระทำผิดจริง
ข. ได้ เพราะเป็นการสืบพยานประกอบคำรับสารภาพ
ค. ได้ แม้คำเบิกความดังกล่าวจะถือเป็นคำซัดทอดของผู้ร่วมกระทำผิด แต่ก็ไม่ใช่พยานที่รับฟัง
ไม่ได้เสียเลย แต่มีน้ำหนักน้อย
ง. ถูกทุกข้อ
ตอบ ข้อ ง. ถูกทุกข้อ

158. เมื่อโจทก์บรรยายฟ้องมาครบถ้วนถูกต้องตามกฎหมายและจำเลยให้การรับ สารภาพซึ่งสาลงโทษจำเลยได้แล้ว การที่ศาลสอบถามรายละเอียดแห่งข้อเท็จจริงจากจำเลยตามที่โจทก์ขอให้ถามนั้น ต้องห้ามตาม ป. วิ. อาญา มาตรา 235 หรือไม่ ?
ก. ต้องห้าม เพราะเป็นการเพิ่มเติมฟ้องโจทก์ซึ่งบกพร่อง
ข. ไม่ต้องห้าม เพราะไม่ใช่เป็นการถามจำเลยเพื่อจะเพิ่มเติมคดีโจทก์ ซึ่งบกพร่อง
ค. ไม่ต้องห้าม เพราะถือว่าจำเลยอ้างตนเองเป็นพยาน
ง. ไม่มีข้อใดถูก
ตอบ ข้อ ง. ไม่ต้องห้ำม เพรำะไม่ใช่เป็นกำรถำมจำเลยเพื่อจะเพิ่มเติมคดีโจทก์ซึ่งบกพร่อง

159. ในการสืบพยานศาลมีอำนาจสั่งให้พยานออกไปนอกห้องพิจารณาได้ในกรณีใด ตาม ป. วิ. อาญา มาตรา 236
ก. พยานที่เบิกความแล้ว
ข. พยานฝ่ายตรงข้าม
ค. พยานที่ยังไม่ได้เบิกความ
ง. พยานซึ่งเป็นจำเลย
ตอบ ข้อ ค. พยำนที่ยังไม่ได้เบิกควำม

160. บันทึกคำเบิกความพยานชั้นไต่สวนมูลฟ้องหรือพิจารณาตาม ป. วิ. อาญา มาตรา 237 วรรคสอง นั้น บัญญัติให้ศาลอ่านให้พยานฟังต่อหน้าจำเลยแต่มีข้อยกเว้นซึ่งบัญญัติไว้ในมาตราใด ?
๑. มาตรา 165 วรรคสอง ข. มาตรา 165 วรรคสาม
ค. มาตรา 166 วรรคสอง ง. มาตรา 155 วรรคสอง
ตอบ ข้อ ค มำตรำ 165 วรรคสำม
161. ตาม ป. วิ. อาญา มาตรา 237 กรณีที่คู่ความตกลงกันให้ถือเอาคำพิพากษาชั้นไต่สวนมูลฟ้องเป็นคำเบิกความใน ชั้นพิจารณา โดยพยานไม่ต้องเบิกความใหม่นั้น ศาลจะต้องอนุญาตตามที่คู่ความตกลงกันหรือไม่ ?
ก. ศาลต้องอนุญาตตามที่คู่ความตกลงกันเพราะกฎหมายบัญญัติไว้
ข. ศาลอาจไม่อนุญาตได้เพราะเป็นดุลยพินิจของศาล
ค. ศาลอาจไม่อนุญาตได้เพราะเป็นความคิดของศาล
ง. ไม่ข้อใดถูก
ตอบ ข้อ ข. ศำลอำจไม่อนุญำตได้เพรำะเป็นดุลยพินิจของศำล

162. ป. วิ. อาญา มาตรา 237 วรรคสอง เป็นวิธีพิจารณาที่กำหนดขึ้นใหม่เพื่อเหตุใด?
ก. เพื่อไม่ให้พยานที่เคยเบิกความแล้วในชั้นไต่สวนต้องมาเบิกความซ้ำอีก
ข. เพื่อให้การพิจารณาคดีรวดเร็วขึ้น
ค. ไม่มีข้อใดถูก
ง. ข้อ ก และข้อ ข ถูก
ตอบ ข้อ ง. ข้อ ก และข้อ ข ถูก

163. ตาม ป. วิ. อาญา ที่คู่ความสามารถตกลงกันให้ถือเอาคำเบิกความในชั้นไต่สวนมูลฟ้องมาเป็นคำเบิกความในชั้นพิจารณาได้นั้น มีข้อยกเว้น ในคดีที่อัตราโทษเท่าใด?
ก. คดีที่มีอัตราโทษปรับอย่างเดียว
ข. คดีที่มีอัตราโทษจำคุกอย่างสูงตั้งแต่ห้าปีขึ้นไปหรือสถานที่หนักกว่านั้น
ค. คดีที่มีอัตราโทษอย่างต่ำให้จำคุกตั้งแต่ห้าปีขึ้นไปหรือสถานที่หนักกว่านั้น
ง. ข้อ ก และ ข้อ ข ถูก
ตอบ ข้อ ค. คดีที่มีอัตรำโทษอย่ำงต่ำให้จำคุกตั้งแต่ห้ำปีขึ้นไปหรือสถำนที่หนักกว่ำ นั้น

164. กรณีที่สามารถอ่านบันทึกคำเบิกความของพยานในชั้นไต่สวนมูลฟ้องลับหลังจำเลยได้คือกรณีใด?
ก. กรณีที่ราษฎรเป็นโจทก์
ข. กรณีที่พนักงานอัยการเป็นโจทก์
ค. กรณีทีราษฎรเป็นโจทก์ร่วมกับพนักงานอัยการ
ง. ถูกทุกข้อ
ตอบ ข้อ ก. กรณีที่รำษฎรเป็นโจทก์

165. กรณีที่โจทก์ไม่ได้ระบุให้เห็นว่า เป็นเจ้าพนักงาน ศาลจะรับฟังว่าเป็นเจ้าพนักงานตามคำแถลงของพนักงานอัยการโจทก์และคำรับของจำเลยตามที่ศาลถามได้หรือไม่ ?
ก. ได้ ไม่มีกฎหมายห้าม
ข. ไม่ได้ เป็นข้อบกพร่องของฟ้องโจทก์
ค. ไม่ได้ ขัดต่อ ป. วิ. อาญา มาตรา 235
ง. ข้อ 2 และ ข้อ 3ถูก
ตอบ ข้อ ง. ข้อ ข และ ข้อ ค ถูก

166. กรณีที่คู่ความตกลงกันให้นำคำเบิกความในชั้นไต่สวนมูลฟ้องเป็นคำเบิกความในชั้นพิจารณา มีผลอย่างไร ?
ก. พยานไม่ต้องเบิกความใหม่
ข. พยานไม่ต้องเบิกความซ้ำอีก
ค. พยานเบิกความตอบคำถามค้านได้ทันที
ง. ถูกทุกข้อ
ตอบ ข้อ ง. ถูกทุกข้อ

167. แม้คู่ความมิได้อ้างคำเบิกความพยานในชั้นไต่สวนมูลฟ้องมาเป็นพยานชั้นพิจารณา แต่เมื่อมีเหตุจำเป็นหรือมีเหตุอันสมควร ศาลนำมาประกอบดุลยพินิจในการรับฟังพยานหลักฐานอื่นในคดีได้หรือไม่ ?
ก. ได้ แม้มิได้มีการตกลงกันให้อ้างคำเบิกความดังกล่าว
ข. ได้ เพราะเป็นพยานเอกสารอย่างหนึ่งที่น่าจะพิสูจน์ว่าจำเลยผิดหรือถูก
ค. ได้ แต่จะรับฟังได้หรือไม่เพียงใด เป็นดุลยพินิจของศาลที่ พิจารณาจะวินิจฉัยอีกชั้นหนึ่ง
ง. ถูกทุกข้อ
ตอบ ข้อ ง. ถูกทุกข้อ

168. ในคดีอาญา ศาลจะนำคำเบิกความของจำเลยคนหนึ่ง ซึ่งอ้างตนเองเป็นพยาน มาลงโทษจำเลยอีกคนหนึ่งได้หรือไม่ ?
ก. ได้ เพราะเป็นการนำสืบข้อเท็จจริงเพื่อพิสูจน์ความผิดของจำเลย
ข. ได้ เพราะไม่มีกฎหมายบัญญัติห้ามไว้
ค. ไม่ได้ เพราะเป็นเรื่องระหว่างโจทก์กับจำเลยคนนั้นเท่านั้น
ง. ไม่ได้ เพราะเป็นการอ้างจำเลยเป็นพยาน
ตอบ ข้อ ค. ไม่ได้ เพรำะเป็นเรื่องระหว่ำงโจทก์กับจำเลยคนนั้นเท่ำนั้น

168. การที่ศาลนำคำให้การของจำเลยในชั้นสอบสวนมาประกอบการวินิจฉัยพยานจำเลย เพื่อแสดงให้เห็นว่าคำเบิกความของจำเลยในชั้นพิจารณาแตกต่างจากคำให้การในชั้นสอบสวนนั้น ต้องห้ามตาม ป. วิ. อาญา มาตรา 232 หรือไม่ ?
ก. ต้องห้ามเพราะเป็นการอ้างจำเลยเป็นพยานโจทก์
ข. ไม่ต้องห้ามเพราะไม่เป็นการนำมาพิจารณาเพื่อลงโทษจำเลย ถือไม่ได้ว่าเป็นการอ้างจำเลยเป็นพยานโจทก์
ค. ไม่ต้องห้ามเพราะถือว่าเป็นจำเลยคนละคน
ง. ไม่มีข้อใดถูก
ตอบ ข้อ ข. ไม่ต้องห้ำมเพรำะไม่เป็นกำรนำมำพิจำรณำเพื่อลงโทษจำเลย ถือไม่ได้ ว่ำเป็นกำรอ้ำงจำเลยเป็นพยำนโจทก์

170. สิทธิของพยานที่จะไม่ตอบคำถามซึ่งโดยตรงหรือโดยอ้อมตาม ป. วิ.อาญามาตรา 234 นั้น คือคดีประเภทใด ?
ก. คดีแพ่ง ข. คดีละเมิด
ค. คดีอาญา ง. คดีทุกประเภท
ตอบ ข้อ ค. คดีอำญำ

171. นายสายข่มขืนกระทำชำเราและฆ่านางสาวสวย ในชั้นสอบสวนนายสาย ให้การรับสารภาพและนำพนักงานสอบสวนไปชี้ที่เกิดเหตุและถ่ายภาพ ประกอบคำรับสารภาพ ในชั้นพิจารณา นายสายไม่ได้นำ พยานหลักฐานเข้าสืบหักล้างพยานโจทก์ให้ศาลเห็นเป็นอย่างอื่น และจากการตรวจกางเกงชั้นในของนายสาย ก็พบครบเลือดของนางสาวสวยนี้ศาลจะนำคำให้การในชั้นสอบสวนของนายสายมาฟังลงโทษนาย สายได้หรือไม่? เพราะเหตุใด?
ก.ได้ เนื่องจากคำให้การในชั้นสอบสวนของนายสาย ถือว่าเป็น พยานหลักฐานที่ใช้ยันจำเลยเพื่อ
พิสูจน์ ความผิดของจำเลยในชั้นพิจารณาได้ และนายสายไม่สืบพยานหลักฐานหักล้างพยานหลักฐานโจทก์เป็นอย่างอื่น พยานหลักฐานจึงมีน้ำหนักพอ ฟังลงโทษจำเลยได้
ข. ได้ เพราะเป็นคำรับสารภาพของจำเลยและมีการนำชี้ที่เกิดเหตุ แล้ว จึงรับฟังลงโทษจำเลยได้
ค. ได้ เพราะจำเลนรับสารภาพและโจทก์นำสืบสมจนไม่มีข้อสงสัย
ง. ถูกทุกข้อ
ตอบ ข้อ ก. ได้ เนื่องจำกคำให้กำรในชั้นสอบสวนของนำยสำย ถือว่ำเป็นพยำนหลักฐำนที่ใช้ยันจำเลยเพื่อพิสูจน์ควำมผิดของจำเลยในชั้นพิจำรณำได้ และนำยสำยไม่สืบพยำนหลักฐำนหักล้ำงพยำนหลักฐำนโจทก์เป็นอย่ำงอื่น พยำนหลักฐำนจึงมีน้ำหนักพอฟังลงโทษจำเลยได้

172. เจ้าพนักงานตำรวจจับกุมนายดีตามที่นายชั่วบอกแก่เจ้าพนักงานตำรวจว่า นายดีเป็นผู้มอบเมทแอมเฟตามีนให้นายชั่วจำหน่าย ในส่วนของนายชั่ว นั้น ปรากฏว่า นายชั่วให้การต่อพนักงานสอบสวนในคดีอาญาอื่นที่ถูกฟ้องว่าจำหน่ายเมทแอมเฟตามีน กับให้ถ้อยคำต่อพนักงานคุมประพฤติผู้สืบเสาะแตกต่างกันอย่างสิ้นเชิง เมื่อโจทก์มีเพียงคำซัดทอดของนายชั่ว โดยไม่นำตัวนายชั่วมาเบิกความ พยานจองโจทก์มีน้ำหนักพอฟังลงโทษนายดีได้หรือไม่ ?
ก. ไม่ได้ เพราะคำซัดทอดของนายชั่วไม่อยู่กับร่องกับรอย ไม่มีน้ำหนัก
ข. ไม่ได้ เพราะโจทก์ไม่นำนายชั่วมาเบิกความ เพื่อให้นายดี ได้มีโอกาสซักค้านและนำสืบหักล้าง
เพื่อศาลจะได้พิจารณาคำเบิกความของนายชั่วว่ามีน้ำหนักน่าเชื่อหรือไม่เพียงใด
ค. ข้อ ก และ ข้อ ข ถูก
ง. ไม่มีข้อใดถูก
ตอบ ข้อ ค. ข้อ ก และ ข้อ ข ถูก

173. คำให้การของพยานซึ่งเป็นผู้กระทำผิดร่วมกระทำผิด แต่ไม่ได้ถูกฟ้องเป็น จำเลยในคดีนี้ ที่พาดพิงถึงจำเลยในคดีนี้ที่มีลักษณะเป็นคำซัดทอด ซึ่งพยานได้มาเบิกความด้วยตนเองต่อศาล รับฟังได้หรือไม่ ?
ก. รับฟังได้ ไม่มีกฎหมายห้ามและมิใช่เป็นจำเลยในคดีนี้ อีกทั้งมิใช่ พยานบอกเล่า เนื่องจากมา
เบิกความโดยตรง
ข. รับฟังได้ เพราะเป็นคำเบิกความของผู้กระทำผิด
ค. รับฟังไม่ได้ เนื่องจากเป็นพยานบอกเล่า
ง. รับฟังไม่ได้ เพราะกฎหมายบัญญัติห้ามไว้
ตอบ ข้อ ก. รับฟังได้ ไม่มีกฎหมำยห้ำมและมิใช่เป็นจำเลยในคดีนี้ อีกทั้งมิใช่พยำนบอกเล่ำ เนื่องจำกมำเบิกควำมโดยตรง

174. คำให้การในชั้นสอบสวนพยานโจทก์ ซึ่งโจทก์ไม่สามารถนำมาเบิกความในชั้นพิจาณาได้ ซึ่งถือว่ามิได้กระทำต่อหน้าศาลและต่อหน้าจำเลย นั้น ศาลจะรับฟังได้หรือไม่?
ก. ได้ เพราะเป็นพยานบอกเล่าที่ได้มาโดยชอบ
ข. ได้ แต่มีน้ำหนักน้อย ต้องรับฟังด้วยความระมัดระวังและประกอบพยานหลักฐานอื่น
ค. ไม่ได้ เพราะเป็นพยานที่มิได้กระทำต่อหน้าศาลและจำเลย มิได้ผ่านการถามค้านเพื่อกระจาย
ข้อเท็จจริง
ง. ข้อ ก และ ข้อ ข ถูก
ตอบ ข้อ ง. ข้อ ข และ ข้อ ค ถูก

175. นายแดงให้การในชั้นสอบสวนว่า ได้ทำร้ายนายดำจริงโดยใช้เหล็ก แหลมแทงนายดำ เพราะสืบทราบมาว่านายดำมีส่วนร่วมในการฆ่านายมืดญาติของตนและนำชี้ที่เกิดเหตุประกอบคำรับสารภาพ รับฟังได้หรือไม่ ?
ก. ได้ เพราะเป็นคำรับสารภาพของจำเลยโดยสมัครใจ
ข. ไม่ได้ เพราะเป็นการให้การเป็นปรปักษ์กับตนเอง
ค. ไม่ได้ เพราะการนำชี้ที่เกิดเหตุถือเป็นส่วนหนึ่งของคำรับสารภาพ
ของจำเลยในชั้นสอบสวนซึ่งต้องห้ามมิให้รับฟัง
ง. ข้อ ข. และ ข้อ ค. ถูก
ตอบ ข้อ ก. รับฟังได้ เพรำะกำรนำชี้ที่เกิดเหตุถือเป็นส่วนหนึ่งของคำรับสำรภำพของผู้ต้องหำในชั้นสอบสวน

176. ข้อใดกล่าวไม่ถูกต้องเกี่ยวกับอำนาจ พงส.ในการให้ตรวจพิสูจน์พยานหลักฐานทางวิทยาศาสตร์
ก. พงส.มีอำนาจให้ตรวจพิสูจน์ทางวิทยาศาสตร์ ทั้งพยานบุคคล พยานเอกสาร และพยานวัตถุ
ข. พงส.มีอำนาจให้ตรวจพิสูจน์ทางวิทยาศาสตร์ ในทุกประเภทคดี
ค. พงส.มีอำนาจให้ตรวจพิสูจน์ทางวิทยาศาสตร์ เพื่อพิสูจน์ข้อเท็จจริงในคดี
ง. พงส.มีอำนาจให้ตรวจพิสูจน์ทางวิทยาศาสตร์ เฉพาะคดีที่อัตราโทษจำคุกอย่างสูงเกินสามปี
ตอบ ข้อ ง ป.วิ อำญำ ม.131/1 วรรค 1 ส่วนวรรค 2 ซึ่งระบุอัตรำโทษนั้น เลือกเฉพำะกรณีจะต้องเก็บตัวอย่ำงอวัยวะต่ำง ๆ

177. ข้อใดกล่าวถูกต้องเกี่ยวกับการยื่นคำร้องขอสืบพยานบุคคลไว้ก่อนต่อศาลในชั้นสอบสวน
ก. การยื่นคำร้องสามารถยื่นได้ทั้ง ผู้เสียหาย ผู้ต้องหา และพนักงานอัยการ
ข. การยื่นคำร้องสามารถยื่นได้ เฉพาะผู้เสียหาย และผู้ต้องหาเท่านั้น
ค. การยื่นคำร้องสามารถยื่นได้ เฉพาะพนักงานอัยการและผู้ต้องหา
ง. การยื่นคำร้องสามารถยื่นได้ ทั้งก่อนและหลังที่ผู้ต้องหาถูกฟ้องแล้ว
ตอบ ข้อ ง ป.วิ อำญำ ม 127 ทวิ วรรค 1 ต้องยื่นก่อนฟ้องคดีต่อศำล

178. ในการสืบพยานของศาลกรณีสืบพยานไว้ก่อนตามข้อ 177 ข้อใดกล่าวถูกต้องเกี่ยวกับการทนายความ
ก. ก่อนที่ศาลจะสืบพยานศาลไม่ต้องถามผู้ต้องหาว่ามีทนายความหรือไม่
ข. ก่อนที่ศาลจะสืบพยานศาลต้องถามผู้ต้องหาว่ามีทนายความหรือไม่
ค.ในชันสืบพยานไว้ก่อนไม่จำเป็นต้องมีทนายความก็ได้ศาลไม่ต้องใช้ดุลพินิจพิจารณาเรื่องนี้
ง. ไม่มีข้อใดถูก
ตอบ ข้อ ข ป.วิ อำญำ ม.237 ทวิ วรรค 3

179. เมื่อพยานเบิกความในคดีที่สืบพยานไว้ก่อนเสร็จแล้วก่อนที่พยานจะลงชื่อในบันทึกคำเบิกความข้อใดกล่าวไม่ถูกต้อง
ก. ให้ศาลอ่านคำเบิกความให้พยานฟัง
ข. กรณีผู้ต้องหาอยู่ในห้องพิจารณาต้องอ่านคำเบิกความพยานต่อหน้าผู้ต้องหา
ค. กรณีผู้ต้องหาไม่อยู่ในห้องพิจารณาศาลก็ไม่จำเป็นต้องอ่านคำเบิกความของพยานต่อหน้าผู้ต้องหา
ง. ศาลต้องอ่านคำเบิกความให้พยานฟังต่อหน้หาผู้ต้องหาเสมอไม่มีข้อยกเว้น
ตอบ ข้อ ง ป.วิ อำญำมำตรำ 237 วรรค 4

180. ข้อใดกล่าวไม่ถูกต้องเกี่ยวกับการยื่นคำร้องขอสืบพยานไว้ก่อนของผู้ต้องหา
ก. ผู้ต้องหาต้องยื่นคำร้องต่อพนักงานอัยการ ให้พนักงานอัยการยื่นคำร้องต่อศาล
ข. ผู้ต้องหายื่นคำร้องต่อศาลได้โดยตรง
ค. ผู้ต้องหาต้องแสดงเหตุผลและความจำเป็นต่อศาล
ง. การสืบพยานฝ่ายผู้ต้องหาในกรณีนี้ อัยการมีสิทธิที่จะซักค้านพยานนั้นได้
ตอบ ข้อ ก ป.วิ อำญำมำตรำ 237 ทวิ วรรค 7

181. ในการสืบพยานบุคคลที่เป็นเด็กอายุไม่เกิน 18 ปี กรณีสืบพยานไว้ก่อนตาม ป.วิ.อาญามาตรา 237 ทวิ ข้อใดกล่าวถูกต้อง
ก. ให้สืบพยานเด็กเหมือนพยานผู้ใหญ่ทั่วไปเพราะเป็นกรณีพิเศษ
ข. การถามพยาน ถามค้าน และถามติง ไม่ต้องผ่านนักจิตวิทยา นักสังคมสงเคราะห์
ค. เฉพาะศาล สามารถถามพยานได้เองโดยตรง โดยไม่ต้องผ่านนักจิตวิทยา หรือนักสังคมสงเคราะห์
ง. การถามพยานไม่ต้องให้มีการถ่ายทอดภาพและเสียงไปยังห้องพิจารณาก็ได้
ตอบ ข้อ ค ป.วิอำญำมำตรำ 237 ทวิ วรรค ท้ำย ประกอบกับมำตรำ 172 ตรี

182. ข้อใดกล่าวถูกต้อง
ก. จำเลยอ้างตนเป็นพยานได้
ข. จำเลยอ้างตนเป็นพยานไม่ได้
ค. กรณีจำเลยอ้างตนเป็นพยานปรักปรำจำเลยอื่นจำเลยอื่นจะซักค้านจำเลยที่อ้างตนเป็นพยานไม่ได้
ง. ศาลอาจรับฟังคำเบิกความของจำเลยที่อ้างตนเป็นพยานประกอบพยานหลักฐานของโจทก์ได้
ตอบ ก ป.วิ อำญำมำตรำ 233

183. ในคดีอาญาพนักงานสอบสวนมีอำนาจให้แพทย์หรือผู้เชี่ยวชาญตรวจเก็บตัวอย่างเลือด เนื้อเยื่อ ผิวหนังเส้นผมเส้นขน น้ำลาย ปัสสาวะอุจจาระ สารคัดหลั่ง สารพันธุกรรม จากผู้ใดได้บ้าง และ ในคดีที่มีอัตราโทษเท่าใด
ก. ตรวจเก็บได้จาก ผู้เสียหาย และผู้ต้องหา ในคดีที่มีอัตราโทษจำคุกอย่างสูงไม่เกิน 3 ปี
ข. ตรวจเก็บได้จาก ผู้เสียหาย และผู้ต้องหา ในคดีที่มีอัตราโทษจำคุกอย่างสูงเกิน 3 ปี
ค. ตรวจเก็บได้จาก ผู้เสียหาย และผู้ต้องหา หรือบุคคลที่เกี่ยวข้องในคดีที่มีอัตราโทษ จำคุกอย่างสูงเกิน 3 ปี
ง. ตรวจเก็บได้จาก ผู้เสียหาย และผู้ต้องหา หรือบุคคลที่เกี่ยวข้อง ในคดีที่มีอัตราโทษจำคุก อย่างสูงตั้งแต่
3 ปีขึ้นไป
คำตอบ ข้อ ค ป.วิ อำญำ ม.131/1 วรรค 2

184. ในคดี นายแดงต้องหาว่าฆ่าคนตาย พนักงานสอบสวนสงสัยว่าเลือดในที่เกิดเหตุ อาจจะเป็นเลือดของ นายแดง จึง ต้องการให้แพทย์เจาะเลือดของ นายแดง เพื่อส่งไปตรวจพิสูจน์เปรียบเทียบ สารพันธุกรรม (DNA) กับเลือดที่เก็บได้จากที่เกิดเหตุ แต่ นายแดงกลัวเข็ม และไม่ยินยอมให้แพทย์เจาะเลือด พนักงานสอบสวนจะบังคับ เจาะเลือดจาก นายแดงได้หรือไม่
ก. พนักงานสอบสวนบังคับได้เพราะมีอำนาจ รวบรวมพยานหลักฐานได้ทุกชนิด
ข. พนักงานสอบสวนบังคับไม่ได้ เพราะกฎหมายกำหนดให้ต้องได้รับความยินยอมจากผู้ที่จะ ถูกเจาะเลือดไม่
ว่าจะเป็นใคร และต้องทำให้เขาเจ็บน้อยที่สุดเท่าที่จะทำได้ และไม่เป็นอันตรายต่อร่างกายหรืออนามัยของ
บุคคลนั้น
ค. พนักงานสอบสวนบังคับได้ แต่ต้องทำให้ นายแดงเจ็บน้อยที่สุดเท่าที่จะทำได้ และไม่เป็นอันตรายต่อ
ร่างกายหรืออนามัยของบุคคลนั้น
ง. ทำได้แต่ต้องยื่นคำร้องขออนุญาตต่อศาล
ตอบ ข้อ ข ป.วิ อำญำ ม.131/1 วรรค 2

185. ตามข้อ 2 หาก นายแดง ไม่ยินยอม ให้พนักงานสอบสวนเจาะเลือดส่งไปตรวจพิสูจน์ผลจะเป็นอย่างไรในทางคดีส่วนที่ นายแดง เป็นผู้ต้องหา
ก. กฎหมายให้สันนิษฐานเบื้องต้นว่า เลือดที่เก็บได้จากที่เกิดเหตุ เป็นเลือดของ นายแดง ซึ่งบทสันนิษฐานนี้จะเป็นผลร้ายแก่นายแดงผู้ต้องหา
ข. ไม่มีผลเสียต่อ นายแดง แต่อย่างใด เพราะ พนักงานสอบสวนสามารถ รวบรวมพยานหลักฐานอื่น ๆ เพื่อพิสูจน์ความผิดของ นายแดงได้อยู่แล้ว
ค. ต้องดูว่าศาลอนุญาตให้เจาะเลือด นายแดงหรือไม่ หากอนุญาต นายแดงก็จะถูกบังคับให้เจาะเลือด
ง. ไม่มีข้อใดถูก
ตอบ ข้อ ก ป.วิอำญำ ม.131/1

186. ข้อใดกล่าวไม่ถูกต้องในการรวบรวมพยานหลักฐาน ของ พนักงานสอบสวน
ก. ตรวจตัวผู้เสียหายเมื่อผู้นั้นยินยอม หากผู้เสียหายเป็นหญิงต้องให้เจ้าพนักงานที่เป็นหญิงหรือหญิงอื่นตรวจ
ข. ตรวจตัวผู้ต้องหาเมื่อผู้ต้องหายินยอม หากผู้ต้องหาเป็นหญิงต้องให้เจ้าพนักงานที่เป็นหญิงหรือหญิงอื่นตรวจ
ค. ค้นเพื่อพบสิ่งของที่มีไว้เป็นความผิดหรือได้มาโดยการกระทำผิด
ง. หมายเรียกบุคคล ซึ่งครอบครองสิ่งของซึ่งอาจใช้เป็นพยานหลักฐานได้
ตอบ ข้อ ข ป.วิ อำญำ ม.132

187. ร.ต.ท.แมว มีความจำเป็นต้องให้ นางม่วงอายุ 20 ปี ชี้ตัว นายมุ่ง ผู้ต้องหาในคดีอาญาเรื่องหนึ่ง ในห้องที่มีความเหมาะสม แต่ห้องดังกล่าว นางม่วง ต้องเผชิญหน้ากับ นายมุ่ง นางม่วง จึงขอร้องว่า ไม่ต้องการให้ นายมุ่งเห็นหน้าตน เพราะกลัว นายมุ่ง จะแก้แค้นภายหลัง แต่ พนักงานสอบสวนไม่ดำเนินการตามที่ นางม่วงร้องขอ และให้ นางม่วง ชี้ตัว นายมุ่งในห้องดังกล่าวต่อไป การกระทำของพนักงานสอบสวนขอบหรือไม่
ก. ไม่ชอบ เพราะกฎหมายห้ามไว้ ว่า การชี้ตัวผู้ต้องหา ห้ามไม่ให้พยานหรือผู้เสียหาย ผู้ที่จะชี้ตัวผู้ต้องหา
เผชิญหน้ากับผู้ต้องหาโดยเด็ดขาด
ข. ชอบแล้วเพราะ เพื่อเป็นการรวบรวมพยานหลักฐานให้ละเอียดรอบคอบ
ค. ไม่ชอบ เพราะหากผู้เสียหายหรือพยานที่เป็นหญิง ต้องไม่ให้เผชิญหน้ากับผู้ต้องหา
ง. ไม่ชอบ เพราะกฎหมายห้ามไว้ ว่า การชี้ตัวผู้ต้องหา ห้ามไม่ให้พยานหรือผู้เสียหาย ที่จะชี้ตัวผู้ต้องหา
เผชิญหน้ากับผู้ต้องหา เว้นแต่ผู้เสียหายหรือพยานยินยอม หรือมีเหตุ จำเป็นอย่างอื่น
ตอบ ข้อ ง ป.วิ อำญำ ม.133 วรรค 5

187. ในคดีฆ่าคนตาย นาย การ ถูกฟ้องเป็นจำเลย ต่อศาล นาย ก ให้การรับสารภาพตลอดข้อกล่าวหา พนักงานอัยการ ยื่นคำร้องขอให้ศาลตรวจพยานหลักฐานก่อนวันนัดสืบพยาน ทนาย นาย การ คัดค้านว่า ควรนำพยานเข้าสืบในวันนัดสืบพยานเลยไม่ต้องมีการตรวจ คำคัดค้าน ของ ทนาย นายการ ฟังขึ้นหรือไม่เพราะเหตุใด
ก. คำคัดค้านฟังไม่ขึ้น เพราะ กฎหมายให้อำนาจคู่ความยื่นคำร้องขอให้ศาลสั่งให้ตรวจพยานหลักฐานก่อน
วันสืบพยานได้ทุกคดี
ข. คำคัดค้านฟังไม่ขึ้น เพราะ กฎหมายให้อำนาจคู่ความยื่นคำร้องขอให้ศาลสั่งให้ตรวจพยานหลักฐานก่อน
วันสืบพยานได้เองเป็นดุลพินิจของศาล
ค. คำคัดค้านฟังขึ้น เพราะถึงแม้ กฎหมายให้อำนาจคู่ความยื่นคำร้องขอให้ศาลสั่งให้ตรวจพยานหลักฐาน หรือ
ศาลเห็นสมควรเองในการสั่งให้ตรวจพยานก่อนวันสืบพยานได้ทุกคดี ต้องได้รับความยินยอมจากคู่ความอีก
ฝ่ายหนึ่งก่อน
ง. คำคัดค้านฟังขึ้น เพราะในคดีที่คู่ความ จะยื่นคำร้องขอให้ศาลตรวจพยานหลักฐานก่อนวันสืบพยานได้
หรือศาลสมควรให้ตรวจพยานก่อนวันสืบพยานนั้น จะต้องเป็นคดีที่ จำเลย ไม่ให้การ หรือให้การปฏิเสธ
เท่านั้น
ตอบ ข้อ ง ป.วิ อำญำ ม.173/1

188. ในคดีที่ ศาลนัดคู่ความให้นำพยานหลักฐานไปตรวจก่อนวันสืบพยาน หากโจทย์ไม่ไปศาลผลจะเป็นอย่างไร
ก. ศาลต้องสืบพยานต่อไปไม่มีผลทางกฎหมาย
ข. ศาลต้องเลื่อนการตรวจพยานหลักฐานออกไปโดยไม่มีเงื่อนไข
ค. ให้ศาลยกฟ้องเสีย แต่ถ้าศาลเห็นว่ามีเหตุสมควรศาลจะสั่งเลื่อนคดีไปก็ได้
ง. สอบถามฝ่ายจำเลยว่าต้องการอย่างไร และศาลดำเนินการไปตามนั้น
ตอบ ข้อ ค ป. วิ อำญำ ม.173/2 วรรค 1และ ม.166

189.ในกรณีที่ศาลนัดวันสืบพยานไว้ชัดเจนแล้ว ศาลสามารถสืบพยานก่อนวันนัดได้หรือไม่
ก. ไม่ได้ เพราะคู่ความอาจเตรียมตัวไม่ทัน
ข. ไม่ได้ เพราะกฎหมายไม่ได้ให้อำนาจไว้
ค. ได้ขอให้เป็นพยานหลักฐานเกี่ยวกับคดี เมื่อศาลเห็นสมควร หรือคู่ความฝ่ายใดร้องขอ
ง. ได้แต่ต้องเป็นพยานหลักฐานเกี่ยวกับประเด็นสำคัญแห่งคดี เมื่อศาลเห็นสมควร หรือ
คู่ความฝ่ายใดร้องขอ
ตอบ ข้อ ง ป วิ อำญำ มำตรำ 173/2 วรรค 2

190. ในคดีที่อัยการเป็นโจทย์ ถ้าศาลมีคำสั่งให้ออกหมายเรียกพยานโจทก์แต่ไม่ได้กำหนดวิธีการส่งไว้ ใครมีหน้าที่ส่งหมายเรียกและติดตามพยานไปศาล
ก. ให้อัยการสั่งให้ หัวหน้า พนักงานสอบสวนท้องที่นั้นเป็นผู้จัดการส่งหมายและติดตามพยานโจทย์ไปศาล
ข. เจ้าหน้าที่ฝ่ายธุรการของศาลแม้ศาลจะไม่ได้สั่งก็ตาม
ค. อัยการจะสั่งให้ใครก็ได้ทั้งเจ้าหน้าที่สำนักงานอัยการหรือตำรวจท้องที่
ง. ถูกทั้ง ข และ ค
ตอบ ข้อ ก ป วิ อำญำ ม.55/1

191. ในวันตรวจพยานหลักฐานก่อนวันสืบพยานตามคำสั่งศาลถ้าคู่ความฝ่ายใดไม่นำพยานหลักฐานไปตรวจผลจะเป็นอย่างไร
ก. ศาลต้องไม่รับฟังพยานหลักฐานนั้นเลย
ข. ศาลมีอำนาจไม่รับฟังพยานหลักฐานนั้น เว้นแต่ศาลเห็นว่าเป็นกรณีเพื่อประโยชน์แห่งความยุติธรรม หรือการไม่ปฏิบัติดังกล่าวมิได้เป็นไปโดยจงใจ และเสียโอกาสในการดำเนินคดีของคู่ความอีกฝ่ายหนึ่ง
ค. ไม่มีผลใด ๆ เพราะวันนัดสืบพยานจริงก็สามารถนำพยานเข้าสืบได้ กฎหมายให้โอกาสคู่ความที่จะต่อสู้คดีได้อย่างเต็มที่
ง. ไม่มีข้อใดถูก
ตอบ ข้อ ข ป.วิ อำญำ ม.240 วรรค 3

192. การยื่นบัญชีระบุพยานในคดีอาญามีกี่ประเภท อะไรบ้าง
ก. มี 1 ประเภท คือทุกคดีต้องยื่นบัญชีระบุพยาน
ข. มี 2 ประเภท คือ การยื่นกรณีมีวันนัดตรวจพยาน และกรณีไม่มีวันนัดตรวจพยาน
ค. มี 3 ปะเภท คือ ยื่นโดยโจทก์ ยื่นโดยจำเลย และยื่นโดยคู่ความร่วมกัน
ง. มี 4 ประเภท คือ ยื่น ก่อนฟ้อง ยื่นหลังฟ้อง ยื่นเพิ่มเติม และยื่นตามคำสั่งศาล
ตอบ ข้อ ข ป.วิ อำญำ ม.173/1 และ 229/1

193. การยื่นบัญชีระบุพยานกรณีมีการกำหนดวันตรวจพยานมีหลักเกณฑ์ตามกฎหมายลักษณะพยานอย่างไร
ก. ยื่นต่อศาลก่อนวันตรวจพยานไม่น้อยกว่า 7 วัน ทั้งโจทก์และจำเลย
ข. ยื่นต่อศาลก่อนวันตรวจพยานไม่น้องกว่า 10 วันทั้งโจทก์และจำเลย
ค. ยื่นต่อศาลหลังยื่นคำฟ้องไม่น้อยกว่า 7 วันทั้งโจทก์และจำเลย
ง. ยื่นต่อศาลหลังยื่นคำฟ้องไม่น้อยกว่า 10 วันทั้งโจทก์และจำเลย
ตอบ ข้อ ก ป.วิ อำญำ ม.173/1 วรรค 2

194. นาย ก ยื่นบัญชีระบุพยานในคดีอาญากรณีมีการตรวจพยานหลักฐานครั้งแรกยื่นภายกำหนด ต่อมา นาย ก ต้องการยื่นบัญชีระบุพยานเพิ่มเติมจะต้องยื่นอย่างไร
ก. ยื่นภายใน 10 วัน นับแต่วันยื่นบัญชีระบุพยานก่อนตรวจพยานครั้งแรก
ข. ยื่นภายใน 14 วัน นับแต่วันยื่นบัญชีระบุพยานก่อนตรวจพยานครั้งแรก
ค. ยื่นเมื่อใดก็ได้แต่ก่อนมีคำพิพากษา โดยได้รับอนุญาตจากศาล
ง. ยื่นเมื่อใดก็ได้แต่ต้องก่อนวันตรวจพยานหลักฐานเสร็จสิ้นโดยได้รับอนุญาตจากศาล
ตอบข้อ ง ป.วิ. อำญำ ม.173/1 วรรค 3

195. การยื่นบัญชีระบุพยานกรณีไม่มีวันตรวจพยานหลักฐานมีหลักเกณฑ์อย่างไร
ก. โจทก์ต้องยื่นบัญชีระบุพยานหลักฐานต่อศาลไม่น้อยกว่า 15 วันก่อนวันไต่สวนมูลฟ้องหรือวันสืบพยาน
ข. จำเลยให้ยื่นบัญชีระบุพยานต่อศาลก่อนวันสืบพยานจำเลย
ค. ทั้งโจทก์และจำเลยต้องยื่นบัญชีระบุพยานก่อนวันสืบพยานไม่น้อยกว่า 7 วัน
ง. ถูกทั้ง ก และ ข
ตอบ ข้อ ง ป.วิ อำญำ ม. 229/1
196. กรณีคู่ความไม่ได้ยื่นบัญชีระบุพยานต่อศาลเลย ผลทางกฎหมายจะเป็นอย่างไร
ก. ไม่ห้ามศาลที่จะให้สืบและรับฟังพยานหลักฐานนั้นเพราะไม่จำเป็นต้องยื่นก็นำสืบได้
ข. ห้ามศาลให้สืบและห้ามรับฟังพยานหลักฐานนั้นแม้ไม่จำเป็นต้องยื่นก็ตาม
ค. อยู่ในดุลพินิจของศาลเท่านั้นจะเป็นผู้พิจารณาไม่มีหลักเกณฑ์แน่นอน
ง. ห้ามมิให้ศาลอนุญาตให้สืบ และรับฟังพยานหลักฐานนั้น แต่ถ้ามีความจำเป็นต้องคุ้มครองพยาน หรือ
จะต้องนำสืบพยานหลักฐานดังกล่าว เพื่อให้การวินิจชี้ขาดข้อสำคัญแห่งประเด็นเป็นไปโดยเที่ยงธรรม
หรือเพื่อให้โอกาสแต่จำเลยต่อสู้คดีได้เต็มที่ ให้ศาลอนุญาตให้สืบและรับฟังพยานหลักฐานเช่นว่านั้นได้
ตอบ ข้อ ง ป.วิ อำญำ ม.229/1 วรรค 4

197. นาย กบ เข้าร้องทุกข์กับพนักงานสอบสวน ให้ดำเนินคดีกับ นายกัน ในข้อหา พยายามฆ่าตน เมื่อพนักงานสอบสวน สอบสวนจนเสร็จสินแล้วส่งสำนวนฯให้อัยการฟ้อง นายกัน ต่อศาล ในระหว่างการพิจารณาคดีของศาล นาย กบ ยื่นคำร้องขอเข้าเป็นโจทก์ร่วมกับพนักงานอัยการ เมื่อศาลอนุญาต นายกบ จะยื่นคำร้อง ขอยื่นบัญชีระบุพยานเพิ่มเติมได้หรือไม่
ก. ยื่นไม่ได้ เพราะ เป็นเรื่องเฉพาะของพนักงานอัยการ
ข. ยื่นไม่ได้ เพราะเลยเวลาที่กำหนดตามกฎหมาย
ค. ยื่นได้เพราะถือว่าเป็นโจทก์ร่วมเป็นสิทธิของโจทก์
ง . ถูกทั้ง ก และ ข
ตอบ ข้อ ง ฎีกำที่ 568/2513

198. นาย งู เข้าร้องทุกข์กล่าวหา นาย เงี้ยว ว่า พยายามฆ่า พนักงานสอบสวน สอบสวนเสร็จส่งสำนวนไปยังพนักงานอัยการ พนักงานอัยการเป็นโจทก์ฟ้อง นายเงี้ยว ต่อศาลเช่นนี้ คดีนี้ใครมีหน้าที่นำสืบพยานหลักฐานก่อน
ก. นายเงี้ยว ผู้ต้องหา เพราะต้องแก้ข้อกล่าวหาที่ถูกฟ้องก่อน
ข. พนักงานอัยการซึ่งเป็นโจทก์ต้องนำสืบก่อนเสมอ
ค. แล้วแต่ศาลจะกำหนดเพราะไม่มีกฎหมายบัญญัติไว้ชัดเจน
ง. ไม่มีข้อใดถูก
ตอบ ข้อ ข ป. วิ อำญำ ม.174

199. ตามข้อ 17 หาก นายเงี้ยว ต่อสู้ในชั้นศาลว่า กระทำไปเพราะ นายงู จะยิงตนจึงป้องกันไป พอสมควรแก่เหตุ เช่นนี้ ฝ่ายใดจะต้องนำสืบพิสูจน์ข้อเท็จจริงดังกล่าว
ก. ฝ่ายโจทก์ เพราะการอ้างว่าป้องกันของ นายเงี้ยว ถือว่าเป็นการปฏิเสธ โจทก์ต้องนำสืบ
ข. ฝ่าย นายเงี้ยว เพราะการอ้างว่าป้องกันของ นายเงี้ยว ถือว่าเป็นการรับว่าทำจริง แต่มีเหตุให้ทำ นายเงี้ยวจำเลยต้องนำสืบ เพื่อพิสูจน์ข้อเท็จจริงที่ตนอ้าง
ค. อยู่ในดุลพินิจของศาล
ง. ถูกทั้ง ข และ ค
ตอบ ข้อ ก ฎีกำที่ 943/2508, 2019/14

200. ในคดีอาญาที่โจทก์ฟ้องจำเลยว่ารับของโจร ใครมีหน้าที่นำสืบพิสูจน์ความผิดหรือบริสุทธิ์
ก. จำเลย มีหน้าที่นำสืบว่า รับทรัพย์มาโดยไม่รู้ว่าผู้อื่นได้มาจากการกระทำผิด
ข. โจทก์ มีหน้าที่นำสืบว่า จำเลยรับทรัพย์มาโดยรู้ว่าผู้อื่นได้มาจากการกระทำผิด
ค. อยู่ในดุลพินิจของศาล
ง. ไม่มีข้อใดถูก
ตอบ ข ฎีกำที่ 2923/2544,2923/2549

201. ในคดีอาญาพยานหลักฐานอะไร และลักษณะใดบ้างที่สามารถอ้างเป็นพยานหลักฐานได้
ก. พยานบุคคล พยานเอกสาร หรือพยานวัตถุ ให้อ้างเป็นพยานได้ถ้าพยานหลักฐานนั้นสามารถพิสูจน์
ความผิดหรือความบริสุทธิ์ของจำเลยได้
ข. พยานบุคคล พยานเอกสาร หรือพยานวัตถุ ให้อ้างเป็นพยานได้ถ้าพยานหลักฐานนั้นสามารถพิสูจน์
ความผิดของจำเลยได้
ค. พยานหลักฐานตามข้อ ก แต่ต้องเป็นพยานหลักฐานที่มิได้เกิดจากการจูงใจมีคำมั่นสัญญา ขู่เข็ญ
หลอกลวง หรือโดยมิชอบประการอื่น
ง พยานหลักฐานตามข้อ ข แต่ต้องเป็นพยานหลักฐานที่มิได้เกิดจากการจูงใจมีคำมั่นสัญญา ขู่เข็ญ
หลอกลวง หรือโดยมิชอบประการอื่น
ตอบ ข้อ ค ป.วิ อำญำ ม.226

202. นาย ก พยานขึ้นไปเบิกความต่อศาล โดยไม่ได้สาบานหรือปฏิญาณตน คำเบิกความของ นาย ก รับฟังเป็นพยานหลักฐานในคดีได้หรือไม่
ก. รับฟังได้ เพราะกฎหมายไม่ห้ามไม่ให้รับฟัง เพียงแต่มีพยานหลักฐานอื่นประกอบ
ข. รับฟังได้หากเป็นประจักษ์พยาน
ค. รับฟังไม่ได้ เพราะไม่ได้สาบานหรือปฏิญาณตนตามกฎหมาย
ง. รับฟังได้หรือไม่เป็นดุลพินิจของศาล เพราะ ใน ป.วิอาญา ไม่ได้กำหนดไว้
ตอบ ข้อ ค ป. วิ อำญำ ม.15 ประกอบ วิแพ่ง ม.112 ฎีกำที่ 824/2492
203. ตามข้อ 25 หากเป็นชั้น พงส.พยานไม่ได้ให้สาบาน จะรับฟังคำให้การของพยานได้หรือไม่
ก. รับฟังได้ ในการให้สาบานหรือปฏิญาณ เป็นดุลพินิจของ พนักงานสอบสวน
ข. รับฟังไม่ได้เพราะ พยานต้องสาบานหรือปฏิญาณตนก่อนให้การเสมอในชั้นสอบสวน
ค. รับฟังได้หรือไม่ อยู่ที่ชั้นศาลจะพิจารณา
ง. ไม่มีข้อใดถูก
ตอบ ข้อ ก ป.วิ อำญำ ม.133 วรรค 2

204. ตามข้อ 202 หากหลังเบิกความแล้ว ศาลให้ พยานสาบาน หรือปฏิญาณตนทันทีและให้ลงชื่อในคำเบิกความรับฟังคำเบิกความดังกล่าวได้หรือไม่
ก. รับฟังได้
ข. รับฟังไม่ได้
ค. อยู่ในดุลพินิจของศาล
ง. ข้อ ก และ ข้อ ค ถูก
ตอบ ข้อ ก ฎีกำ 824/2492

205. ในคดีอาญาเรื่อง หนึ่ง พ.ต.ต.บี ทำสำนวนการสอบสวน โดยสอบพยาน หลายปากไว้ในสำนวน แต่ไม่ได้สอบสวน นาย ซี เป็นพยาน เมื่อพนักงานอัยการฟ้อง ผู้ต้องหาต่อศาล ในชั้นพิจารณาคดีของศาล ศาลเห็นว่า นายซี น่ามีส่วนรู้เห็น ในเรื่องดังกล่าว และพยานเอกสารที่โจทก์ไม่ได้นำสืบ จึงออกหมายเรียก นายซี มาเบิกความ และเรียกเอกสารดังกล่าวมาประกอบการพิจารณา นายดี ผู้ต้องหาจึงคัดค้านว่า พนักงานสอบสวนไม่ได้สอบสวน นายซี และไม่ได้รวบรวมเอกสารดังกล่าวไว้ในสำนวนการสอบสวนไว้ในสำนวน ศาลจะเรียกตัว นายซี และเอกสารดังกล่าวมาไม่ได้ ข้อต่อสู้ของ นายซี ฟังขึ้นหรือไม่
ก.ฟังขึ้น เพราะ พยานฝ่ายโจทก์กรณีมีการร้องทุกข์ที่จะมาเบิกความในศาลได้ พนักงานสอบสวนต้อง
สอบสวนมาก่อนและปรากฏในสำนวน
ข. ฟังไม่ขึ้น เพราะ พยานฝ่ายโจทก์กรณีมีการร้องทุกข์ที่จะมาเบิกความในศาลได้ หรือพยานเอกสาร ไม่
จำเป็นที่พนักงานสอบสวนต้องสอบสวน หรือรวบรวมเอกสารมาก่อนแต่อย่างใด
ค. ฟังขึ้น เพราะการสอบสวนต้องทำต่อหน้าผู้ต้องหาในชั้นสอบสวน
ง. ข้อ ก และ ค ถูก
ตอบ ข้อ ข ฎีกำ 2017/2514,1548/2535

206. ในคดี อาญาเรื่องหนึ่ง พนักงานสอบสวนได้รวบรวมพยานหลักฐานส่งสำนวนไปให้อัยการฟ้องผู้ต้องหาต่อศาล ต่อมา ผู้เสียหายไปฟ้องศาลเอง เมื่อศาลประทับรับฟ้องแล้วในชั้นพิจารณาคดีศาลสั่งให้พิจารณาคดีรวมกัน และได้อ้างพยานหลักฐานให้ศาลพิจารณาคดีรวมกัน จำเลยต่อสู้ว่า ต้องแยกพยานหลักฐานของแต่ละคดีออกจากกัน เพราะพยานหลักฐานบางอย่าง ที่อัยการไม่มีและไม่ได้อ้าง และ ขณะเดียวกัน พยานบางส่วนผู้เสียหายไม่ได้อ้าง ข้อต่อสู้ของ จำเลยเช่นนี้ฟังได้หรือไม่
ก. ข้อต่อสู้ของจำเลยฟังได้ตามเหตุผลของ จำเลย
ข. ข้อต่อสู้ของจำเลยฟังได้ เป็นการนำสืบที่ไม่ชอบ
ค. ข้อต่อสู้ของจำเลยรับฟังไม่ขึ้น เพราะ ข้ออ้างยังไม่เพียงพอ
ง. ข้อต่อสู้ของจำเลยฟังไม่ขึ้นเพราะคดีเรื่องเดียวกันจะต้องฟังพยานหลักฐานร่วมกันไม่
ว่า อัยการหรือผู้เสียหายไม่ได้อ้างก็ตาม
ตอบ ข้อ ง ฎีกำ ที่ 133-134/2491

207. ในคดีอาญากรณีที่ พยานเบิกความในคดีอื่นจะนำเอา คำเบิกความ ของพยานดังกล่าวมา รับฟังเป็นพยานหลักฐานลงโทษจำเลยในอีกคดีหนึ่งได้หรือไม่
ก. ไม่ได้ เพราะพยานต้องเบิกความต่อหน้าจำเลยเสมอไม่มีข้อยกเว้น
ข. ได้ หากศาลเห็นว่ามีเหตุจำเป็นหรือมีเหตุอันควรและนำมาประกอบกับ
พยานหลักฐานอื่นในคดีได้
ค. ไม่ได้เพราะไม่มีน้ำหนักเพียงพอ
ง. ไม่มีข้อใดถูก
ตอบ ข้อ ก ฎีกำ ที่ 840/2536

208. ในคดีอาญาเรื่องหนึ่งพนักอัยการได้ฟ้องจำเลยต่อศาล ต่อมาผู้เสียหายยื่นคำร้องต่อศาลใช้สิทธิของเข้าเป็นโจทก์ร่วมกับพนักงานอัยการศาลชั้นต้นอนุญาต ผู้เสียหายจึงนำพยานของตนเข้าสืบในระหว่างนั้น จำเลยอุทธรณ์คำสั่งศาลชั้นต้นที่อนุญาตให้ผู้เสียหาย เข้าร่วมเป็นโจทก์ ศาลอุทธรณ์พิจารณาแล้วยกคำร้องของโจทก์ การนำสืบพยานบุคคลของผู้เสียหายในช่วงที่ศาลอุทธรณ์ยังไม่ยกคำร้องจะฟังเป็นพยานหลักฐานได้หรือไม่
ก. รับฟังไม่ได้ เพราะคำสั่งศาลอุทธรณ์ยกเลิกคำสั่งศาลชั้นต้น
ข. รับฟังไม่ได้เว้นแต่ฝ่ายจำเลยจะยอมให้ศาลรับฟัง
ค. รับฟังได้ เฉพาะในส่วนที่เป็นประเด็นสำคัญเท่านั้น
ง. รับฟังได้ ไม่มีกฎหมายห้าม
ตอบ ข้อ ง ฎีกำ ที่ 1214/2503,186/2514

209. ตามข้อ 208 ถ้าศาลอุทธรณ์ ยกคำร้องของโจทก์ร่วมเพราะโจทก์ร่วมไม่ใช่ผู้เสียหาย การนำสืบพยานหลักฐานของโจทก์ร่วมจะเสียไปหรือไม่
ก. เสียไปเพราะไม่ใช่ผู้เสียหายไม่มีอำนาจฟ้อง
ข. ไม่เสียไป แม้ไม่มีสิทธิเป็นโจทก์ เพียงแต่โจทก์ร่วมไม่ได้รับผลของการฟ้องเท่านั้น
ค. เสียไปเพราะศาลอุทธรณ์พิพากษากลับคำพิพากษาศาลชั้นต้นแล้วต้องปฏิบัติตาม
ง. ข้อ ก และ ค ถูก
ตอบ ข้อ ข ฎีกำ 1281/2503

210. ในคดีอาญา ศาลสั่งให้พนักงานคุมประพฤติสืบเสาะและพินิจเพื่อทราบประวัติของจำเลย เพื่อลงโทษ หรือยกฟ้อง จำเลยได้หรือไม่
ก. ฟังข้อเท็จจริงจากการสืบเสาะมาพิจารณาในการลงโทษจำเลยได้
ข. ฟังข้อเท็จจริงจากการสืบเสาะมาพิจารณาในการยกฟ้องจำเลยไม่ได้
ค. ฟังข้อเท็จจริงจากการสืบเสาะมาพิจารณาในการลงโทษ หรือยกฟ้องจำเลยได้
ง. ถูกทั้ง ก และ ข
ตอบ ข้อ ง ฎีกำ ที่ 100/2547,491/2546,2944/2544และ ฎีกำที่ 2775/2548

211 นาย ขวด ใช้ดาบฟันคอ นาย ขาว จนถึงแก่ความตาย และหลบหนีไป ขณะเกิดเหตุไม่มีคนเห็นเหตุการณ์ ต่อ มา ร.ต.อ.ข้อย พนักงานสอบสวนได้สอบสวนรวบรวมพยานหลักฐานแล้ว สงสัยว่า นายขวด คือคนร้าย แต่ยังไม่มีหลักฐานจะออกหมายจับ จึงได้เชิญตัว นายขวด มาสอบสวนในฐานะพยาน นายขวด รับว่าเป็นผู้ใช้ดาบฟัน นายขาว จริง ต่อมา ร.ต.อ.ข้อย ได้รวบรวมพยานหลักฐานและขอให้ศาลออกหมายจับ นายขวด ได้ ในชั้นสอบสวน นายขวด ฐานะผู้ต้องหา นายขวด ให้การปฏิเสธตลอดข้อกล่าวหา ร.ต.อ.ข้อย สอบสวนเสร็จจึงสรุปสำนวนส่งอัยการและอัยการฟ้อง นายขวด ต่อศาลเช่นนี้ ในชั้นพิจารณาคดีของศาล จะสามารถ อ้างคำให้การของ นายขวด ในฐานะพยานที่ให้การกับพนักงานสอบสวนลงโทษ นายขวด ได้หรือไม่
ก. ลงโทษได้ เพราะเป็นคำยืนยันของ นายสม ว่าใช้ดาบ นายขาวจริง
ข. ลงโทษได้เมื่อนำไปประกอบกับพยานอื่น ๆ
ค. ลงโทษไม่ได้เพราะเป็นคำรับสารภาพของผู้ต้องหา
ง. ลงโทษไม่ได้เพราะในการสอบเป็นพยาน ไม่ได้สอบสวนในฐานะผู้ต้องหา ซึ่ง
ร.ต.อ.ข้อย ต้องแจ้งสิทธิของผู้ต้องหาให้ นายขวด ทราบก่อนสอบสวน
ตอบ ข้อ ง ฎีกำ 6381/2533

212. ตามคำถามข้อ 41 เมื่ออัยการฟ้อง นายขวด แล้ว อัยการจะอ้าง นายขวด เป็นพยานได้หรือไม่
ก. อ้างได้ เพราะเคยให้การไว้ในฐานะพยาน
ข. อ้างได้ กฎหมายไม่ห้ามโจทก์อ้างจำเลยเป็นพยาน
ค. อ้างไม่ได้ เพราะ พนักงานสอบสวนไม่ได้ระบุว่าเป็นพยานแต่แรก
ง. อ้างไม่ได้ เพราะกฎหมายห้ามโจทก์อ้างจำเลยเป็นพยาน
ตอบ ข้อ ง ป. วิ อำญำ ม.232
213. ตามคำถามข้อ 41 หาก ทายาทของ นายขาว ฟ้องคดีเอง และเห็นคำให้การในฐานะของพยานของ นายขวด แล้ว จึงอ้างนายขวด เป็นพยาน ของตนได้หรือไม่
ก. อ้างได้เพราะกฎหมายไม่ได้ห้ามไว้
ข. อ้างได้เพราะกฎหมายห้ามไว้เฉพาะ อัยการเป็นโจทก์เท่านั้น
ค. อ้างไม่ได้เพราะกฎหมายห้ามโจทก์อ้างจำเลยเป็นพยาน
ง. อ้างได้เพราะเป็นความจริงและเป็นประโยชน์แก่คดีที่ศาลควรรับฟังเพื่อความยุติธรรม
ตอบ ข้อ ค ป. วิ อำญำ ม.232

214. นายแก้ว และ นายกล้า ชวน ด.ช. เก่ง ให้ร่วมกับตนไปทำการปล้นฆ่า นายอวย นางอิ๋ว และ นางโอ่ง โดย นายแก้ว และ นายกล้า เป็นคนลงมือใช้อาวุธปืนยิงผู้ตาย ส่วน ด.ช.เก่ง ให้ยืนดูต้นทาง ขณะเกิดเหตุไม่มีคนเห็นเหตุการณ์ เมื่อพนักงานสอบสวนรับคำร้องทุกข์และรวบรวมพยานหลักฐานแล้ว เชื่อว่า นายแก้ว นาย กล้า และเด็กชายเก่ง คือคนร้ายได้ออกหมายจับและจับกุมตัวทั้งสามคนมาดำเนินคดี แต่คดีนี้ไม่มีประจักษ์พยาน พนักงานสอบสวนจึงทำบันทึกขออนุมัติ กันตัว ด.ช. เก่ง เป็นพยาน ได้รับอนุมัติแล้ว จึงสรุปสำนวนส่วนที่ ด.ช.เก่ง เป็นผู้ต้องหาสั่งไม่ฟ้องส่งไปยังอัยการ อัยการสั่งไม่ฟ้อง แล้ว เช่น พนักงานสอบสวน จะสอบ ด.ช.เก่ง เป็นพยานประกอบคดีได้หรือไม่
ก. ไม่ได้เพราะกฎหมายห้ามโจทก์อ้างจำเลยเป็นพยาน
ข. ได้เพราะ ด.ช.เก่ง ถูกสั่งไม่ฟ้องแล้วจึงไม่อยู่ในฐานะผู้ต้องหาที่จะเป็นจำเลยต่อไปได้
ค. ไม่ได้ เพราะเป็นผู้ต้องหาด้วยกันอาจให้การเพื่อเอาตัวรอด
ง. ได้ เพราะ ด.ช.เก่ง ไม่ใช่ตัวการสำคัญ แม้ไม่กันเป็นพยานก็รับฟังได้
ตอบ ข้อ ข ป. วิ อำญำ ม.232

215. นายสี มีพฤติการณ์จำหน่ายยาบ้าและนำยาบ้าจำนวน 200 เมตร ไว้ในบ้าน ด.ต.แสบ กับพวก ชุด ปส.สภ.แห่งหนึ่ง สืบทราบ เข้าไปค้นบ้าน นายสี โดยไม่มีหมายค้น และได้ยาบ้าจำนวน 200 เมตร เป็นของกลางนำส่งพนักงานสอบสวนดำเนินคดี ยาบ้าของกลางที่ค้นมาได้ใช้เป็นพยานหลักฐานทางคดีได้หรือไม่
ก. ใช้เป็นพยานหลักฐานทางคดีไม่ได้เพราะการตรวจค้นไม่ชอบ เป็นการได้พยานหลักฐานมาโดยมิชอบ ไม่มีข้อยกเว้นใด ๆ
ข. ใช้เป็นพยานหลักฐานได้เพราะ นายสีมีพฤติการณ์จำหน่ายยาบ้ามาก่อนแม้การตรวจค้นไม่ชอบแต่ ยาบ้ามีมาก่อนแล้ว
ค. ใช้เป็นพยานหลักฐานทางคดีไม่ได้เพราะการตรวจค้นไม่ชอบ เป็นการได้พยานหลักฐานมาโดยมิชอบ เว้นแต่การรับฟังพยานหลักฐานยาบ้านี้จะเป็นประโยชน์ต่อการอำนวยความยุติธรรมมากกว่าผลเสียอันเกิดจากผลกระทบต่อมาตรฐานระบบงานยุติธรรมทางอาญา หรือสิทธิพื้นฐานของประชาชน
ง. ไม่มีข้อใดถูก
ตอบ ข้อ ค ป. วิอำญำ ม.226/1 วรรค 1

216. นาย กา ถูกจับกุม ข้อหาข่มขืนกระทำชำเรานางกี ในระหว่างสืบพยานในศาล ฝ่ายโจทก์จะนำสืบว่า นาย ก เป็นผู้เคยถูกดำเนินคดีในข้อหา ข่มขืนกระทำชำเราผู้อื่นมาแล้วหลายครั้ง จึงเชื่อว่า ในครั้งนี้ นายกี จะต้องเป็นผู้กระทำผิดในคดีนี้แน่นอน โจทก์จะนำสืบได้หรือไม่
ก.นำสืบไม่ได้ เพราะกฎหมายห้ามไว้ และข้อเท็จจริงไม่เข้าขอยกเว้นที่จะนำสืบได้
ข.นำสืบไม่ได้เพราะเป็นคนละคดี
ค.นำสืบได้เพื่อความยุติธรรมกฎหมายไม่ได้ห้าม
ง. ถูกทั้ง ก และ ข
ตอบ ข้อ ก ป.วิ อำญำ ม.226/2

217. ตามข้อ 216 มีข้อยกเว้นใด ๆ หรือไม่
ก. มีข้อยกเว้น คือ นำสืบได้หากเป็น พยานหลักฐานที่เกี่ยวเนื่องโดยตรงกับองค์ประกอบความผิด พยานหลักฐานที่แสดงถึงลักษณะ วิธี หรือรูปแบบเฉพาะในการกระทำความผิดของจำเลย และพยานหลักฐานที่หักล้างข้อกล่าวอ้างของจำเลยถึงการกระทำหรือความประพฤติในส่วนดีของจำเลย
ข. มีข้อยกเว้นนำสืบได้ คือ ผู้ต้องหาเป็นคนคนเดียวกันกับคดีก่อน
ค. นำสืบได้ ถ้าเพื่อให้ศาลใช้ดุลพินิจในการกำหนดโทษหรือเพิ่มโทษจำเลยยกเว้นแต่จำเลยจะไม่ยินยอม
ง. ข้อ ก และ ค ถูก
ตอบ ข้อ ก ป.วิ อำญำ ม.226/2

218. นาย ก ถูก นาย ข ยิง ได้รับบาดเจ็บสาหัส นาย ค เห็นเหตุการณ์ ต่อมา นาย ค ไปเล่า ให้นาย ง ฟัง หลังจากนั้น นาย ข ถูกจับกุมส่งฟ้องศาล ก่อน นาย ค ขึ้นเบิกความเป็นพยานต่อศาล นาย ข ไปจ้าง นาย ค ให้หลบหนีไม่ต้องขึ้นเป็นพยานในศาล โจทก์จึงอ้าง นาย ง เป็นพยานยืนยันว่า นาย ข คือผู้ยิง นาย ก โดยได้รับการบอกเล่า จากนาย ค ผู้เห็นเหตุการณ์ คำเบิกความ นาย ง ใช้เป็นพยานหลักฐานพิสูจน์ความผิด นาย ข ได้หรือไม่
ก.รับฟังไม่ได้เพราะเป็นพยานบอกเล่า ห้ามรับฟังเด็ดขาด
ข. รับฟังได้เพราะได้ฟังจาก ปาก นาย ค คือประจักษ์พยาน
ค. รับฟังได้ หากได้สาบานตนก่อนเบิกความ
ง. รับฟังไม่ได้เพราะเป็นพยานบอกเล่า เว้นแต่ตามสภาพ ลักษณะ แหล่งที่มา และข้อเท็จจริงแวดล้อมของพยานบอกเล่านั้นเชื่อว่าจะพิสูจน์ความจริงได้ หรือ มีเหตุจำเป็นเนื่องจากไม่สามารถนำบุคคลซึ่งเป็นผู้ที่ได้เห็น ได้ยิน หรือราบข้อความ เกี่ยวกับเรื่องที่จะให้การเป็นพยานนั้นด้วยตนเองโดยตรงมาเป็นพยานได้ และมีเหตุผลสมควรเพื่อประโยชน์แห่งความยุติธรรม
ตอบ ข้อ ง ป ง วิ อำญำ 226/3 วรรค 2

219. คำซัดทอดระหว่างผู้ต้องหารับฟังเป็นพยานหลักฐานได้หรือไม่เพียงใด
ก. รับฟังได้หากมีพยานหลักฐานอื่นประกอบที่น่าเชื่อถือ แต่ต้องรับฟังโดยระมัดระวัง
ข. รับฟังไม่ได้หากมีพยานหลักฐานอื่นประกอบที่น่าเชื่อถือ แต่ต้องรับฟังโดยระมัดระวัง
ค. รับฟังได้หากไม่มีพยานหลักฐานอื่นประกอบที่น่าเชื่อถือ แต่ต้องรับฟังโดยระมัดระวัง
ง. รับฟังได้เพราะถือว่าเป็นประจักษ์พยาน
ตอบ ข้อ ก ฎีกำ ที่ 1481/2548 ,810-813/2544

220. นายแดง ใช้อาวุธปืนยิงนายดำถึงแก่ความตาย โดยมี นายเหลือง เป็นประจักษ์พยาน ต่อมา พงส.ติดตามจับกุมตัว นายดำผู้ต้องหาได้ และติดตามตรวจค้นอาวุธปืนที่ใช้ยิงได้ภายหลัง ต่อมา พงส.เรียก นายเหลือง มาสอบสวนเป็นพยาน นายเหลือง ขอดูอาวุธปืนของกลาง พงส.ได้ข่าวมาว่า นายเหลือง จะให้การช่วยเหลือ นายแดง จึงไม่ยอมให้ นายเหลืองตรวจดูอาวุธปืน ซึ่งถือว่าเป็นพยานวัตถุ การกระทำของ พงส. ชอบด้วยกฎหมายหรือไม่
ก. ชอบด้วยกฎหมายแล้ว เพราะ เป็นอำนาจของ พงส. จะใช้ดุลพินิจได้เอง
ข. ชอบด้วยกฎหมายแล้ว เพราะ หากให้ นายเหลืองตรวจดู อาจให้การว่าไม่ใช่อาวุธปืนที่
นายแดง ใช้ยิงนาดำ จะทำให้ความยุติธรรมเสียไป
ค. ไม่ชอบด้วยกฎหมาย เพราะพยานวัตถุในคดีอาญา พงส. ต้องให้ พยานตรวจดูได้
ง. ไม่ชอบด้วยกฎหมาย นายเหลือง ไม่ใช้คู่ความในคดี
ตอบ ข้อ ค ป. วิ อำญำ ม.242 วรรค 1
******************

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น